การใช้ชีวิตกับโรคพาร์กินสัน

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การใช้ชีวิตกับโรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันควรรักษาสุขภาพทางกายและทางจิตใจให้ดีอยู่เสมอ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การฉีดวัคซีน และอื่นๆ

ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

การออกกำลังกายมีความสำคัญอย่างยิ่งในการบรรเทาอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น และผ่อนคลายความเครียด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีกิจกรรมการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบที่คุณสามารถทำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวและกำลังมาก เช่น เทนนิส และปั่นจักรยาน ไปจนถึงกิจกรรมในระดับเบา เช่น การเดิน การทำสวน และการเล่นโยคะ เป็นต้น

นอกจากนี้คุณควรพยายามรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอที่จะทำให้มีสุขภาพดี

การฉีดวัคซีน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนจะได้รับการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี

นอกจากนี้การฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัส (pneumococcal vaccination) มักแนะนำให้ฉีดในผู้ป่วยพาร์กินสันด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการฉีดยาแบบครั้งเดียวเพื่อป้องกันการติดเชื้อในปอดร้ายแรงที่เรียกว่า โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส (pneumococcal pneumonia)

ความสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสนับสนุนในผู้ป่วยพาร์กินสัน

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรังในระยะยาว เช่น โรคพาร์กินสัน นอกจากทำให้ตัวคุณเองมีความเครียดแล้ว ยังทำให้บุคคลในครอบครัวและเพื่อนมีความเครียดไปด้วย และถือเป็นเรื่องยากที่จะพูดคุยกับคนอื่นว่าคุณกำลังเป็นโรคพาร์กินสัน แม้ว่าจะเป็นคนที่สนิทกับคุณก็ตาม

การต่อสู้กับอาการที่แย่ลงเรื่อยๆ เช่น การเคลื่อนไหวลำบากมากขึ้น อาจทำให้คุณรู้สึกสิ้นหวังและหดหู่ ซึมเศร้าได้ คู่ชีวิตหรือแฟนหรือผู้ดูแลคุณย่อมรู้สึกไม่สบายใจหรือรู้สึกสิ้นหวังเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แนะนำให้คุณเปิดใจเกี่ยวกับความรู้สึกที่คุณกำลังรู้สึก และบอกให้ครอบครัวและเพื่อนรู้ว่าพวกเขาควรทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือคุณ อย่าอายที่จะบอกคนอื่นถึงสิ่งที่คุณต้องการสำหรับชีวิตคุณในบางช่วงเวลา ถ้านั่นคือสิ่งที่คุณต้องการ

การสนับสนุนผู้ป่วยพาร์กินสัน

ถ้าคุณมีคำถามใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน แพทย์หรือพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญโรคพาร์กินสันอาจช่วยเหลือคุณได้ คุณอาจพบว่าการพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษาที่ผ่านการฝึกอบรมหรือนักจิตวิทยาจะเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง หรือการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางสายด่วนให้คำปรึกษาต่างๆ และผู้ป่วยบางรายจะพบประโยชน์จากการพูดคุยกับผู้ป่วยพาร์กินสันคนอื่นๆ เช่น ในกลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยพาร์กินสันในท้องถิ่นของคุณ หรือในอินเตอร์เน็ตออนไลน์

บริการดูแลและสนับสนุนผู้ป่วยพาร์กินสัน

การใช้เวลาในการคิดว่าอะไรคือความต้องการเฉพาะของคุณ และอะไรคือสิ่งที่จะช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดี ถือว่าเป็นการใช้เวลาที่มีความคุ้มค่า

ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือคุณภายในบ้าน และอุปกรณ์ช่วยในการปรับตัวภายในบ้านของคุณเอง

การทำงานและการเงินในผู้ป่วยพาร์กินสัน

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องหยุดทำงานทันที ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันยังสามารถทำงานต่อไปได้อีกหลายปีภายหลังได้รับการวินิจฉัยโรคแล้ว

คุณอาจพบความยากลำบากในการรับมือกับสถานการณ์ทางการเงินของคุณ หากคุณต้องหยุดทำงานเนื่องจากโรคที่คุณเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคพาร์กินสันที่มีความซับซ้อนและการดูแลรักษาแบประคับประคอง

โรคพาร์กินสันที่มีความซับซ้อนหมายถึงระยะที่การรักษาไม่สามารถควบคุมอาการของผู้ป่วยได้อย่างคงที่ หรือผู้ป่วยมีอาการยุกยิกที่ควบคุมไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวนี้ยังสามารถรักษาได้ด้วยการปรับยาหรือเพิ่มชนิดยารักษาโรคพาร์กินสันที่ผู้ป่วยกำลังใช้อยู่ ซึ่งทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคพาร์กินสัน

เมื่อโรคพาร์กินสันได้ดำเนินไปถึงจุดหนึ่ง คุณจะได้รับการเชิญให้พูดคุยกับทีมแพทย์ที่ดูแลคุณถึงการดูแลที่คุณต้องการเมื่อคุณใกล้ถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต เราเรียกว่า การรักษาแบบประคับประคอง (palliative care)

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด การดูแลรักษาแบบประคับประคองจะทำเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย และมีเป้าหมายเพื่อให้ช่วงท้ายของชีวิตผู้ป่วยเป็นไปอย่างสบายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยพยายามที่จะบรรเทาอาการปวดและอาการอื่นๆ ที่ทำให้เป็นทุกข์ ร่วมกับการสนับสนุนทางจิตวิทยา สังคม และทางศาสนา ทั้งกับคุณและกับครอบครัวของคุณ

การดูแลรักษาแบบประคับประคองสามารถทำได้ทั้งที่บ้าน, บ้านพักคนชรา หรือในโรงพยาบาล คุณอาจต้องพิจารณาพูดคุยกับครอบครัวของคุณและทีมแพทย์ที่ดูแลคุณล่วงหน้าถึงการดูแลและการรักษาที่คุณต้องการได้รับ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/parkinsons-disease#living-with


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parkinson's disease - Living with. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/parkinsons-disease/living-with/)
Parkinson’s disease: Living with the early stages of Parkinson's disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK293717/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)