อาการขาอยู่ไม่สุข

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการขาอยู่ไม่สุข

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นมักมีอาการกระตุกของขา หรือบางทีรวมถึงแขน ซึ่งอาการมักเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน และนับเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นกลางดึกอยู่บ่อยๆ

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขหรืออีกชื่อหนึ่ง คือ Willis-Ekbom disease เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้บ่อยซึ่งกระตุ้นให้ขาเกิดการขยับและกระตุกอย่างมากและไม่สามารถควบคุมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดอาการเหมือนมีอะไรคลานหรือเลื้อยมาตามเท้า น่องและต้นขา ความรู้สึกเหล่านี้มักจะแย่ลงในตอนเย็นหรือตอนกลางคืน และในบางครั้งแขนก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขยังสัมพันธ์กับการกระตุกของขาและแขนโดยไม่ได้ตั้งใจที่เรียกว่าการเคลื่อนไหวของแขนขาเป็นระยะ ๆ ในการนอนหลับ (Periodic limb movements in sleep: PLMS)

ผู้ป่วยบางคนเกิดอาการของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขเป็นครั้งคราวในขณะที่บางคนเกิดอาการทุกวัน ความรุนแรงของอาการนั้นก็อาจแตกต่างกันตั้งแต่เบาจนถึงรุนแรง ในกรณีที่อาการของขาอยู่ไม่สุขรุนแรงอาจเป็นเรื่องที่น่าวิตกและขัดขวางกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยคนนั้นได้อย่างมาก

สาเหตุของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

กรณีส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขปฐมภูมิ (Idiopathic or primary restless legs syndrome) ซึ่งสามารถสืบทอดต่อกันในครอบครัวได้

แพทย์ประสาทวิทยาบางคนเชื่อว่าอาการของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขอาจมีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ร่างกายจัดการกับสารเคมีสื่อประสาทชื่อว่า โดปามีน (dopamine) โดปามีนมีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และอาจส่งผลต่อการกระตุกหรือเคลื่อนไหวของขาที่ควบคุมไม่ได้ในกลุ่มอาการดังกล่าว

ในบางกรณี กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นอาจเป็นผลแทรกซ้อนจากสภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคไตวาย ภาวะเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันเป็นกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขทุติยภูมิ (secondary restless legs syndrome)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขตั้งและการตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ประมาณ 1 ใน 5 คนจะพบอาการในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ไม่มีเหตุผลชัดเจนว่าทำไมถึงเกิดเช่นนี้ขึ้น และอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นมักจะหายไปหลังจากที่คลอดบุตรอีกด้วย

การรักษากลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขที่มีอาการไม่รุนแรง และไม่ได้เกิดจากสภาวะผิดปกติทางสุขภาพอื่น ๆ นั้นอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อย เช่น:

  • สร้างนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ - ตัวอย่างเช่น นอนให้ตรงต่อเวลาในทุกวัน นอนในจำนวนชั่วโมงที่สม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในช่วงดึก
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงกลางวัน

หากอาการของคุณรุนแรงขึ้น คุณอาจต้องใช้ยาเพื่อควบคุมระดับสารโดปามีนและธาตุเหล็กในร่างกายของคุณ

ถ้าอาการของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นมีสาเหตุมาจากโรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก การได้รับธาตุเหล็กเสริมอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นในการรักษาอาการดังกล่าวด้วย

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขสามารถเกิดกับใครได้บ้าง

อย่างน้อย 1 ใน 10 คนเคยได้รับผลกระทบจากอาการขาอยู่ไม่สุขในช่วงชีวิตหนึ่งของพวกเขา

ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นสองเท่าในการเกิดโรคดังกล่าวมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ ยังพบกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขได้บ่อยในวัยกลางคน ถึงแม้ว่าจะสามารถเกิดโรคขึ้นได้ในทุกช่วงอายุรวมถึงวัยเด็กด้วย

ภาพรวมของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

อาการของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขมักจะหายไปหากสามารถจะระบุสาเหตุที่แท้จริงและแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ตรงจุด

อย่างไรก็ตาม หากไม่ทราบสาเหตุของอาการ บางครั้งอาการต่าง ๆ อาจแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปและส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนอย่างรุนแรงมากขึ้น กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่กรณีที่รุนแรงสามารถรบกวนการนอนหลับก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และทำให้เกิดโรควิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าตามมาได้เช่นกัน

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/restless-legs-syndrome


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Restless legs syndrome. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/restless-legs-syndrome/)
Restless legs syndrome: Causes, treatments, and home remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/7882)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป