ลูกพูดช้า พ่อแม่ต้องกังวลไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลูกพูดช้า พ่อแม่ต้องกังวลไหม?

สำหรับพ่อแม่ที่มี ลูกพูดช้า การเอากบมาตบปากแบบโบราณนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุด ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้สาเหตุก่อนว่าการที่เด็กพูดช้านั้นมีสาเหตุจากอะไร และมีวิธีไหนที่รักษาอาการนี้ได้บ้าง

วิธีสังเกตว่า ลูกพูดช้า

  • เด็กอายุ 1 ปี  ควรจะพูดคำที่มีความหมายเพื่อบอกความต้องการได้ประมาณ 4-5 คำ เช่น หม่ำ ไป แม่ และทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น ยิ้มหวาน เดินมาหาคุณพ่อคุณแม่ได้
  • เด็กอายุ 1 ขวบครึ่ง ควรจะพูดคำที่มีความหมายได้ประมาณ 50-100 คำและเริ่มพูดคำ 2 พยางค์ เช่น แม่มา กินนม ไปเที่ยว รวมถึงการสื่อสารทางภาษากายที่ซับซ้อนมากขึ้นร่วมกับการพูด เช่น ทำท่าทางบอกด้วยการชี้ ดึง พยักหน้า ผลักตัว แสดงสีหน้าชัดเจนว่าเด็กรู้สึกอย่างไร
  • เด็กอายุ 2 ปี ควรจะเริ่มพูดเป็นประโยคสั้นๆ เช่น ไม่อาบน้ำ แม่ไปเซเว่น รวมไปถึงการทำตามคำสั่งได้ 2 ขั้นตอน เช่น เก็บตุ๊กตาแล้วไปใส่รองเท้า เป็นต้น
  • เด็กอายุ 3 ปี ควรจะพูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้แล้ว เช่น หนูอยากไปบ้านบอล หนูไม่กินแตงโม รวมทั้งเริ่มโต้ตอบและบอกเหตุผลง่ายๆ เช่น คุณแม่ถามลูกว่า “ทำไมหนูถึงไม่อยากไปโรงเรียนละลูก ลูกควรจะตอบได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ไม่อยากไปเพราะกลัวครูดุ และเล่าเรื่องง่ายๆผ่านการกระตุ้นถาม
  • เด็กอายุ 4-5 ขวบ ควรจะเล่าเรื่องง่ายๆได้ เช่น เล่นอะไรที่โรงเรียน ชอบเล่นอะไร ไม่ชอบใคร ใครแกล้งและพูดเป็นประโยคซับซ้อนได้แล้ว เช่น หนูไม่อยากไปนอนเพราะหนูอยากดูการ์ตูนและหนูยังไม่ง่วงด้วย

สาเหตุที่ทำให้ ลูกพูดช้า

  1. เด็กที่เป็นออทิสติก
  2. เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
  3. เด็กที่ขาดการกระตุ้นพัฒนาการ หรือเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ให้เล่นโทรศัพท์มือถือตั้งแต่เล็กๆ
  4. เด็กที่มีประสาทหูพิการ
  5. เด็กที่สมองพิการ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าทำไมลูกถึงไม่ยอมพูดสักที สิ่งแรกที่ต้องทำ คือพาลูกมาให้คุณหมอเด็กหรือหมอพัฒนาการเด็กทำการวินิจฉัยเบื้องต้น จากนั้นคุณหมอจะส่งต่อนักแก้ไขการพูดหรือทำการรักษาในขั้นต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีกระตุ้นการพูดของเด็กอายุ 0-7 ปี

  1. คุณพ่อคุณแม่คือของเล่นที่ดีที่สุดของลูก ในช่วงที่ลูกยังพูดไม่ได้ ยังเล่นของเล่นไม่ได้ ให้สังเกตว่าลูกสนใจอะไรและเข้าไปเล่นในสิ่งที่ลูกสนใจ ให้เล่นเหมือนเป็นเพื่อนกับลูก ไม่ควรใช้คำสั่งให้ลูกทำโน้นทำนี่เพราะลูกจะไม่รู้สึกสนุกด้วย ควรเล่นเป็นธรรมชาติ เมื่อเกิดความสนุก ลูกจะมองหน้า มองปากและเลียนแบบการพูดเอง คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกอย่างน้อย 70-90% ของเวลาที่ลูกตื่น
  2. เล่นตามธรรมชาติของเด็ก ไม่ควรจะบังคับหรือสอนเป็นคำๆ อย่างการเล่นไล่จับ ขายของ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนคำศัพท์ผ่านการเล่นได้ พร้อมกับสังเกตลูกไปด้วยว่าเขาสนใจอะไร หรือรู้สึกอะไรอยู่ รู้ถึงความต้องการของลูก และเล่นในจังหวะเดียวกันกับลูก เหมือนเด็กสองคนเล่นด้วยกัน
  3. ไม่ควรสอนแบบการท่องคำศัพท์ เนื่องจากในเด็กวัยนี้ควรจะต้องบูรณาการสมองให้ครบทุกด้าน (ภาษา ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม) ไปพร้อมๆ กัน หากสอนแบบจำ เด็กจะใช้สมองส่วนความจำเยอะ พัฒนาการจะกำจัดอยู่ด้านเดียว  ระหว่างเล่น ควรกระตุ้นให้ลูกคิดแก้ปัญหา เช่น เปิดฝาขวดไม่ได้ ทำอย่างไรดี หรือถามคำถามที่ให้ลูกคิด “หนูอยากเล่นอะไร” “วันนี้จะขายอะไร” คำถามที่ให้ลูกคิดเป็นคำถามที่เราไม่รู้คำตอบ ถามความเห็น ไม่ควรถามคำถามความจำมากเกินไป เช่น “สีอะไร มีกี่อัน”
  4. ไม่คาดหวังในตัวลูก ว่าลูกต้องเล่นแบบนั้นแบบนี้ ไม่จำกัดในการเล่นของเล่นแต่ละอย่าง
  5. คุณพ่อคุณแม่แค่ระวังความปลอดภัยในการเล่น ที่ไม่เป็นการทำลายข้าวของ การเล่นที่เป็นอันตรายต่อตัวลูกเองและคนอื่นๆ หากลูกไม่ยอมเล่นด้วย ตื้อลูกได้บ้าง แต่ไม่ควรเข้าไปแทรกแซงลูกจนกลายเป็นการบังคับ


สิยาพัฐ บุญช่วย เรียบเรียง
จากการสัมภาษณ์ คุณวรวรรณ วัฒนาวงศ์สว่าง ความชำนาญพิเศษ กระตุ้นพัฒนาการและจิตวิทยา โรงพยาบาลธนบุรี 2


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Carol Scheffner Hammer, Late Talkers: A Population-Based Study of Risk Factors and School Readiness Consequences (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5962923/)
Richard Trubo, Helping Your Late-Talking Children (https://www.webmd.com/baby/features/helping-your-late-talking-children#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้

วิธีการวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

อ่านเพิ่ม
เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร
เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร

วิธีประสบความสำเร็จสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

อ่านเพิ่ม
Learning Disorder (LD) คืออะไร?
Learning Disorder (LD) คืออะไร?

รู้จัก เข้าใจ เพื่อดูแลเด็ก LD ได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ไม่ต่างจากเด็กปกติ

อ่านเพิ่ม