ภาวะไร้อารมณ์ (Listless, Apathy, Indifferent mood)

ภาวะไร้อารมณ์ หรือภาวะไม่ไยดีต่อสิ่งรอบข้าง เป็นอาการของโรคทางระบบประสาท และโรคทางจิตเวช สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยา และการเข้ารับบำบัดจิต
เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะไร้อารมณ์ (Listless, Apathy, Indifferent mood)

ภาวะไร้อารมณ์ คือ ภาวะที่หมดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ หรือไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแต่อย่างใด ภาวะดังกล่าวสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น และลดความสุขในชีวิตลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะไร้อารมณ์เป็นอาการของโรคทางระบบประสาทหลายอย่าง เช่น โรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังสามารถถือเป็นกลุ่มอาการอย่างหนึ่งได้อีกด้วย

อาการของภาวะไร้อารมณ์

ผู้ที่มีภาวะไร้อารมณ์จะรู้สึกขาดแรงบันดาลใจ หรือแรงจูงใจจะทำกิจกรรมใดๆ แม้แต่กิจกรรมที่เคยชอบหรือสนใจก็ยังเพิกเฉยและไม่สนใจจะทำเช่นเคย

ภาวะไร้อารมณ์อาจทำให้ผู้ป่วยแสดงความไม่สนใจหลายๆ มุมในชีวิต เช่น ไม่สนใจจะพบปะผู้คนใหม่ๆ หรือลองสิ่งใหม่ๆ หมดความสนใจในกิจกรรม หรือไม่อยากจัดการกับปัญหาหรือข้อกังวลส่วนตัว ซึ่งอาจส่งผลต่อการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น และลดประสิทธิภาพการทำงานหรือการเรียนอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ภาวะไร้อารมณ์ก็ไม่ได้เหมือนกับภาวะซึมเศร้า เนื่องจากภาวะดังกล่าวอาจทำให้รู้สึกหมดหวังและรู้สึกผิด ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด และการฆ่าตัวตาย

สาเหตุของภาวะไร้อารมณ์

ภาวะไร้อารมณ์ อาจเป็นอาการของโรคทางจิตเวชและระบบประสาทหลายโรค เช่น

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia)
  • โรคสมองส่วนหน้าและขมับเสื่อม (Frontotemporal Dementia)
  • โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease)
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
  • โรคก้านสมองพิการ (Progressive Supranuclear Palsy)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (Vascular Dementia)

จากการศึกษาหนึ่งในปี ค.ศ. 2011 พบรอยโรคในกลีบสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ของสมองในผู้ป่วยที่ไร้อารมณ์ ซึ่งนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าศูนย์ภาวะไร้อารมณ์ของสมอง (Brain’s Apathy Center) ตั้งอยู่ด้านหน้าของสมอง โดยอาจเป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดสมองที่กระทบการทำงานของสมองส่วนดังกล่าวจึงทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยภาวะไร้อารมณ์

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จะใช้เกณฑ์ 4 ข้อในการวินิจฉัยภาวะไร้อารมณ์ ได้แก่

  • ขาดแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นลดลง : ผู้ป่วยแสดงออกว่ามีแรงจูงใจที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งไม่สอดคล้องกับอายุ วัฒนธรรมในขณะนั้น หรือสุขภาพร่างกาย
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด หรืออารมณ์ : พฤติกรรมและความคิดที่เปลี่ยนไป อาจทำให้ยากที่จะมีส่วนร่วมในการสนทนาทั่วไปหรือทำงานประจำวันร่วมกับผู้อื่น
  • ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต : พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปส่งผลเสียต่อชีวิตการทำงาน และความสัมพันธ์ส่วนตัว
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่ได้มาจากสาเหตุอื่น : พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปไม่เกี่ยวข้องกับความพิการทางร่างกาย การใช้สารเสพติด หรือจิตสำนึกที่เปลี่ยนไปแต่อย่างใด

การรักษาภาวะไร้อารมณ์

การรักษาภาวะไร้อารมณ์จะขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก หากแพทย์พิจารณาว่าอาการของผู้ป่วย สามารถรักษาด้วยยาได้ แพทย์ก็อาจจะจ่ายยาให้ผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  • ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ เช่น Donepezil Galantamine Rivastigmine
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น Paroxetine Sertraline Bupropion
  • ยากระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในสมองและกระตุ้นการเผาผลาญ เพื่อรักษาอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น Nicergoline
  • ยากระตุ้นสารโดปามีนเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน เช่น Ropinirole
  • ยารักษาโรคจิตเพื่อรักษาโรคจิตเภท
  • ยารักษาโรคสมาธิสั้น

บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการทำจิตบำบัดร่วมกับใช้ยา ซึ่งอาจทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว

ปัจจุบันยังมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการรักษาภาวะไร้อารมณ์อื่นๆ เช่น การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นไฟฟ้า โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำเป็นระยะเวลาสั้นๆ บนหน้าผากเพื่อกระตุ้นสมองส่วนหน้า วิธีนี้อาจช่วยรักษาภาวะไร้อารมณ์ของผู้ป่วยหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งส่งผลต่อสมองส่วนหน้าได้


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rachel Nall, What Causes Indifferent Mood? (https://www.healthline.com/symptom/indifferent-mood), November 1, 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป