ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD

วัยทอง คือช่วงอายุเท่าไหร่ อาการเป็นอย่างไร?

"ภาวะวัยทอง ไม่ใช่จะเป็นเฉพาะเพศหญิง ผู้ชายก็เข้าสู่วัยทองได้เช่นกัน ภาวะวัยทองชายกับหญิงแตกต่างกันอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยทองแล้วควรรับประทานอะไรบ้าง หาคำตอบได้ในบทความนี้ "
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
วัยทอง คือช่วงอายุเท่าไหร่ อาการเป็นอย่างไร?

เมื่ออายุมากขึ้น คนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งจิตใจและร่างกาย นอกจากการเปลี่ยนจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นที่สังเกตได้แล้ว วัยทองก็เป็นอีกช่วงอายุหนึ่งที่เราเห็นความแตกต่างได้ชัด เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบ ขี้ร้อน ไปจนถึงอาการนอนไม่หลับ ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ไม่ใช่โรคอันตราย

หากรู้จักปรับตัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะสามารถใช้ชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยหนึ่งๆ ได้อย่างมีความสุข

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการวัยทองในผู้ชาย ผู้หญิง ต่างกันหรือไม่ อย่างไร?

โดยมากแล้วเรามักได้ยินว่าผู้หญิงอายุมากจะเข้าสู่วัยทอง แต่ความจริง ผู้ชายก็มีช่วงที่เรียกว่า วัยทอง เช่นกัน โดยวัยทองในหญิงกับชายมีความแตกต่างกันดังนี้

วัยทองในเพศหญิง

เป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่การหมดประจำเดือน โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี ก่อนหน้าช่วงอายุดังกล่าว รังไข่จะทำงานได้น้อยลง ทำให้ฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและฮอร์โมนอื่นๆ ลดลงไปด้วย

ทั้งนี้ หากประจำเดือนหมดก่อน 45 ปี ทางการแพทย์จะถือว่าเป็นโรคอย่างหนึ่ง ทำให้ร่างกายแก่เร็วขึ้น เรียกว่า Pre-menopause มีความเสี่ยงให้กระดูกพรุนและสมองเสื่อมไวกว่าปกติ และถ้าประจำเดือนหมดหลังอายุ 55 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกและมะเร็งมดลูกได้ ดังนั้นควรพบแพทย์ เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนลดความเสี่ยง

สิ่งหนึ่งที่มักมาคู่กับภาวะวัยทองในเพศหญิง คือภาวะช่องคลอดแห้ง ซึ่งตามปกติก่อนจะเข้าสู่วัยทอง ผนังช่องคลอดของผู้หญิงจะเจริญเติบโตสร้างเยื่อบุและน้ำหล่อลื่นได้ดี ก็เมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวช่วยสำคัญ

เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนซึ่งรังไข่สร้างฮอร์โมนเพศได้น้อยลง เยื่อบุในช่องคลอดก็จะเริ่มบางลง ผิวแห้ง จนไม่มีน้ำหล่อนลื่น ทำให้เกิดอาการภาวะช่องคลอดแห้งและอาการระคายเคืองในช่องคลอด ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาครอบครัวตามมา

วิธีแก้คืออาจจะใช้เจลหล่อลื่น หรืออาจรับประทานหรือฉีดฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่ม โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วัยทองในเพศชาย

ผู้ชายจะเข้าสู่ภาวะวัยทองจะช้ากว่าผู้หญิง มีสาเหตุมาจากการสร้างฮอร์โมนเพศลดน้อยลงเช่นเดียวกัน เฉลี่ยแล้วจะเริ่มที่อายุประมาณ 52-55 ปี

สามารถสังเกตอาการก่อนเข้าสู่วัยทองในเพศชายได้จากอวัยวะเพศมีการแข็งตัวในตอนเช้าน้อยกว่า 10 ครั้งต่อเดือน ความต้องการและสมรรถภาพทางเพศลดลง หรืออาจวัดจากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศอย่างเทสโทสเตอโรน

ทั้งนี้ อาการวัยทองของทั้งสองเพศจะมีความคล้ายกัน คือ หงุดหงิดง่าย ขี้น้อยใจ ผิวแห้ง ผมแห้งกรอบ ผมร่วง ร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย หลงลืม นอนไม่ค่อยหลับ เหงื่อออกกลางคืน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการเผาผลาญในร่างกายลดลงจนเกิดภาวะโรคอ้วน เป็นสาเหคุให้เกิดโรคประจำตัวอื่น อย่างโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันมันในเลือดสูงและโรคหัวใจตามมา

อาหารแบบไหน เหมาะกับคนวัยทอง?

การรับประทานอาหาร ถือเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคและอาการต่างๆ สำหรับคนวัยทองได้เป็นอย่างดี อาหารที่เหมาะสำหรับคนวัยทอง มีดังนี้

  • ผักและผลไม้ที่มีไฟโตเอสโตรเจน เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นสารประกอบที่พบในพืช มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงช่วยรักษาระดับฮอร์โมนให้อยู่ในสภาวะสมดุล หรือเรียกง่ายๆ คือป้องกันอาการฮอร์โมนสวิงนั่นเอง

    อาหารกลุ่มนี้ ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด นมถั่วเหลือง เต้าหู้ มีงานวิจัยรายงานว่า การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำนอกจากจะช่วยรักษาระดับฮอร์โมนแล้ว ยังช่วยลดอาการร้อนวูบวาบและช่วยลดไขมันชนิดเลว (LDL) ได้อีกด้วย
  • อาหารที่มีแคลเซียมสูง เนื่องจากคนวัยทองวัยทองจะสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดุกพรุน กระดูกเปราะบาง และแตกหักได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมสด (ควรเลือกชนิดพร่องมันเนย) ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมมีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • อาหารประเภทข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต เนื้อปลาแซลมอลหรือปลาทะเลน้ำลึกที่มีโอเมกา 3 ดาร์กช็อกโกแลต อัลมอนด์ ไข่ กล้วย จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาทและช่วยเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก จึงช่วยลดอาการอารมณ์แปรปรวนที่พบมากวัยทองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมการนอนหลับ ลดอาการกระสับกระส่ายได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่พอดี ไม่รับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป และการออกกำลังกายร่วมด้วยก็เป็นสิ่งสำคัญ

อาหารที่คนวัยทองควรหลีกเลี่ยง

ทั้งผู้ชายแลผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง ควรหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะลดการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย
  • อาหารรสจัดหรือเผ็ดร้อน เพราะอาจทำให้มีอาการร้อนวูบวาบเพิ่มขึ้น
  • อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน นม ไอศครีม ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ขนมเบเกอรี เพราะเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง ฮอร์โมนจะลดลง ระบบเผาผลาญในร่างกายเริ่มทำงานไม่ดี เกิดเซลลูไลท์ได้ง่ายกว่าปกติ ส่งผลให้มีการสะสมไขมันบริเวณต่างๆ มากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ

กินอย่างไรให้ชะลอวัย?

การเลือกรับประทานอาหารและปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหาร มีผลช่วยชะลอวัยได้ ดังคำแนะนำต่อไปนี้

  • ลดการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะกลุ่มแป้งขัดสีและน้ำตาล เพราะหากได้รับมากเกินไปจะทำให้เซลล์ต่างๆ เสื่อมสภาพไวกว่าปกติ เพิ่มการเกิดสารเร่งแก่ในร่างกาย (Advanced glycation end products) และลดคอลเจนที่ผิวหนัง

    แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูง เช่น ไขมันทรานส์ เพราะจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ พบมากในขนมเบเกอรี เนยเทียม อาหารประเภททอดที่ใช้น้ำมันซ้ำ รวมไปถึงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม กุนเชียง

    ส่วนที่เป็นไขมันของอาหารเหล่านี้จะไปเกาะที่เซลล์ผิวหนัง ทำให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ แนะนำให้บริโภคน้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันเมล็ดชา

    และไม่ควรรับประทานไขมันเกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวัน เช่นเดียวกับปริมาณการบริโภคน้ำตาล
  • เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร จากวิธีการปิ้ง ย่าง หรือทอดที่ใช้ความร้อนสูง มาเป็นต้ม นึ่ง หรือผัดแทน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นตัวขัดขวางการทำงานสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  • รับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลายเป็นประจำทุกมื้ออาหาร เนื่องจากผักและผลไม้มีสารต้านอนุมุลอิสระอยู่มาก ช่วยต้านภาวะการอักเสบ ช่วยขับของเสีย สารพิษในร่างกาย และยังช่วยป้องกันภาวะเซลล์เสื่อมได้เป็นอย่างดี

สมุนไพรช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะวัยทอง

มีสมุนไพรบางชนิดช่วยให้อาการที่มากับภาวะวัยทองดีขึ้นได้ แบ่งออกเป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายและสมุนไพรเพศหญิง ดังนี้

สมุนไพรช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะวัยทองในเพศหญิง

  • กวาวเครือขาว ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ อาการช่องคลอดแห้ง ลดภาวะการเกิดโรคกระดูกพรุน มีสารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ปรับระดับฮอร์โมนไม่ให้ขึ้น-ลงเร็วเกินไป

    อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้กวาวเครือขาวในคนวัยทองที่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เนื่องจากกวาวเครือขาวมีสารประกอบคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง มีผลทำให้เนื้องอกเจริญเติบโตเร็วขึ้น

    นอกจากนี้ยังอาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น เจ็บเต้านม มีเลือดออกทางช่องคลอด เวียนศีรษะ หากมีอาการดังกล่าวควรหยุดใช้ยาทันที และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 100 มิลลิกรัมต่อวัน

สมุนไพรช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะวัยทองในเพศชาย

  • กวาวเครือแดงและกระชายดำ เป็นสมุนไพรอายุวัฒนะสำหรับผู้ชาย หากรับประทานในปริมาณพอเหมาะช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ มีฤทธิ์บำรุงร่างกาย ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ช่วยปรับฮอร์โมนเพศชาย ลดอาการปวดเมื่อย

    อย่างไรก็ตาม ผู้ชายวัยทองไม่ควรรับประทานกวาวเครือแดงและกระชายดำมากเกินไป เพราะอาจทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง และทำให้มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้

    ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 3 เดือน อาจส่งผลต่อการทำงานของตับ

การใช้ยาสมุนไพรถึงแม้จะมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันก็จริง แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ก่อนรับประทานยา และควรซื้อยาสมุนไพรในร้านหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตราฐานจากกระทรวงสาธารณสุขหรือองค์การอาหารและยาเท่านั้น

การปรับตัว และเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยทองเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยทำให้สามารถดำเนินชีวิตในวัยทองแบบมีคุณภาพ


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศรีวัฒนา ทรงจิตสมบูรณ์, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 314, ผู้หญิงวัยทองกับประโยชน์ของถั่วเหลือง (https://www.doctor.or.th/article/detail/1299), มิถุนายน 2548.
สำนักงานสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กวาวเครือแดง (http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5987), 12 พฤศจิกายน 2555.
อรัญญา ศรีบุศราคัม, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กระชายดำ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/374/%E/), 27 กุมภาพันธ์ 2560.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

หากเคยรู้สึกเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว บางครั้งก็เหงื่อออกเยอะ หรือรู้สึกกระวนกระวาย นั่นคืออาการร้อนวูบวาบที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

อ่านเพิ่ม
อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)
อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)

อารมณ์หงุดหงิด เป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้โดยทั่วไป แต่ถ้าเกิดบ่อย หรือเกิดเป็นประจำ อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเจ็บป่วย ฮอร์โมนแปรปรวน และโรคทางจิตเวช

อ่านเพิ่ม