ภูวนัย ดวงสุภา
เขียนโดย
ภูวนัย ดวงสุภา

มาส์กฉายแสง บำบัดผิวด้วยการฉายแสง วิธีการดูแลรักษาและฟื้นบำรุงผิวอย่างครอบคลุม

สิวอักเสบ ผิวหมองคล้ำ ผิวไม่แข็งแรง ขาดคอลลาเจน แก้ไขได้ด้วยการบำบัดผิวโดยการฉายแสง อีกหนึ่งวิธีการดูแลผิวในระดับเซลล์อย่างอ่อนโยน
เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
มาส์กฉายแสง บำบัดผิวด้วยการฉายแสง วิธีการดูแลรักษาและฟื้นบำรุงผิวอย่างครอบคลุม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • มาส์กฉายแสง เป็นหนึ่งในการบำบัดผิวด้วยการฉายแสง (Light therapy) ที่ใช้สำหรับดูแลรักษาปัญหาผิวหน้าต่างๆ ในระดับเซลล์อย่างอ่อนโยน
  • มาส์กฉายแสง มีแสงหลายชนิด โดยแสงแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น แสงสีฟ้า ใช้รักษาสิวอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว หรือแสงสีแดง ใช้กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณดูกระจ่างใส หยืดยุ่น ลดริ้วรอยต่างๆ และรักษารอยสิวให้จางลง
  • การบำบัดผิวด้วยการฉายแสงสามารถฉายแสงชนิดเดียว หรือฉายแสงสลับกันก็ได้ ทำให้รักษาผิวหน้าได้หลากหลายในคราวเดียว
  • หลังจากทำมาส์กฉายแสง ผิวจะไวต่อการอักเสบ ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูช่วงหนึ่ง ผู้เข้ารับบริการจะต้องทาครีมกันแดดเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการตากแดดจัด
  • การบำบัดผิวด้วยการฉายแสงมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะช่วยรักษาปัญหาผิวได้แตกต่างกันไป คุณควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง หรือสอบถามรายละเอียดจากคลินิกก่อนเข้ารับบริการ เพื่อเลือกประเภทของแสงที่เหมาะกับปัญหาผิวของคุณ (ดูแพ็กเกจบำบัดผิวด้วยการฉายแสงได้ที่นี่)

หากการบำรุงผิวด้วยครีมทาผิวเห็นผลช้าเกินไป ลองมาส์กฉายแสง หรือบำบัดผิวด้วยการฉายแสง (Light therapy) ทางเลือกเพื่อการดูแลรักษาผิวในระดับเซลล์อย่างอ่อนโยนและเห็นผลชัดเจน สามารถรักษาปัญหาผิวได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสิว ริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ไปจนถึงบรรเทาอาการกล้ามเนื้ออักเสบ

การบำบัดผิวด้วยการฉายแสง คืออะไร?

การบำบัดผิวด้วยการฉายแสง (Light therapy) คือการฉายแสงพลังงานความเข้มข้นต่ำ (Low Level Light Therapy: LLLT) ไปที่ผิวหนัง เพื่อรักษาปัญหาผิวหรือฟื้นบำรุงผิว เช่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ปรับปรุงสภาพผิว หรือกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นการรักษาผิวในระดับเซลล์อย่างอ่อนโยน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
มาส์กหน้า วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 85 บาท ลดสูงสุด 90%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แสงที่ใช้ในการดูแลรักษาผิวหน้า (Visible light therapy) ที่นิยมกันมี 2 ชนิด ได้แก่ แสงสีฟ้า (Blue light therapy) และแสงสีแดง (Red light therapy) โดยแสงแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการรักษาผิวที่แตกต่างกันไป

การทำมาส์กฉายแสงหรือรับการบำบัดผิวด้วยการฉายแสง แพทย์ผิวหนังจะประเมินสภาพผิวและเลือกชนิดของแสงที่เหมาะสำหรับปัญหาผิวของผู้เข้ารับบริการ โดยสามารถรักษาด้วยแสงเพียงชนิดเดียว หรือฉายแสงสลับกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ฉายแสงสีฟ้า การรักษาสิวที่มีประสิทธิภาพ

แสงสีฟ้า เป็นแสงที่แพทย์ผิวหนังนิยมนำมาใช้ในการรักษาสิวอักเสบ

เนื่องจากความยาวของคลื่นแสงสีฟ้าสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P.acne) ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสิวอักเสบได้ และลดการทำงานของต่อมไขมัน ช่วยบรรเทาอาการและลดการเกิดสิวอักเสบได้โดยไม่ต้องรับประทานยา

แพทย์ผิวหนังแนะนำให้ผู้ที่มีปัญหาสิวอักเสบรวมถึงสิวชนิดอื่นๆ และผู้ที่มีอาการดื้อยารักษาสิว เข้ารับการรักษาสิวด้วยการฉายแสงสีฟ้าสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที อย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 5 ขึ้นไป

จำนวนครั้งในการรักษาสิวด้วยการฉายแสงสีฟ้าจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวในแต่ละบุคคล หลังจากรับการรักษาแล้ว การดูแลผิวอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นล้างหน้าให้สะอาด ไม่ถูหรือขัดหน้า หรือใช้ครีมทาผิวที่เหมาะกับสภาพผิว ก็จะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
มาส์กหน้า วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 85 บาท ลดสูงสุด 90%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดูแลผิวให้แข็งแรง กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ด้วยการฉายแสงสีแดง

แสงสีแดง หรือ อินฟราเรด (Infrared) เป็นแสงที่คนนิยมใช้อบผิวพรรณทั่วร่างกายและเส้นผม เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน (Elastin) ใต้ชั้นผิว และกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ผิวพรรณดูกระจ่างใส หยืดยุ่น ลดริ้วรอยต่างๆ รักษารอยสิวให้จางลง และช่วยให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น

คอลลาเจนและอิลาสตินไม่ได้ช่วยในด้านผิวพรรณเท่านั้น แต่ยังช่วยในการบำรุงไขข้อและกระดูกให้แข็งแรง ช่วยเร่งการฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากเนื้อเยื่อ การฉายแสงสีแดงจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักกีฬาหรือผู้ที่ชื่นชอบออกกำลังกายด้วยเช่นกัน

การฉายแสงสีแดงนั้นมีตั้งแต่เครื่องฉายแสงที่ทำได้ทั้งบริเวณใบหน้าและเส้นผม มาส์กฉายแสงที่สามารถใช้ได้เองที่บ้าน ไปจนถึงเตียงอบแสงที่สามารถฉายแสงได้พร้อมกันทั่วร่างกาย สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อเลือกใช้ได้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคล

แสงสีเขียวกับแสงสีเหลืองคืออะไร แตกต่างจากแสงสีแดงและแสงสีฟ้าอย่างไร?

นอกจากแสงสีฟ้าและแสงสีแดงแล้ว ยังมีแสงสีเขียว (Green light therapy) และแสงสีเหลือง (Yellow light therapy) ที่นำมารักษาผิวหน้า ช่วยลดรอยแดง รักษารอยดำ กระ ฝ้า ทำให้เม็ดสีที่เข้มให้จางลงด้วย โดยแสงสีเหลืองจะมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ กระตุ้นระบบน้ำเหลืองและระบบการไหลเวียนโลหิต แต่แสงทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับแสงสีฟ้าและแสงสีแดง

ผู้เข้ารับบริการบำบัดผิวด้วยการฉายแสงส่วนใหญ่มักมีปัญหาเกี่ยวกับสิว ซึ่งการฉายแสงสีฟ้าสลับกับแสงสีแดงจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรักษาสิวให้หายเร็วขึ้น และฟื้นบำรุงผิวให้กระจ่างใสและแข็งแรงได้เพียงพอต่อความต้องการแล้ว การฉายแสงสีฟ้าและแสงสีแดงจึงเป็นที่นิยมมากกว่านั่นเอง

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉายแสง

ถึงแม้ว่าการบำบัดด้วยแสงจะเป็นการใช้แสงที่มีพลังงานความเข้มข้นต่ำ ไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อผิวและร่างกาย แต่ผู้ที่ต้องเข้ารับการฉายแสงก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ครีมทาผิวหรือครีมรักษาสิวที่มีส่วนผสมของเรตินอล (Retinols) หรือเรตินเอ (Retin A) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะทำให้ผิวไวต่อแสงมากยิ่งขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการไหม้หรืออักเสบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
มาส์กหน้า วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 85 บาท ลดสูงสุด 90%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้คุณจะต้องหลีกเลี่ยงการอาบแดด เพราะการอาบแดดจะทำให้ผิวบอบบางและไวต่อการอักเสบ และหากกำลังรับประทานยารักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดใดก็ตาม จะต้องแจ้งให้แพทย์ผิวหนังทราบก่อนเข้ารับบริการ เนื่องจากยาบางตัวก็ส่งผลให้ผิวไวต่อแสงได้เช่นกัน

การดูแลผิวหลังเข้ารับการฉายแสง

วิธีดูแลผิวหลังเข้ารับการฉายแสง มีดังนี้

  • การฉายแสงจะทำให้ผิวไวต่อแสงมากยิ่งขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แจ้งรวมถึงการใช้ครีมทาผิวที่ทำให้ผิวไวต่อแสงมากยิ่งขึ้น เช่น เรตินเอ หรือกรดวิตามินซี
  • หมั่นทาครีมกันแดดเป็นประจำ เพื่อปกป้องผิวจากแสงยูวี
  • หลังการฉายแสงอาจทำให้ผิวแห้งในช่วงแรก ควรเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ (Moisturizer)

หลังเข้ารับการฉายแสง เป็นเรื่องปกติที่ผิวจะไวต่อแสงและบอบบาง แต่การดูแลผิวอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผิวฟื้นฟูและกลับมาแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังทำให้การรักษาปัญหาผิวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่หากคุณไม่ดูแลผิวหลังเข้ารับการฉายแสง ก็อาจทำให้ปัญหาผิวรุนแรงขึ้น เช่น หากไปเล่นทะเลหรือตากแดดหลังจากเข้ารับการฉายแสง ก็อาจทำให้ผิวไหม้และทำให้รอยดำ กระ หรือฝ้ามีสีเข้มขึ้นกว่าเดิม

คุณควรสอบถามแพทย์ผิวหนังที่รักษาผิวให้กับคุณว่า จะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไรในการฟื้นบำรุงผิว เนื่องจากการบำบัดด้วยแสงนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผู้ที่มีปัญหาผิวเยอะก็อาจต้องฉายแสงเป็นวงกว้าง และใช้เวลาฟื้นฟูผิวนานกว่าผู้ที่เข้ารับการฉายแสงเฉพาะจุด

บำบัดผิวด้วยการฉายแสง ราคาเท่าไร?

บำบัดผิวด้วยการฉายแสงจะมีราคาแตกต่างกันไปตามเป้าหมายในการรักษา บริเวณที่ต้องการฉายแสง และเครื่องที่ใช้ในการฉายแสง เช่น ฉายแสงรักษาสิว ครั้งละ 750 บาท หรือคอร์สฉายแสงบำบัดผิวเพื่อให้ผิวหน้าแข็งแรง 5 ครั้ง ราคา 3,000 บาท

บำบัดผิวด้วยการฉายแสงมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะช่วยรักษาปัญหาผิวได้แตกต่างกันไป คุณควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง หรือสอบถามรายละเอียดจากคลินิกก่อนเข้ารับบริการ เพื่อเลือกประเภทของแสงที่เหมาะกับปัญหาผิวของคุณ

ดูแพ็กเกจบำบัดผิวด้วยการฉายแสง เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kristeen Cherney, LED Light Therapy for Skin: What to Know (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/led-light-therapy), 5 April 2019.
Kathryn Watson, Is Light Therapy for Acne the Treatment You’ve Been Looking For? (https://www.healthline.com/health/skin/light-therapy-for-acne), 26 June 2019.
Jacquelyn Cafasso, Red Light Therapy Benefits (https://www.healthline.com/health/red-light-therapy), 11 May 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)