"ลิมโฟไซต์" คืออะไร

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ WBC (เซลล์เม็ดเลือดขาว) ชนิดที่เป็น "lymphocyte” ลิมโฟไซต์ หน่วยย่อยของลิมโฟไ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
"ลิมโฟไซต์" คืออะไร


แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เพื่อทราบจำนวนเปอร์เซ็นต์ของ WBC (เซลล์เม็ดเลือดขาว) ชนิดที่เป็น "lymphocyte" (ลิมโฟไซต์) ซึ่งมักเขียนย่อๆว่า Lymph

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. ลิมโฟไซต์ อาจนับได้ว่าเป็น “พระเอก” ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งมีหน่วยสู้รบ เสมือนกองกำลังยุทธวิธีเตรียมพร้อม ที่รับผิดชอบปกป้องร่างกายโดยตรงนั่นคือกองทัพเม็ดเลือดขาว (WBC) เพื่อสู้รบต่อการรุกรานใดใดของจุลชีพก่อโรคเช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา แม้แต่มะเร็งในจำนวน WBC 100% นั้นจะประกอบด้วย “หน่วยรบแยกย่อย” โดยอาจจำแนกนับจำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์โดยประมาณดังนี้

ก. Neutrophil (นิวโตรฟิล)
ข. Eosinophil (อีโอซิโนฟิล)
ค. Monocyte (โมโนไซต์)
ง. Lymphocyte (ลิมโฟไซต์)
จ. Basophil (เบโซฟิล)
ประมาณ %
55 - 70
20 - 40
2 - 8
1 - 4
0.5 - 1.0

                                                                                           

  1. ลิมโฟไซต์ แม้จะมีอัตราส่วนกำลังรบเพียงประมาณ 20 ถึง 40% ของ “กองทัพ” เซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งสิ้นก็ตามแต่ ลิมโฟไซต์ ก็มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำจัด “ข้าศึก” ที่บังอาจแทรกซึมเข้ามาก่อกวนภายในร่างกายมนุษย์หมายถึงเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งรุกรานล่วงล้ำมาจากภายนอกร่างกายและแม้แต่เซลล์ของร่างกายเองแท้ๆ ที่ได้เริ่มกลายพันธุ์ก่อการกำเริบขึ้นเป็น “กบฏ” และเปลี่ยนร่างไปเป็นเซลล์มะเร็งทั้งหมดนี้ “กองทัพ” ลิมโฟไซต์ ก็มีศักยภาพพอที่จะขจัดเซลล์อันตรายเหล่านั้นลงได้หากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ขีดความสามารถของ ลิมโฟไซต์ ดังว่านั้นได้แก่
    • การพิสูจน์ทราบฝ่าย
    • การเข้าทำลาย/สังหาร
    • การระดมเรียกกำลังกองหนุนให้มาช่วยกันทำลาย/สังหาร 
  2. ลิมโฟไซต์ ถูกผลิตมาจากไขกระดูกที่เรียกว่า "Bone Marrow" จึงทำให้ได้กำเนิด "หน่วยย่อย" ของลิมโฟไซต์ ขึ้นมา 3 หน่วยสำคัญ คือ
    • B-cells (บี-เซลล์) มีจำนวนประมาณ 15% ของลิมโฟไซต์ โดยเหตุที่มันเกิดและเติบโตอยู่ในมาก่อนและประกอบกับนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ค้นพบว่าสัตว์จำพวกนกมันก็มีภูมิคุ้มกันจากตอมในตัวนกเป็นต่อมใกล้ลำไส้เล็ก) เรียกว่าครั้งนั้นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ขอยืมตัว B จากนอกมาใช้จึงได้อักษรย่อ "B" มาใช้เป็นชื่อประจำตัวนับตั้งแต่นั้นมาเมื่อ B-cells  โตเต็มที่แล้วจึงออกจากใครกระดูกมาฟังตัวเฝ้าระวังอยู่ในระบบท่อน้ำเหลือง (lymphatic system) ซึ่งก็มีอยู่ตลอดทั่วร่างกายในกรณีใดก็ตามหรือเมื่อใดก็ตามเกิดมีเชื้อโรคชนิดใดเช่นอีสุกอีใสบังอาจล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกายและจะก่ออันตรายขึ้น ในการนี้ยังไม่ผลจากการลาดตระเวนตรวจการณ์โดยหน่วย T-cells และหน่วย macrophage ซึ่งจะออกลาดตระเวนเฝ้าตรวจไปทั่วร่างกายอยู่ตลอดเวลาก่อนที่ T-cells และ macrophage จากค่าผู้รุกรานมันก็จะส่งข่าวว่ามี "สารพิเศษ" (antigen) ของเชื้อโรคอีสุกอีใสแจ้งไปยัง B-cells ที่อยู่ในระบบ น้ำเหลืองให้มาร่วมทราบข้อมูลบันทึกประวัติและให้รู้จัก สร้างสารภูมิคุ้มกัน (antibody) ขึ้นในตัวของ B-cells และผิวด้านนอกเป็น "ปุ่ม" พิเศษขึ้น นับแต่เวลานั้นเป็นต้นไปเชื้อโรคอีสุกอีใสใดใดหากร่วงหลังเข้าสู่ร่างกายอีกเมื่อใด B-cells ซึ่งลาดตระเวนตรวจตราโดยใช้เส้นทางพิเศษคือหลอดน้ำเหลืองซึ่งก็มีตลอดทั่วร่างกายถ้าได้พบเชื้อโรคอีสุกอีใส ณ ที่ใดในเวลาใดก็ตามมันก็จะพิสูจน์ทราบฝ่ายด้วยการใช้ "antibody" ที่มันมีอยู่แต่เดิมคือปุ่มพิเศษจากการสร้างเอาไว้ให้ลองไปจับเข้ากับ "antigen" ของเชื้อโรคที่มันเจอหักจากเข้ากันได้พอดีพอดีมันก็จะจำได้ทันทีว่า "ไอ้นี่คือเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นข้าศึกแน่ๆ" มันก็จะจัดการสังหารไปตามกำลังความสามารถและป่าวร้อง ส่งข่าวไปยัง B-cells ซึ่งอยู่ใกล้เคียงที่พอจะเรียกมาช่วยกันได้ อันเป็นการยับยั้งด้วยการ "รบหน่วงเวลา" ไว้ในชั้นต้นเสียก่อนแต่ขณะเดียวกันมันก็จะส่งสัญญาณด้วยการติดต่อสื่อสารแจ้งข่าวไปยัง T-cells ขอให้รีบอนุมัติ "ประกาศสภาวะฉุกเฉิน" ไปทั่วร่างกายคราวนี้ นิวโตรฟิลส์ ก็จะรีบเคลื่อนย้ายกำลังมาช่วยกันสกัดกั้นกันอย่างเต็มที่ขณะเดียวกัน T-cells หลากหลายชนิดก็จะเข้าโจมตีสังหารและทำลายเชื้ออีสุกอีใสยังชนิดขุดรากถอนโคน นี่คือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอันเกิดจากศักยภาพของลิมโฟไซต์ ที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยความรู้ในพฤติกรรมและคุณสมบัติของ B-cells เช่นที่ว่านี้มนุษย์จึงมีความรู้ในการใช้วิธีฉีดเชื้อโรคสำคัญอย่างอ่อนอ่อนให้มันจำได้เราก็จะรอดพ้นอันตรายจากโรคนั้นไปจนตลอดชีวิตนั่นคือการฉีดวัคซีนที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง
    • T-cells (ที-เซลล์) T-cells มีจำนวนประมาณ 80% ของจำนวน lymphocyte ทั้งหมด ทั้งนี้ T-cells ก็ถือกำเนิดขึ้นมาจากไขกระดูก (bone marrow) แต่ขณะเมื่อยังเป็น วัยรุ่นกำลังเริ่มเติบโต T-cells เยาวชนทุกตัว จะต้องถูกส่งไปเข้ารับการฝึกศึกษายุทธวิธีการสู้รบที่ต่อมไทมัส โดยที่คำว่า ต่อมไทมัส นั้น ขึ้นต้นด้วยตัว T โดยเหตุนี้ เซลล์กลุ่มนี้เมื่อสำเร็จการศึกษา จึง ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติให้ประดับตัวอักษร "T" นำหน้าโดยรับการขนานนามว่า T-cells หลังจากนั้นมันก็เริ่มถูกส่งให้ไปป้องกันศัตรูในหลอดเลือด ในม้ามและในหลอดน้ำเหลือง T-cells นั้นยังแยกหน้าที่กันทำงานอะไรบ้างอังกฤษบ้างจังแต่รักกลุ่มจะแสดงความแตกต่างกันตรงที่ผิวของผนังด้านนอกเซลล์ซึ่งมีจำนวนปุ่มตัวรับ (antibodies) ไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน จำนวนแบบของโมเลกุลที่ปุ่มตัวรับอันเป็นผิวด้านนอกของ T-cells  แต่ละประเภทนี้มีศัพท์เรียกเป็นการเฉพาะว่า "cluster of differential" หรือ "cluster of designation" เรียนย่อๆ ว่า CD เช่นในกรณี T-cells ชนิด Helper ซึ่งมี 4 แบบของปุ่มตัวรับดังนั้น "Helper T-cells" จึงอาจมีน้ำเรียกขานให้เป็นที่เข้าใจกันได้ถึง 3 แบบคือ - TH หมายถึง Helper T-cells - T4 หมายถึง T-cells ซึ่งมี 4 แบบ ของปุ่มตัวรับ - CD4 หมายถึง lymphocyte marker ที่มี cluster of designation หรือ CD จำนวน 4 แบบของปุ่มตัวรับ นับตั้งแต่โรคเอดส์ได้ลุกลามแพร่หลายในมวลมนุษยชาติกว้างขวางขึ้นคำว่า CD4 ก็เลยพลอยได้รับการกล่าวถึงมากขึ้นและเป็นที่รู้จักยิ่งกว่าชื่ออื่น
      1. Helper T-cells (ที-เซลล์ ผู้ช่วย) นามเรียกขานอื่นคือ TH, T4 หรือ CD4 ภารกิจหลักได้แก่การลาดตระเวนหาข่าวโดยหลีกเลี่ยงที่จะเข้าปะทะโดยตรงกับจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคแปลกปลอมที่รุกรานโดยตรง (ตัว CD4 เองไม่มีพิษสงหรืออาวุธใดๆ) หน้าที่แรกก็คือจะตัดสินใจจากข่าวกรองที่ตรวจพบได้ ในขณะนั้นว่าใหญ่โตและร้ายแรงมากเพียงพอที่จะประกาศ"สภาวะฉุกเฉิน" ของระบบภูมิคุ้มกันหรือไม่? หรือเพียงประกาศ "เตรียมพร้อม" โดยระดมกำลังกองหนุนเพิ่มเติมให้พร้อมรบไว้ก็พอแล้วทั้งนี้หน่วยแรกที่จะมาถึงก่อนก็คือ B-cells ดังนั้นหน้าที่ที่สองของ Helper T-cells ก็คือ ทำการ "ชี้เป้า" ให้ B-cells เข้าพิสูจน์ทราบว่า "friend or foe?" (มิตร หรือ ศัตรู?) หากเป็น มิตร กระบวนการทุกอย่างก็หยุดชะงักลง ณ บัดนั้นทันที หาก B-cells ยืนยันว่าเป็น ข้าศึก แน่แน่มันก็จะส่งสัญญาณด่วนที่สุดประกาศสภาวะฉุกเฉินเรียกระดม ลิมโฟไซต์ ที่อยู่ใกล้เคียงให้รีบมาช่วยกันฆ่าและทำลาย จุดอ่อนสำคัญของ Helper T-cells ก็คือ มันแพ้ฤทธิ์ต่อ “อำนาจพิษสง” ของไวรัส HIV อันนำไปสู่โรคเอดส์ (AIDS, acquired immunodeficiency syndrome) เชื้อไวรัส HIV ในปัจจุบันในขั้นต้น กล่าวคือ มันจะทำลาย Helper T-cells ในลำดับแรกให้ย่อยยับลดจำนวนลงก่อนจึงย่อมมีผลต่อเนื่องให้จำนวน T-cells ลดน้อยลงไปด้วยในกรณีนี้ หากให้มีการตรวจผลเลือดก็อาจจะพบค่า lymphocyte มีระดับต่ำกว่า 30% ของ WBC ทั้งนี้นอกจาก Helper T-cells ที่ถูกทำลายแล้วมันยังสร้างความเสียหายให้ macrophage ซึ่งเป็นเซลล์นักฆ่าที่สำคัญอีกตัวหนึ่งด้วย กล่าวเฉพาะ Helper T-cells สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV ย่อมมีผลทำให้การตรวจเลือดจะพบค่า CD4 ลดลง เมื่อ Helper T-cells ถูกทำลายโดยเชื้อ HIV จนตายหรือพิกลพิการเป็นส่วนใหญ่มันจึงหมดขีดความสามารถที่จะกดสัญญาณประกาศสภาวะฉุกเฉินแห่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอันจะมีผลทำให้คนซึ่งเป็นโรคเอดส์ล่อแหลมต่อการถูกทำลายจากทุกโรค (แม้บ้างโรคจะมีอันตรายเล็กน้อยก็ตาม เช่น โรคหวัด โรคปอดบวม ฯลฯ แม้ B-cells และ T-cells ชนิดอื่นยังมีจำนวนครบถ้วนและมีประสิทธิภาพดีอยู่แต่เมื่อขาด Helper T-cells มาช่วย "ชี้เป้า" ต่อเชื้อโรคแปลกปลอมก็ย่อมทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้งระบบอ่อนแอลง
      2. Suppressor T-cells (ที-เซลล์ รักษากฎ) นามเรียกขานอื่นคือ Ts,T8, Regulatory T-cells (ที-เซลล์รักษากฎ) หรือ CD8 ภารกิจหลักได้แก่การเฝ้าสังเกตการณ์และห้ำหั่น สังหารและทำลายเชื้อจุลินทรีย์ โดย B-cells และ T-cells ทั้งหลาย ก็จะส่งอาณัติสัญญาณสั่งให้ B-cells และ T-cells ที่กำลังปฏิบัติการณ์อย่างดุเดือดเหล่านั้นให้ยุติลงมิฉะนั้นการไล่ล่าฆ่าทำลายอาจจะกระทบไปถึงเซลล์ที่ดีอื่นๆของร่างกายก็ได้โดยเหตุนี้ Suppressor T-cells จึงถูกขนานนามว่าเป็น ที-เซลล์ผู้รักษากฎกติกามารยาท
      3. Killer T-cells (ที-เซลล์ เพชฌฆาต) นามเรียกขานอื่นคือ cytotoxic T-lymphocyte หรือ CTL ภารกิจหลักได้แก่การรู้จักจดจำและรู้จักจำแนกเซลล์ของร่างกายตนเองว่าเซลล์ได้เป็นเซลล์ปกติและเซลล์ได้ไม่ปกติอันเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ (กำลังจะเป็นหรือได้เป็นเซลล์มะเร็งไปแล้ว) รวมทั้งเซลล์ของร่างกายที่ฟกช้ำบาดเจ็บหรือถูกฝังตัวจากเชื้อไวรัส ในการนี้ Killer T-cells จะมีบทบาทเข้าโจมตีต่อเซลล์ที่ไม่ปกติรวมทั้งเชื้อไวรัสแบคทีเรียทันทีที่ได้รับอนุญาตจาก Helper T-cells โดยธรรมดา T-cells ชนิดอื่นๆนั้นจะไม่ค่อยเกี่ยวทำอันตรายกับเซลล์ของร่างกายตนเองแต่ Killer T-cells กล้าที่จะกระทำเช่นนั้นก็เพราะมีเอนไซม์ที่เข้มข้น (a very strong enzyme) ซึ่งสามารถทำลายต่อ 1) เซลล์ที่เป็น"กบฏ"ต่อร่างกายหรือกลายพันธุ์ไป 2) เซลล์ที่ฟกช้ำจากเชื้อโรคและ 3) แม้แต่เซลล์ดีๆ บางตัวที่ถูกเชื้อโรคเข้าไปแอบอาศัยหลบซ่อนอยู่ภายในเซลล์ ทั้งนี้ Killer T-cells มีภาระหน้าที่ที่จะกำจัดทำลายต่อเซลล์หรือเชื้อโรคใดใดที่อาจก่ออันตรายแก่ร่างกายต่อไปในภายภาคหน้ามากยิ่งกว่านั้นมันยังสามารถส่งสัญญาณสื่อสารไปเรียก macrophage ให้มาช่วยกันเก็บ "ซากศพ" เซลล์ที่มันได้หรือให้ช่วยกำจัดขยะเศษชิ้นส่วนมีให้ลงเหลืออีกด้วย กล่าวโดยสรุป Killer T-cells จึงมีบทบาทสำคัญมากต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การขจัดเซลล์มะเร็งตัวแรกๆ ที่บังอาจเกิดขึ้นในร่างกาย มันจึงได้รับการขนานนามว่า "cytotoxic T-lymphocyte" ซึ่งพอจะแปลได้ว่า "ที-ลิมโฟไซต์ ชนิดฆ่าเซลล์ที่เป็นพิษ" (cyto= เซลล์, toxic =พิษ) เซลล์ที่เป็นพิษก็คือเซลล์มะเร็งแต่มันจะฆ่าถูกเซลล์ทุกเวลาทุกแบคทีเรียที่อันตรายไม่ใช่เฉพาะแต่เซลล์มะเร็งเท่านั้นนี่คือบทบาทที่เด่นที่สุดของ Killer T-lymphocyte ข้อเสียมีเพียงประการเดียวก็คือการทำงานของมันต้องการ "ตัวช่วย" คือ Helper T-cells เสมอ กล่าวคือ ก่อนมันจะฆ่าหรือ"ปฏิบัติการโหด" กับเซลล์ที่เป็นพิษตัวใดหรือชนิดใดมันจะต้องหันไปหา Helper T-cells ให้เขา "พยักหน้า" (อนุญาต) ให้เสร็จก่อนทุกครั้งไป โดยเหตุผลเพราะจุดอ่อนดังที่ได้พัฒนาชี้ให้เห็นนี้เจ้าเชียวเวลาที่ฉลาดแกมโกงตัวหนึ่งคือ HIV (human immunodeficiency virus, human = มนุษยชาติ, immune = ภูมิคุ้มกัน, deficiency = บกพร่อง, ขาดแคลน, virus = เชื้อโรคชนิดไวรัส) เมื่อมันเข้าสู่ร่างกายได้สำเร็จจะโดยทางใดก็ตามมันก็จะเข้าจู่โจมทำลายล้าง Helper T-cells ให้สูญสลายหมดสภาพไปเสียก่อนหรือหากยังหลงเหลืออยู่ก็ง่อยเปลี้ยเสียขาจนไม่อาจจะไปปรากฏตัวพยักหน้าอนุญาตให้ Killer T-cells ตีโต้ตอบใดใดต่อ HIV ได้ เจ้าไวรัส HIV มันจึงได้โอหังบังอาจสร้างอาณาจักรของมันขึ้นในร่างกายของผู้ติดเชื้อและบอลทำลายเจ้าตัวของร่างกายให้เกิดสภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกันนั่นคือการเกิดโรคเอดส์หรือ AIDs (acquired immunodeficiency syndrome, acquired = ได้มาทีหลัง, immuno = ภูมิคุ้มกัน,deficiency = บกพร่อง, ขาดแคลน, syndrome =  สภาวะอาการ) ซึ่งยากต่อการรักษาจนถึงค.ศ. 2010 ก็ยังไม่มีญาตินี้ได้ปราบมันได้
    • Natural Killer Cells (เซลล์เพชฌฆาตโดยธรรมชาติ) มีนามเรียกขานย่อๆว่า NK cells หรือ Null cells (เซลล์ที่มีน้อยจนนับจำนวนไม่ได้) NK cells ตามธรรมดาจะมีจำนวนน้อยมากเพียงประมาณไม่เกิน 5% ของ lymphocyte ทั้งหมดและโดยแท้จริงก็ไม่ถือว่ามันเป็นหน่วยในกลุ่ม T-cells เพราะมันไม่เคยเข้าไป เข้ารับการฝึกศึกษาอบรมในต่อมไทมัส (thymus gland) หรือต้มใดใดมาก่อนเลยมันจึงไม่อาจประดับเครื่องหมายตัว "T" นำหน้าชื่อได้โดยเหตุผลสำคัญเช่นนี้ NK cells จึงถือว่าเป็นหน่วยรบพิเศษที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวกล่าวคือ 1) เป็นหน่วยรบดั้งเดิมที่ค่อนข้างป่าเถื่อน (primitive cells) มันจึงมุทะลุดุดันแข็งแกร่งกว่าใครในระหว่างกลุ่ม lymphocyte ด้วยกัน 2) เพราะความที่ไร้การศึกษามันจึงไม่รู้จักระเบียบวินัยกฎกติกามารยาทใดใดโดยมันจะเข้าโจมตีต่อเซลล์แปลกปลอมทุกเซลล์โดยไม่เคยขอคำอนุญาตจาก Helper T-cells หรือเซลล์ชี้เป้าใดใดและ 3) โดยที่ผนังด้านนอกของ NK cells ไม่มีปุ่มตัวรับ (antibody) ที่จะจำแนกจับกับสารพิเศษ (antigen) ของเซลล์แปลกปลอมใดใดมันจึงแยกแยะไม่ออกว่าอะไรคือเชื้อที่รุกรานหรืออะไรคือเซลล์ของร่างกายที่ผิดปกติมันจะรู้จักก็เฉพาะแต่เซลล์ที่ดีของร่างกายเท่านั้นที่มันจะไม่ทำลาย NK cells จะมีพิษสงมากขึ้นเมื่อถูกเรียกให้ไปสู้หรอกในกรณีที่เซลล์แปลกปลอมอันเป็นเซลล์เป้าหมายนั้นได้ถูก ตรวจพบโดย macrophage หรือ Helper T-cells ไว้ก่อนแล้วคราวนี้NK cells จะทำการ"เบ่ง" ตัวเองให้พองโตมากขึ้นกว่าปกติแล้วจึงเข้าโจมตีต่อเซลล์เป้าหมายซึ่งก็คือ 1) เซลล์มะเร็ง (tumor cells) หรือ 2) เซลล์ของร่างกายเองที่ฟกช้ำหรืออักเสบจากการโจมตีหรือแอบฟังตัวของเชื้อไวรัสอย่างดุเดือดเมามันยิ่งกว่ากรณีเมื่อ NK cells ไปพบเซลล์เป้าหมายด้วยตัวเอง ทั้งนี้อาวุธพิฆาตของ NK cells ต่อเซลล์เป้าหมายทั้งหลายเหล่านั้นก็คือเอนไซม์ที่ทรงพิษร้ายแรง (toxic enzyme) ซึ่งมันสามารถปล่อยออกมานั่นเอง
  3. ลิมโฟไซต์ ทุกชนิดมีเหตุผลที่จำเป็นต้องกล่าวถึงค่อนข้างกว้างขวางแต่ยังสรุปทั้งหมดข้างต้นนี้ก็เนื่องจากเจตนาจะชี้ให้ผู้อ่านได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานของ lymphocyte ว่ามันได้สอนบทบาทที่สำคัญยิ่งในระบบ ค่าปกติของ Lymphocyte
    • ให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
    • ค่าปกติทั่วไป


Lymp : % WBC

30 -45
หน่วยนับสมบูรณ์
Absolute count (per mm3)
1,000 – 4,000
  • ค่าปกติของหน่วยย่อย lymphocyte
ชนิดเซลล์
T- cells
Helper (CD4)
Suppressor (CD8)
B-cells
Natural Killer Cells
% Lymp
60 – 95
60 – 75
25 – 30
4 – 25
4 - 30
จำนวน (cells/ µL)
800 – 2,500
600 – 1,500
300 – 1,000
100 – 450
75 - 500
  • ค่าที่ต้องเฝ้าระวัง คือ อัตราส่วนของ CD4/CD8 ต้องมากกว่า 1 หรือเมื่อ CD4 ต่ำกว่า 200 cells/ µL ทั้งนี้หากผิดไปจากเกณฑ์นี้แสดงว่า ร่างกายเหลือภูมิต้านทานน้อยลงมาก จนอาจเกิดอาการของโรคต่างๆ เช่น โรคเอดส์

ค่าผิดปกติ

  1. ในทางน้อย มีศัพท์เรียกว่า Lymphocytopenia ซึ่งอาจแสดงผลว่า
    • ร่างกายอาจได้รับการฉายรังสีบำบัด
    • ร่างกายอาจได้รับการรักษาด้วยเคโมหรือวิธีเคมีบำบัด (chemo therapy)
    • ร่างกายอาจได้รับเชื้อ HIV
    • ร่างกายกำลังเกิดโรคร้ายแรงเช่น วัณโรคระยะลุกลาม โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ
    • ร่างกายอาจกำลังตกอยู่ภายใต้ความเครียดอย่างหนัก (high levels of adrenal corticosteroids)
    • อาจกำลังเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
    • อาจมีภาวะพิษจากเหตุติดเชื้อ (Sepsis)
  2. ในทางมาก มีศัพท์เรียกว่า Lymphocytosis ซึ่งอาจแสดงผลว่า
    • ร่างกายอาจกำลังได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดเรื้อรัง
    • อาจกำลังเกิดสภาวะโรคตับอักเสบจากการติดเชื้อ (Infectious hepatitis)
    • ร่างกายอาจกำลังติดเชื้อจาก บางโรค เช่น โรคคางทูม โรคอีสุกอีใส โรคหัด โรควัณโรค ฯลฯ

13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lymphatic system: Definition, anatomy, function, and diseases. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/303087)
Definition of lymph node - NCI Dictionary of Cancer Terms. National Cancer Institute. (https://www.cancer.gov/publications/dictionaries/cancer-terms/def/lymph-node)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป