ก้อนในช่องท้อง (Abdominal mass)

การเกิดก้อนในช่องท้อง มักเกิดจากการเป็นซีสต์ มะเร็ง หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ หากเกิดอาการเจ็บปวดมาก หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ก้อนในช่องท้อง (Abdominal mass)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ก้อนในช่องท้อง สามารถทำให้เกิดอาการบวมที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และอาจทำให้ท้องมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ผู้ป่วยที่มีก้อนในท้องอาจสังเกตได้ว่าตนเองมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไม่สบายท้อง ปวดท้อง และท้องอืด

ก้อนในท้องถูกแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามตำแหน่งในทางการแพทย์ ซึ่งก็คือ ด้านบนขวา ด้านบนซ้าย ด้านล่างขวา และด้านล่างซ้าย นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักคือ

  • บริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric Section) : ส่วนที่อยู่เหนือสะดือไปจนถึงราวซี่โครง
  • บริเวณรอบสะดือ (Periumbilical Section) : ส่วนที่อยู่รอบสะดือและต่ำกว่าสะดือทั้งหมด

อาการแสดงของการมีก้อนในช่องท้อง

ผู้ที่มีก้อนในช่องท้อง มักมีอาการแสดงดังนี้

  • ท้องบวมผิดปกติ
  • ปวดในท้อง
  • อืดท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • น้ำหนักเพิ่มไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ออก
  • เป็นไข้

ก้อนในช่องท้องมีทั้งแบบแข็ง หรือแบบนิ่ม กดแล้วเคลื่อนที่ได้ หากก้อนที่ช่องท้องไปกดทับอวัยวะข้างเคียงก็อาจทำให้อวัยวะเสียหายและบาดเจ็บ ในกรณีนี้อาจต้องผ่าตัดก้อนดังกล่าวออกให้เร็วที่สุด หากมีก้อนหลายก้อนเกิดขึ้นในช่องท้อง อาจต้องใช้วิธีการรักษาหลายอย่างร่วมกันหรือเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกำจัดก้อนดังกล่าว

ผู้หญิงบางคนอาจพบก้อนในช่องท้องซึ่งอาจเกิดจากการมีถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่ถ้าถุงน้ำมีขนาดใหญ่เกินไปหรือทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ก็อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นกัน

สาเหตุของก้อนในช่องท้อง

ก้อนในช่องท้อง สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ถุงน้ำหรือซีสต์ (Cysts) : ถุงน้ำเป็นก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ภายในบรรจุไปด้วยของเหลวหรือสารจากการติดเชื้อ ถุงน้ำที่มักเกิดในช่องท้อง ได้แก่
  • โรคมะเร็ง (Cancer) โรคมะเร็งที่มักทำให้เกิดก้อนในท้อง ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • โรคอื่นๆ : โรคบางอย่างอาจทำให้เกิดก้อนในช่องท้อง เช่น
    • โรคโครนส์ (Crohn’s Disease) : เป็นกลุ่มของการอักเสบในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินอาหาร
    • หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง (Abdominal Aortic Aneurysm) : เกิดจากหลอดเลือดใหญ่ที่ส่งเลือดเลี้ยงบริเวณหน้าท้อง กระดูกเชิงกราน และขาทั้งหมดเกิดการโป่งพองขึ้น
    • ฝีตับอ่อน (Pancreatic Abscess) : ภาวะที่ตับอ่อนเกิดโพรงที่เต็มไปด้วยหนอง
    • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) : การอักเสบของถุงผนังลำไส้ โดยปกติจะเกิดขึ้นในจุดที่อ่อนแอที่สุดของลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ส่วนต้น
    • โรคไตบวม (Hydronephrosis) : เป็นความผิดปกติที่ทำให้ไตขยายขนาด เนื่องจากมีปัสสาวะคั่งอยู่ภายใน
    • ภาวะตับโต (Hepatomegaly)
    • ภาวะม้ามโต (Splenomegaly)

การวินิจฉัยก้อนในช่องท้อง

ระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์อาจขอให้ผู้ป่วยนอนหงายในขณะที่ทำการกดเบาๆ บนตำแหน่งต่างๆ บนหน้าท้อง การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งของก้อนในท้องหรืออวัยวะที่ขยายใหญ่โตขึ้น และเพื่อดูว่าผู้ป่วยมีอาการกดเจ็บที่ตำแหน่งใดบ้าง

แพทย์อาจใช้การถ่ายภาพรังสี เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในช่องท้อง (CAT) การเอกซเรย์ช่องท้อง และการอัลตราซาวด์ช่องท้องเพื่อหาขนาดและตำแหน่งของก้อนในท้อง การถ่ายภาพรังสีนี้สามารถระบุถึงชนิดเนื้อเยื่อ หรือประเภทของก้อนในท้องได้อีกด้วย

แต่หากการถ่ายภาพรังสีให้ข้อมูลกับแพทย์ไม่เพียงพอ แพทย์อาจต้องตรวจเพิ่มเติมในบริเวณท้องให้ละเอียดยิ่งขึ้น ด้วยการใช้การส่องกล้องตรวจลำไส้ (Colonoscopy) เพื่อตรวจทางเดินอาหารอย่างละเอียด

การรักษาก้อนในช่องท้อง

การรักษาก้อนในช่องท้องจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขึ้น หากผู้ป่วยมีถุงน้ำในช่องท้องขนาดใหญ่ หรือมีอาการเจ็บปวดมาก แพทย์อาจเลือกที่จะกำจัดถุงน้ำดังกล่าวผ่านการผ่าตัด แต่ถ้าการผ่าตัดเป็นอันตราย ศัลยแพทย์อาจใช้วิธีการลดขนาดก้อนดังกล่าวแทน

การทำเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาอาจถูกนำมาใช้เพื่อลดขนาดก้อนในท้องให้เล็กลง หากก้อนมีขนาดเล็กลงแล้ว แพทย์ก็อาจจะเอาก้อนดังกล่าวออกด้วยการผ่าตัด แต่ทางเลือกนี้มักใช้ในผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อมะเร็ง

หากก้อนในท้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น ถุงน้ำรังไข่ สามารถรักษาได้โดยการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) หรือการได้รับยาคุมกำเนิดในปริมาณต่ำ

ที่มาของข้อมูล

April Kahn, What Causes Abdominal Mass? (https://www.healthline.com/symptom/abdominal-mass), September 16, 2015.


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Symptoms of stomach cancer. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stomach-cancer/)
Abdominal lump: Causes, symptoms, and when to see a doctor. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322244)
Huge Abdominal Tumor: Peritoneal Solitary Fibrous Tumor. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3481152/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถอดรหัสสัญญาณแสดงอาการปวดในทางเดินอาหาร

อ่านเพิ่ม