กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคผมร่วง (Hair loss)

โรคผมร่วง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีศีรษะล้าน ซึ่งอาจเกิดจากโรคบางชนิด การใช้ยาบางประเภท หรือการดูแลเส้นผมไม่ดีพอ จนทำให้ผมร่วงมากกว่าปกติ
เผยแพร่ครั้งแรก 25 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 19 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคผมร่วง (Hair loss)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สาเหตุของโรคผมร่วงที่พบได้มากที่สุด คือ พันธุกรรมศีรษะล้านจากเพศหญิง และเพศชาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด และการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • โรค หรือความผิดปกติบางอย่างก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผมร่วงได้ เช่น โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคกลาก โรคซิฟิลิส
  • มีวิธีรักษาโรคผมร่วงได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาปลูกผม หรือรักษาโรคผมร่วงที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ การทำศัลยกรรมปลูกผม การผ่าตัดลดหนังศีรษะ
  • การจัดแต่งทรงผมด้วยความร้อนจากไดร์ ที่หนีบผม สารเคมี น้ำยาย้อมผม รวมถึงการไว้ทรงผมที่รัดตึงหนังศีรษะมากเกินไป ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคผมร่วงได้เช่นกัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ คุณควรจะไว้ผมตามธรรมชาติ ไม่มีการเสริมจัดแต่งด้วยสารเคมี หรือความร้อนบ่อยๆ
  • เปรียบเทียบราคา และแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง

เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีผมร่วง 50-100 เส้นต่อวัน เพราะโดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะมีผมประมาณ 100,000 เส้นขึ้นไป เมื่อผมร่วง ผมเส้นใหม่ก็จะเจริญเติบโตและเข้ามาแทนที่เป็นวัฏจักรไปเรื่อยๆ 

แต่เมื่อไรก็ตามที่คุณมีอาการของโรคผมร่วง ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียเส้นผมมากกว่าปกติ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากเส้นผมที่หล่นตามท่อระบายน้ำ การหวีผมแล้วผมติดออกมาเป็นกระจุก หรือการสังเกตเห็นผมบนศีรษะบางจุดจะมีความบางมากกว่าเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประเภทของโรคผมร่วง

โรคผมร่วงสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ

  • โรคผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Scarring or Cicatricial alopecias) เป็นโรคผมร่วงที่เกิดจากความผิดปกติ หรือโรคที่ทำให้หนังศีรษะเป็นแผล และส่งผลให้ผมร่วงไปด้วย เช่น โรคเรื้อน (Leprosy) โรคฝีฝักบัว (Carbuncle) โรคงูสวัด (Herpes Zoster) การถูกสารเคมีกัด 
  • โรคผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Non Scarring or Non-cicatricial alopecias) เป็นโรคผมร่วงที่เกิดจากความผิดปกติ หรือโรคที่ทำให้รากผมอ่อนแอจนผมหลุดร่วง เช่น โรคกลาก โรคซิฟิลิส ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

นอกจากนี้ประเภทของโรคผมร่วงยังแบ่งได้จากลักษณะการร่วงของโรค ซึ่งแบ่งได้ 3 แบบ ได้แก่

  • โรคผมร่วงทั่วศีรษะ (Alopecia Totalis: AT)
  • โรคผมร่วงเป็นหย่อม  (Alopecia Areata: AA)
  • กลุ่มผมร่วง และขนตามร่างกายร่วงทั้งหมด (Alopecia Universalis: AU)

สาเหตุของโรคผมร่วง

โรคผมร่วงมีปัจจัยทำให้เกิดได้หลายอย่าง ทั้งปัจจัยภายในร่างกาย และปัจจัยภายนอกที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง เช่น

  • พันธุกรรม ซึ่งจัดเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคผมร่วงขึ้น ผู้ที่มีพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดที่เคยผมร่วง มีศีรษะล้าน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคผมร่วงด้วย

  • โรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นโรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคลูปัส (Lupus) หรือโรคภูมิแพ้รากผม ก็ล้วนทำให้เกิดโรคผมร่วงได้ ซึ่งเป็นผลมาจากภูมิคุ้มกันร่างกายที่ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ จนทำให้รากผมอ่อนแอ

  • โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เปลี่ยนแปลง จนผมร่วง โดยฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ช่วยแสดงลักษณะความเป็นชาย เช่น มีหนวด มีขน แต่ก็มีในเพศหญิงเช่นกัน

    การที่คนทั้ง 2 เพศมีการทำงานของฮอร์โมนตัวนี้ที่ผิดปกติ จึงมีส่วนทำให้ปริมาณผมงอกใหม่ และความแข็งแรงของผมบนหนังศีรษะลดลง

  • การรักษาโรค ด้วยการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาคุมกำเนิด การฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดอาการผมร่วง

  • การตกแต่งทรงผมบ่อยๆ ด้วยความร้อน สารเคมี น้ำยา รวมถึงการทำทรงผมที่ทำให้หนังศีรษะรัดตึง ไม่ได้ผ่อนคลายอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการสระผมบ่อยเกินความจำเป็นด้วย

  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่บ่อยๆ ซึ่งสารพิษของมันมีส่วนในการฆ่าเซลล์สำคัญในร่างกายหลายส่วน รวมถึงเซลล์รากผม และเซลล์ผิวหนังด้วย รวมถึงทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้รากผมอ่อนแอจนผมร่วง

อ่านเพิ่มเติม: สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคผมร่วง
อ่านเพิ่มเติม: รังแคคืออะไร ทำไมถึงทำให้เกิดโรคผมร่วง

การวินิจฉัยโรคผมร่วง

แพทย์จะสามารถระบุสาเหตุของโรคผมร่วงได้จากการตรวจร่างกาย และการซักประวัติสุขภาพ หากแพทย์สงสัยว่าโรคดังกล่าวอาจเกิดจากการแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคผิวหนังใดๆ ก็อาจทำการตัดตรวจชิ้นเนื้อผิวหนังบนหนังศีรษะเพื่อนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ

การเจริญเติบโตของเส้นผมเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ดังนั้นจึงอาจต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพิจารณาถึงสาเหตุที่แน่นอนในการเกิดโรคผมร่วงขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปลูกผม รักษาผมร่วงวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 484 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีรักษาโรคผมร่วง

มีหลายวิธีที่สามารถรักษาโรคผมร่วงอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

1. ยารักษาโรคผมร่วง การใช้ยาอาจเป็นวิธีแรกในการรักษาอาการผมร่วง โดยยาที่สามารถใช้ได้ เช่น ยา Minoxidil ในรูปแบบครีม หรือเจลที่ทาบนหนังศีรษะโดยตรง 

นอกจากนี้แพทย์อาจจ่ายยา Finasteride (Propecia) สำหรับรับประทานเพื่อรักษาโรคศีรษะล้านในเพศชาย แต่ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยาชนิดนี้ คือ ความต้องการทางเพศลดลง และสมรรถภาพทางเพศลดลง

ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมเนื่องจากภาวะแพ้ภูมิตนเอง แพทย์อาจจ่ายยา Prednisolone โดยยาชนิดนี้ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ และควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน แต่ก็ต้องระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น 

  • ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลสูงขึ้น 
  • ขา และน่องบวม 
  • มีน้ำคั่งในร่างกาย
  • เป็นโรคต้อกระจก หรือโรคต้อหิน 

2. การปลูกผม (Hair Transplant Surgery) เป็นการเคลื่อนย้ายผิวหนังส่วนเล็กๆ ซึ่งภายในมีเส้นผมอยู่สองสามเส้นเพื่อรักษาหนังศีรษะล้าน วิธีนี้ใช้งานได้ดีสำหรับผู้ป่วยศีรษะล้านจากพันธุกรรม เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยมักจะมีผมร่วงเฉพาะที่ด้านบนของศีรษะเท่านั้น

3. การผ่าตัดลดหนังศีรษะ (Scalp Reduction) ศัลยแพทย์จะทำการตัดเอาหนังศีรษะบางส่วนที่ไม่มีผมออก แล้วปิดบริเวณนั้นด้วยหนังศีรษะที่มีผม หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ การโยกแผ่นผิวหนังซึ่งศัลยแพทย์จะพับหนังศีรษะที่มีผมอยู่ทับบนแผ่นศีรษะที่ล้าน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การผ่าตัดชนิดนี้มีราคาแพง และมีความเสี่ยงที่จะมีเส้นผมเติบโตเป็นหย่อมๆ ไม่เติบโตทั้งหมดอย่างที่แพทย์วางแผนไว้ และอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้นได้ 

4. การใช้สมุนไพร โดยน้ำสกัด หรือน้ำมันสมุนไพรหลายชนิดมีส่วนทำให้รากผมแข็งแรง ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนใต้หนังศีรษะ กระตุ้นการงอกของผมเส้นใหม่ ทำให้ผมมีน้ำหนักดูเงางามมากขึ้น เช่น ขิง ว่านหางจระเข้ ใบบัวบก รากชะเอมเทศ

5. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การปล่อยผมตามธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี หรือความร้อนทำผมบ่อยเกินไป การงดสูบบุหรี่ และงดบริโภคสุรา เพื่อไม่ให้มีสารพิษเข้าไปทำลายเซลล์รากผม รับประทานอาหารที่บำรุงเส้นผม เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน วิตามินบี วิตามินซี

อ่านเพิ่มเติม: วิธีการปลูกผม ทำได้ยังไง ต้องเตรียมตัวอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม:
สมุนไพร 9 อย่างช่วยบรรเทาอาการโรคผมร่วง

การป้องกันโรคผมร่วง

วิธีป้องกันโรคผมร่วงทำได้ไม่ยาก โดยมีวิธีปฏิบัติใกล้เคียงกับการรักษาโรคผมร่วง ได้แก่

  • รับประทานอาหาร และวิตามินที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสุขภาพรากผม และหนังศีรษะให้แข็งแรง เช่น ไขมันโอเมก้า-3 ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีสารน้ำเพียงพอ และมีความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หนังศีรษะแห้ง
  • ลดความเครียด เมื่อเกิดภาวะเครียด ฮอร์โมนความเครียดอย่างฮอร์โมนคอร์ติซอลจะมีการหลั่งมากกว่าเดิม เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการผมร่วง
  • ดูแลความสะอาดเส้นผมให้ดี อย่าปล่อยให้หมักหมม หรือติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ควรสระผมบ่อยเกินไป โดยควรสระผมสัปดาห์ละ 2 ครั้งก็พอ
  • อย่าใช้สารเคมี หรือความร้อนกับผมบ่อยๆ ควรมีการเว้นระยะการตกแต่งผมให้ผมได้พักจากสารเคมีบ้าง

โรคผมร่วงเป็นโรคที่รักษาได้ไม่ยาก และไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต เพียงแต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์ การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ วินัยในการดูแลเส้นผมของตนเองที่มากขึ้น เพียงเท่านี้โรคผมร่วงก็สามารถหายได้ และทำให้คุณกลับมามีเส้นผมที่เงางามได้อีกครั้ง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผมร่วง


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treating female pattern hair loss. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/treating-female-pattern-hair-loss)
Hair Loss: Treatment, Causes, Types, Home Remedies & Prevention. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hair_loss/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)