กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ลักปิดลักเปิด โรคของคนที่ขาดวิตามินซี

เหงือกบวม เลือดออกได้ง่าย ห้อเลือดง่าย อาจเป็นสัญญาณจู่โจมของโรคลักปิดลักเปิด
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 31 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลักปิดลักเปิด โรคของคนที่ขาดวิตามินซี

โรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) หรือโรคขาดวิตามินซี เป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ขาดา่อาหารที่มีความเหมาะสมต่ออายุ เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก รวมถึงผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล สาเหตุหลักๆ ของการเกิดโรคลักปิดลักเปิดเกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามินซีอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานาน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ 

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคลักปิดลักเปิด

  1. หญิงตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างให้นมบุตร
  2. ทารกในครรภ์มารดาที่มีภาวะขาดสารอาหาร
  3. ทารกและเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งมารดาเลี้ยงด้วยนมข้นหวาน นมข้นจืด นมวัวเจือจาง เพียงอย่างเดียว รวมทั้งทารกที่รับประทานนมมารดาแต่ไม่ได้รับอาหารเสริมตามช่วงวัย
  4. กลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแลเอาใจใส่ ไม่ได้รับประทานผักและผลไม้
  5. กลุ่มคนที่ขาดการรับประทานผลไม้ ผัก ที่มีวิตามินซีสูง 
  6. กลุ่มคนที่ติดสุรา ยาเสพติด และบุหรี่
  7. กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเรื้อรังต่างๆ โรคติดเชื้อต่างๆ  
  8. กลุ่มผู้ป่วยโรคซีมเศร้า โรคลมชัก
  9. กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายและต้องฟอกไต

อาการของโรคลักปิดลักเปิด

  1. เบื่ออาหาร 
  2. อ่อนเพลีย มีอาการเหนื่อยง่ายโดยไม่รู้ตัว พร้อมทั้งกระสับกระส่ายจนผิดสังเกต
  3. ซึม ซีด ถ่ายเหลว ท้องเสียเรื้อรังและรุนแรง ทำให้ผอมลงเรื่อย ๆ หรือน้ำหนักไม่ขึ้นไปจากเดิม
  4. เด็กเล็กที่มีฟันและกระดูกที่ผิดรูปร่าง
  5. มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในส่วนของกล้ามเนื้อขา
  6. มีเหงือกบวม มีอาการบาดเจ็บที่เหงือก จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงเวลาแปรงฟัน หรือรับประทานของแข็งๆ มีเลือดออกตามไรฟัน
  7. กลุ่มคนที่มีเลือดออกตามข้อ ส่งผลทำให้ข้อบวมและอักเสบ
  8. ผู้ที่มีเลือดออกในตา ส่งผลทำให้ตาบวม
  9. มีอาการห้อเลือด หรือจุดเลือดได้ง่าย แถมยังมีผื่นคัน พร้อมทั้งจุดแดงๆ จากเลือดออกตามตัว คล้ายกับผื่นที่เกิดขึ้นจากโรคไข้เลือดออก
  10. ผิวหนังอาจมีลักษณะหยาบและมีตุ่มรอบรูขุมขน

ความรุนแรงของโรคลักปิดลักเปิด

ในทารกและเด็กเล็กอาจส่งผลต่ออัตราการงอกของกระดูก หากขาดวิตามินซีนานๆ อาจนำไปสู่ภาวะซีดได้ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็ก นอกจากนี้ในรายที่อาการรุนแรงมากอาจเกิดเลือดออกในสมองจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การวินิจฉัยโรคลักปิดลักเปิด

  • ซักประวัติการรับประทานอาหาร เพื่อดูว่ามีภาวะขาดสารอาหาร ขาดวิตามินซี หรือไม่
  • ตรวจร่างกาย 
  • ตรวจเหงือกและฟัน
  • เอกซเรย์กระดูกเพื่อดูการเจริญเติบโตของกระดูก 
  • ตรวจระดับของวิตามินซีในพลาสมาและเลือด 

นอกจากจะมีการวินิจฉัยอาการในเบื้องต้นแล้ว แพทย์อาจให้วิตามินซีเสริมให้กับผู้ป่วย หากมีอาการดีขึ้นหลังรับประทานวิตามินซีถือได้ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิดโดยแท้จริง

วิธีรักษาโรคลักปิดลักเปิด

  • ให้วิตามินซีพร้อมทั้งวิตามินเสริมอาหารให้เพียงพอในแต่ละวันจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการกลับมาเป็นปกติ สำหรับเด็ก รับประทานวิตามินซีประมาณวันละ 150-300 กรัม เป็นเวลา 1 เดือน ส่วนผู้ใหญ่รับประทานวิตามินซีประมาณวันละ 800-1000 มิลลิกรัม เป็นเวลา 1 สัปดาห์
  • หากรับประทานวิตามินซีไม่ได้อาจใช้การฉีดวิตามินซีเข้าทางหลอดเลือดดำแทน
  • กำจัดปัจจัย หรือโรคร่วมที่อาจทำให้นำไปสู่การขาดวิตามินซี การรักษาในรูปแบบนี้มักจะรักษาร่วมกับการเพิ่มอาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นได้อีก 

ส่วนมากแล้วผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการเลือดออกตามไรฟันและอาการทางผิวหนังจะดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนร่องรอยเลือดออก หรือห้อเลือดจะค่อยๆ ดีขึ้นหลังจากนั้นหลายสัปดาห์

วิธีดูแลตนเอง เมื่อรู้ว่าเป็นโรคลักปิดลักเปิด

  1. พยายามรับประทานวิตามินซีเสริมอาหาร ตามคำแนะนำ หรือคำสั่งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 
  2. พยายามรับประทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงให้มากๆ เช่น ส้ม ฝรั่ง มะละกอ สับปะรด มะม่วง 
  3. พยายามเข้าพบแพทย์ตามนัด
  4. หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นอีก หลังจากที่ได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้ว หรืออาจมีอาการแย่ลงกว่าเดิม ควรรีบพบแพทย์ก่อนนัด

การป้องกันโรคลักปิดลักเปิด

สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่รับประทานผักและผลไม้ให้มากยิ่งขึ้น อาจรับประทานในทุกๆ มื้ออาหาร หรืออาจจะเลือกรับประทานในลักษณะของอาหารว่างก็ได้ หากใครอยากรับประทานวิตามินซีเพื่อป้องกันโรคลักปิดลักเปิดสามารถรับประทานวิตามินซีในปริมาณตั้งแต่ 500 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อวัน แต่การรับประทานวิตามินซีในปริมาณสูงเป็นระยะเวลานาน คุณควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรให้ดีเสียก่อน เนื่องจากอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง

ถึงแม้ว่าโรคลักปิดลักเปิดจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิต แต่หากป่วยด้วยโรคนี้แล้วไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ แต่คุณสามารถป้องกันตนเองได้ เพียงแค่รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Liliane Diab, Nancy F. Krebs, Vitamin Excess and Deficiency, Pediatrics in Review Apr 2018, 39 (4) 161-179; DOI: 10.1542/pir.2016-0068
Smith A, Di Primio G, Humphrey-Murto S. Scurvy in the developed world. CMAJ. 2011;183(11):E752–E755. doi:10.1503/cmaj.091938

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผลของวิตามินซีต่อภาวะข้ออักเสบ
ผลของวิตามินซีต่อภาวะข้ออักเสบ

จากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) กับโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

อ่านเพิ่ม