โรคมาลาเรีย (ไข้จับสั่น) โรคติดต่อโดยการกัดของยุง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคมาลาเรีย (ไข้จับสั่น) โรคติดต่อโดยการกัดของยุง

โรคมาเลเรีย หรือไข้จับสั่นเป็นโรคติดต่อโดยการกัดของยุงเป็นโรคที่มีชุกชุมในป่าทั่วประเทศไทย โรคมาเลเรียเป็นหนึ่งใน 6 โรคที่สำคัญที่องค์การอนามัยโลก พยายามจะขจัดให้หมดไปจากโลกนี้ เมื่อ 20 ปีก่อน โรคมาเลเรียเป็นโรคหนึ่งที่คร่าชิตประชาชนไทยไปมากที่สุด

ยุงก้นปล่องเป็นตักลางนำโรค (พาหะ) ยุงก้นปล่องมีอยู่หลายพันธุ์ที่สามารถนำโรคนี้ได้ และมียุงอยู่ทั่วไปทั้งในป่า และในเมือง แต่ยุงก้นปล่องที่มีอยู่ในเมืองนั้น ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการนำโรค ฉะนั้นการถูกยุงกัด (ยุงทุกชนิด) ในเมืองจึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดโรคมาเลเรีย หรือไข้จับสั่น การถูกยุงก้นปล่องกัดในขณะนอนค้างแรมในป่ามีโอกาสเป็นโรคได้มาก ชาป่าชาวดอย ชาวบ้านที่มีชีวิตอยู่ในป่า หรือนักทัศนาจรที่ค้างแรมในป่าจึงมีโอกาสเป็นโรคไข้จับสั่นได้สูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


อาการแสดงของโรคมาเลเรีย โดยทั่วไปจะมีอาการ 3 ระยะติดต่อกัน เริ่มต้นจากมีอาการหนาวสั่น หนาวมากถึงขนาดให้ผ้าห่มอย่างไรก็ไม่หายหนาว ระยะหนาวนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 15 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง และจะเข้าสู่ระยะร้อน ผู้ป่วยจะรู้สึกร้อนจัดไข้จะสูง ผู้ป่วยหน้าแดง ริมฝีปากแห้งมาก หิวน้ำ กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 1 ชั่วโมง แล้วจะเช้าสู่ระยะเหงื่อออก อาการร้อนจะค่อย ๆ น้อยลง มีเหงื่อออกมากที่หน้าผากและตามตัว ไข้จะลดลงจนปกติ ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย และอาจหลับไปเพราะความเพลีย เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกตัวเหมือนปกติทุกอย่าง (อาจเพลียเล็กน้อย) และสามารถจะทำงานหรือดำเนินชิตตามปกติได้ อาการทั้ง 3 ระยะนี้จะเกิดขั้นทุกวันเว้นวัน (ประมาณ 48 ชั่วโมง) หรือทุกวันเว้น 2 วัน (ประมาณ 72 ชั่วโมง) แล้วแต่ชนิดของเชื้อไข้มาเลเรีย กล่าวคือ เชื้อไข้มาเลเรียจะมี 3 ชนิดแต่ชนิดที่เป็นบ่อยที่สุดคือ ชนิดจับไข้ทุกวัน และรองลงมาคือชนิดจับไข้ทุกวันเว้นวัน

ผู้ป่วยเป็นโรคมาเลเรีย เมื่อป่วยนาน ๆ จะพบว่าผิวหนังเหลืองซีด ตาเหลือง ผอม ท้องป่องเนื่องจากมีตับ และม้ามโต ผู้ป่วยที่เป็นโรคมาเลเรียนาน ๆ นี้มักจะเป็นชาวป่าชาวดอย หรือชาวบ้านที่ทำมาหากินกับป่า ในกรณีชาวเมือง หรือนักทัศนาจรที่ไปค้างแรมในป่าและป่วยเป็นโรค คนกลุ่มนี้มักมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนถึงตายได้ โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่มาเลเรียขึ้นสมอง และภาวะไตวายจากไข้มาเลเรีย ผู้ป่วยจะเสียชีวิตโดยรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

 การวินิจฉัยโรค อาศัยประวัติการค้าแรมในป่าหรือมีอาชีพทำมาหากินกับป่าการตรวจเลือดจะพบเชื้อไข้มาเลเรียได้
 การรักษาโรคมาเลเรีย ควรเป็นหน้าที่ของแพทย์ หรืออย่างน้อยเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์มาเลเรีย

การป้องกันโรค

  1. หากจำเป็นต้องเข้าไปค้างแรมในป่า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอยากินป้องกันโรค สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติ (กินยา) ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  2. หากไม่จำเป็นจริง ๆ ควรนอนในมุ้งเวลานอนในป่า
  3. ใช้ยาจุดรมควันเพื่อไล่ยุงเวลานอนในป่า อาจช่วยลดการถูกยุงกัดได้
  4. วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการทายากันยุง โดยเฉพาะชนิดที่ป้องกันได้นาน ๆ
  5. ภายหลังกลับจากค้างแรมในป่าในระยะหนึ่งเดือน หากมีไข้ควรรีบปรึกษาแพทย์

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)