ลองกอง (Longkong)

รู้จัก ลองกอง ในฐานะพืชที่มีสรรพคุณทางยา พร้อมตอบคำถามถามบ่อยเกี่ยวกับอาการร้อนในหลังจากกินลองกอง
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลองกอง (Longkong)

ลองกองเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย ฮาวาย ในประเทศไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นผลไม้ที่รสชาติหวานอร่อย ปลูกมากในภาคใต้และภาคตะวันออก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia dookkoo Griff.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อวงศ์ : Meliaceae

ชื่อสามัญ : Longkong

ชื่ออื่นๆ : ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลองกอง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มทึบ ลำต้นมีลักษณะกลม เนื้อไม้แข็ง เปลือกแข็งมีผิวขรุขระ มีสีน้ำตาล มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เป็นใบประกอบขนนก เรียงสลับตรงข้าม แกนกลางใบประกอบยาว 15-25 เซนติเมตร มีใบย่อย 5-7 ใบ ใบย่อยปลายรูปไข่กลับ มีลักษณะทรงรูปรียาว โคนมน ปลายเรียวรีแหลม ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม พื้นผิวเป็นมัน ดอกเป็นช่อ ออกเป็นกระจุก กลีบดอกมีสีเหลืองอมขาว กลีบเลี้ยงมีสีเขียว มีกลิ่นหอม มีก้านช่อดอกสั้น ดอกออกตามลำต้นหรือบนกิ่ง โดยออกเป็นกลุ่ม 2-10 ช่อ ดอกย่อย 10-30 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว เป็นเกล็ดรูป โค้งมน กลีบดอก 5 กลีบ ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้โดยโคนกลีบเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ 8-10 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.5-0.8 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ผลของลองกองมีลักษณะทรงกลม ออกเป็นพวงแน่น ผิวเปลือกหนาหยาบ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวล มียางน้อยกว่าลางสาด แกะเปลือกออกง่ายกว่าลางสาด ภายในผลมีเนื้อสีน้ำผึ้งใสห่อหุ้มและติดกับแกนกลาง ผล มี 5 กลีบ เมล็ดรูปมนรี สีเหลืองอมเขียว 1-2 เมล็ดต่อผล ติดผลเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ส่วนเมล็ดลองกองมีลักษณะรูปทรงรี อยู่ข้างในเนื้อ มีสีเขียวอมเหลือง มีเยื่อนุ่มลื่นหุ้มอยู่

สรรพคุณของลองกอง

แต่ละส่วนของลองกองมีสรรพคุณดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เนื้อผล มีสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเสื่อมสภาพของร่างกาย บำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นให้เจริญอาหาร สารสกัดจากเนื้อผลลองกองช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการเกิดมะเร็ง
  • เปลือกต้น มีรสฝาด ใช้เปลือกแห้งบดเป็นผงหรือต้มเป็นยาใช้ภายนอกช่วยสมานแผล ลดน้ำหนองหรือน้ำเหลืองไหล มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ช่วยรักษาโรคผิวหนัง นอกจากนี้ยังนำมาต้มดื่มแก้อาการท้องเสียและรักษาโรคบิดได้อีกด้วย
  • เมล็ด สารสกัดจากเมล็ดสามารถนำมารับประทาน ช่วยขับพยาธิ ต้านการติดเชื้อ และการอักเสบของแผล

ไขข้อสงสัยลองกองกับการดับร้อนและลดการอักเสบ

ลองกองมีรสหวาน เมื่อรับประทานจะทำให้รู้สึกสดชื่น ดับกระหายและคลายร้อนได้ แต่หากรับประทานในปริมาณมากก็จะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป จนอาจก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ส่วนด้านลดการอักเสบนั้น ในลองกองมีสารแทนนิน มีรสฝาด ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยสมานแผลได้

ลองกองกับการลดความอ้วน

ลองกองเป็นผลไม้ที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆ คน แต่ด้วยรสชาติที่หวานก็ทำให้หลายคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักกังวล เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานและน้ำตาลสูง ลองกอง 100 กรัม (ประมาณ 6 ผล) ให้พลังงาน 57 แคลอรี และมีปริมาณน้ำตาล 16 กรัม หรือประมาณ 5 ช้อนชา ซึ่งตามที่องค์การอนามัยโลกระบุไว้ ร่างกายคนเราต้องการน้ำตาลต่อวันประมาณ 6 ช้อนชา ไม่ควรเกิน 10 ช้อนชา การรับประทานลองกองปริมาณมากจะทำให้ได้รับน้ำตาลเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ในบุคคลทั่วไปหรือผู้ที่กำลังลดน้ำหนักสามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยงและหันไปรับประทานผลไม้ที่น้ำตาลต่ำแทน เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร เป็นต้น

ข้อควรระวังในการรับประทานลองกอง

  • ควรล้างทำความสะอาดภายนอกให้สะอาดก่อนรับประทานเพื่อล้างสารเคมีและเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนบริเวณเปลือกผลไม้
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะน้ำตาลสูงและมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลองกอง เนื่องจากมีน้ำตาลสูง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
  • ผู้ที่แพ้สัมผัสง่าย ควรระมัดระวังการสัมผัสยางจากลองกอง อาจทำให้เกิดอาการคัน ผื่นผิวหนัง แสบร้อนผิวได้

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, "ลองกอง". (www.uru.ac.th)
มหาวิทยาลัยนเรศวร, ลองกอง (http://www.natres.psu.ac.th/FNR/vfsouthern/index.php/2013-10-26-10-11-55/9-uncategorised/113-2014-01-19-07-48-52)
นันทวัน บุญยะประภัสสร, สมุนไพรพื้นบ้าน, 2542

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การประคบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การประคบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทย แก้ปวด เมื่อย เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ และอักเสบ ได้ด้วยสมุนไพรและความร้อน

อ่านเพิ่ม