วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ตอนท้อง

แนวทางของคุณในการจัดการโรคภูมิแพ้ระหว่างตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ตอนท้อง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาโรคภูมิแพ้สามารถส่งผลข้างเคียงให้ทารกเกิดภาวะพิการ หรือผิดปกติได้กำเนิดได้
  • หากคุณเป็นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และกำลังตั้งครรภ์ ให้รีบไปพูดคุยปรึกษากับแพทย์ เกี่ยวกับการใช้ยาแก้อาการภูมิแพ้ว่า ควรมีการปรับยาอย่างไร
  • ประเภทของยาสำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์จะแบ่งเป็น 5 ประเภท ซึ่งจะมีตั้งแต่ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มนุษย์ ประเภทที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์สัตว์แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มนุษย์ และยาที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มนุษย์ซึ่งควรหลีกเลี่ยง
  • การตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้ทันโรคภูมิแพ้ และโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่รู้ตัว ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนชีวิตครอบครัว และการมีบุตรได้ (ดูแพ็กเกจเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานได้ที่นี่)

หญิงตั้งครรภ์ และเป็นโรคภูมิแพ้อาจมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาแก้อาการภูมิแพ้ และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่จำเป็นต่ออาการเพราะกลัวจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อย แต่ในบางกรณี ยารักษาก็มีความจำเป็นต่อการควบคุมอาการภูมิแพ้ไม่น้อย และไม่สามารถหยุดยาได้

เรามาดูกันว่ามียาอะไรบ้างที่ปลอดภัยสำหรับตัวคุณ และยาอะไรที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ แล้วมีวิธีสังเกตอย่างไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ระหว่างตั้งครรภ์

คุณสามารถตรวจโรคภูมิแพ้ระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วยวิธีตรวจผิวหนัง หรือตรวจเลือด (Rast test) ส่วนการตรวจโดยการสะกิดผิวหนัง (Skin prick test) ซึ่งมักนิยมใช้เป็นวิธีตรวจโรคภูมิแพ้ในคนปกติมักไม่นิยมใช้กันในหญิงตั้งครรภ์ เพราะยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงระหว่างตั้งครรภ์ได้

ซึ่งผลกระทบจากอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงขณะตั้งครรภ์นั้น จะทำให้คุณความดันโลหิตลดต่ำลง และระดับออกซิเจนที่ไปเลี้ยงมดลูกก็จะลดลงตามไปด้วยจนเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

ดังนั้นแพทย์มักจะยืดเวลาการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังออกไปก่อนในระหว่างที่ตั้งครรภ์ จึงทำให้การตรวจ Rast Test เป็นวิธีที่ปลอดภัย และเหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์กว่า

ความปลอดภัยของยาแก้ภูมิแพ้ที่ใช้ในช่วงตั้งครรภ์

ในปัจจุบัน ยังไม่มียาประเภทไหนที่ปลอดภัย 100% สำหรับใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) จึงมีการกำหนดประเภทของความเสี่ยงในยานั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของการรักษาในระหว่างตั้งครรภ์ ดังนี้

  1. ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทเอ: เป็นยาที่มีผลการศึกษากับสตรีในแง่บวก โดยระบุว่ามีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก ยาในประเภทนี้มีอยู่ค่อนข้างน้อย และไม่มียารักษาโรคหอบถูกจัดไว้ในประเภทนี้
  2. ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทบี: เป็นยามีผลการศึกษาว่าปลอดภัยสำหรับสัตว์ที่มีครรภ์ แต่ยังไม่มีการศึกษาว่าปลอดภัยต่อมนุษย์โดยตรง
  3. ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทซี: เป็นยาที่มีผลการศึกษาพบว่า ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์สัตว์ แต่ยังไม่มีการศึกษาในมนุษย์ หากจะใช้ก็ควรอยู่ภายใต้การประเมินของแพทย์ว่า ได้รับประโยชน์จากยามากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับความเสี่ยง
  4. ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทดี: เป็นยาที่มีความเสี่ยงในการก่อความผิดปกติต่อทารกในครรภ์มนุษย์ จึงมักเป็นยาที่ถูกใช้เพื่อช่วยชีวิตมารดา หรือเพื่อรักษาโรคที่รุนแรงซึ่งยาที่ปลอดภัยมากกว่าไม่สามารถรักษาได้
  5. ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทเอ็กซ์: เป็นยาที่มีการศึกษาพบว่า เป็นอันตรายต่อทารก และทำให้เกิดความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด (Birth defect) ได้ ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์เด็ดขาด

ก่อนที่จะรับประทานยาใดๆ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ คุณควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์ และความเสี่ยงของตัวยาก่อนทุกครั้ง โดยควรรับประทานยานั้นก็ต่อเมื่อฤทธิ์ของมันมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงเท่านั้น

ยารักษาโรคภูมิแพ้ระหว่างตั้งครรภ์

ยาที่คุณอาจได้รับเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. น้ำเกลือพ่นจมูก (Nasal saline)

เพราะโรคภูมิแพ้ระหว่างตั้งครรภ์มักจะไม่ตอบสนองต่อยาแก้แพ้ หรือยาพ่นจมูก แต่กลับต่อสนองต่อน้ำเกลือพ่นจมูกแทน ซึ่งเป็นน้ำเกลือที่ปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์ สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา มีราคาไม่แพง และใช้ได้บ่อยตามอาการได้เลย

วิธีการใช้น้ำเกลือพ่นจมูกคือ ให้ฉีดข้างละ 3-6 ครั้งเข้าไปในโพรงจมูกนาน 30 วินาที แล้วค่อยสั่งน้ำเกลือออกมาทางจมูก

2. ยาแก้แพ้ (Antihistamines)

ซึ่งได้แก่ 

  • ยาแก้แพ้สูตรเก่าประเภทบีอย่าง ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) และยาไตรเพเลนนามีน (Tripelennamine)
  • ยาลอราทาดีน (Loradine) เป็นยาแก้แพ้กลุ่มใหม่ที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • ยาเซทิริซิน (Cetirizine) เป็นยาประเภทเช่นเดียวกับยาแก้แพ้สูตรเก่า

3. ยาแก้คัดจมูก (Decongestants)

ได้แก่ ฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) เป็นยาประเภทซีที่ใช้สำหรับแก้อาการคัดจมูกระหว่างตั้งครรภ์ มีขายหลายยี่ห้อตามร้ายขายยาทั่วไป แต่ไม่ควรรับประทานในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะมีความเสี่ยงจะทำให้เกิดความพิการโดยกำเนิดของผนังหน้าท้อง

4. ยาพ่นจมูก (Medicated nasal sprays)

ได้แก่ ยาพ่นจมูกโครโมลิน (Cromolyn) เป็นยาใช้สำหรับผู้เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และกำลังตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีจำหน่ายในไทย ยานี้จัดเป็นยาประเภทบี สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์

แต่หากผู้ป่วยใช้ยาแล้วยังอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจต้องเปลี่ยนเป็นยาใช้ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์บูเดโซไนด์ (Budesonide) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม B สำหรับรักษาหญิงมีครรภ์เช่นเดียวกัน และเป็นยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ที่เป็นทางเลือกที่ดีระหว่างตั้งครรภ์ สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

5. ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

เป็นวิธีการรักษาโดยการฉีดยารักษาภูมิแพ้ (Allergy shots) ซึ่งสามารถฉีดได้เรื่อยๆ ระหว่างตั้งครรภ์ แต่ไม่แนะนำให้เริ่มรักษาโรคภูมิแพ้ด้วยวิธีนี้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงได้ และจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

ถึงแม้ยาบางชนิดจะปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์อยู่แล้ว แต่คุณก็จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งว่า ยาที่คุณจะรับเข้าร่างกายเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยนั้น มีความปลอดภัยต่อสภาพร่างกาย และทารกในครรภ์หรือไม่

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, อาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก (http://www.rcot.org/2016/People/Detail/217), 15.03.2016
Kar S, Krishnan A, Preetha K, Mohankar A. A review of antihistamines used during pregnancy. J Pharmacol Pharmacother. 2012;3(2):105–108. doi:10.4103/0976-500X.95503 (https://doi.org/10.4103/0976-500X.95503)
Keleş N. Treatment of allergic rhinitis during pregnancy. Am J Rhinol. 2004;18(1):23-8. PMID: 15035567 (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15035567)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)