ภูมิต้านทานต่ำ สาเหตุที่ทำให้ป่วยบ่อย

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภูมิต้านทานต่ำ สาเหตุที่ทำให้ป่วยบ่อย

ในร่างกายเรานั้นมี ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ที่คอยต้านทานและกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย โดยมีเซลล์ที่ทำหน้าที่ผู้พิทักษ์คือ เม็ดเลือดขาว ที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและตามอวัยวะต่างๆ แต่หากร่างกายเราเกิดภาวะ ภูมิต้านทานต่ำ (Immunosuppression) หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunodeficiency) เชื้อโรคสิ่งแปลกปลอมก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้เราป่วยได้บ่อยๆ นั่นเอง

อาการของผู้มีภูมิต้านทานต่ำ

คนมีภูมิต้านทานต่ำมักจะป่วยง่าย ป่วยกระเสาะกระแสะ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ยกตัวอย่างเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เป็นไข้หวัดบ่อยๆ
  • ท้องเสียง่าย หรือบางครั้งท้องเสียเรื้อรัง
  • เป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนังบ่อยๆ ซ้ำๆ เช่น กลาก เกลื้อน

และนอกจากนี้ บางครั้งเชื้อจุลชีพที่ไม่ก่อโรคในคนปกติ ก็อาจก่อโรคในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำได้

สาเหตุที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ

มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง เช่น

เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด

บางครั้งภูมิต้านทานต่ำ ก็เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมตั้งแต่เกิด เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ (Primary immunodeficiency, PIDs) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรง ติดเชื้อโรคได้ง่ายตั้งแต่เด็ก จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

อาหารการกิน

อาหารที่เป็นโทษต่อระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งหากทานเป็นประจำ รวมถึงไม่ค่อยทานผักผลไม้ และดื่มน้ำน้อย ก็อาจทำให้ภูมิต้านทานเราอ่อนแอลงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พักผ่อนไม่เพียงพอ

การพักผ่อนเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้การทำงานในเซลล์ต่างๆ เป็นปกติ รวมถึงเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันด้วย ดังนั้น การอดหลับอดนอนบ่อยๆ ก็มักส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย

ไม่ออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกสดชื่นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง ในทางกลับกัน การไม่ออกกำลังกายเลย นอกจากจะทำให้เราไม่กระฉับกระเฉงแล้ว ยังทำให้ภูมิต้านทานเราอ่อนแอด้วย

สัมผัสกับมลภาวะ

ฝุ่นควันที่ฟุ้งกระจายอยู่รอบตัว ล้วนเต็มไปด้วยเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็น อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาดปลอดโปร่ง มีออกซิเจนน้อย ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเราแย่ลงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สัมผัสกับสารเคมี

สารเคมีในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาย้อมสีผม เบนซีน โลหะหนักที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ หากสะสมในร่างกายมากๆ ก็อาจส่งผลให้ไขกระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้น้อยลง ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลงได้

เป็นผลจากยาบางชนิด

ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงที่สำคัญคือไปกดเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ ยาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ก็ส่งผลให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลงเช่นกัน

ช่วงอายุ

เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ จะมีภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอกว่าคนวัยรุ่นหนุ่มสาว เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ ส่วนในผู้สูงอายุ อวัยวะและเซลล์ในระบบจะเสื่อมสภาพลง ทำให้เด็กๆ และคนแก่มักป่วยได้ง่าย

การติดเชื้อไวรัส

ไวรัสบางชนิดสามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ เช่น ไวรัส HIV ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (AIDs) ซึ่งไวรัสจะเข้าไปอาศัยในเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ด

การรักษาภาวะภูมิต้านทานต่ำ และการเสริมสร้างภูมิต้านทาน

โรคบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรค PIDs หรือการติดเชื้อ HIV ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้แข็งแรงได้ โดยการทานยาตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด (เช่น ยาต้านไวรัส) และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง นอกจากนี้ เรายังสามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกายได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เอ บี ซี และอี เช่น ผักใบเขียว ธัญพืช ฟักทอง อโวคาโด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม ฝรั่ง เนื่องจากผักผลไม้เหล่านี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ สมุนไพรต่างๆ เช่น ขิง ข่า โสม ตะไคร้ และขมิ้น ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานให้แข็งแรงเช่นกัน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดให้ปกติ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการทำงานของหัวใจแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามีประสิทธิภาพดีขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ โดยควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ตามปกติ
  • ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โรคหลายโรคสามารถป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนได้ เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก คางทูม อีสุกอีใส มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

การป้องกันภาวะภูมิต้านทานต่ำ

  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีและมลภาวะโดยไม่จำเป็น
  • งดดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง
  • ป้องกันการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HIV โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Immunodeficiency disorders. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000818.htm)
Immunosuppressant Drugs: A Complete Overview. Healthline. (https://www.healthline.com/health/immunosuppressant-drugs)
Immunosuppression: Overview, History, Drugs. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/432316-overview)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)