ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

กระชายดำ ช่วยอะไร อันตรายไหม? ข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวัง

รวมข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวังของกระชายดำ พร้อมไขคำตอบว่ากินกระชายดำแล้วช่วยอะไร มีอันตรายหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กระชายดำ ช่วยอะไร อันตรายไหม? ข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวัง

กระชายดำ” เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาและได้รับความนิยมในการนำมาปรุงอาหารหลากหลายประเภท กระชายดำได้ฉายาว่า “โสมเมืองไทย” เนื่องจากอุดมด้วยสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะการช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.

ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE

ชื่อพ้อง Kaempferia rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle

ชื่อสามัญ Black galingale

ชื่อท้องถิ่น ขิงทราย (มหาสารคาม) กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หมายเหตุ : กระชายมีหลากหลายชนิด จึงทำให้เกิดความสับสนว่าเป็นชนิดเดียวกัน กระชายดำที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับกระชายเหลือง (Fingerroot) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda L. Mansf. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกระชายดำ

กระชายดำเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 40 เซนติเมตร ไม่มีลำต้นบนดิน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่สีเขียวเข้ม ท้องใบ และโคนก้านใบสีม่วงแดงและสีเขียวเข้มตลอดทั้งต้น ดอกเดี่ยวออกจากเหง้า โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อทรงกรวย ปลายแยกเป็นกลีบสีขาว ด้านในสีม่วง

ความแตกต่างระหว่างกระชายดำและกระชายเหลือง

เหง้าของกระชายดำจะมีลักษณะเป็นเหง้าทรงกลม ออกติดกันเป็นแพ มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นทรงกลม มีก้านเล็กยาว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีดำ รสและกลิ่นเผ็ดคล้ายพริกไทย แตกต่างจากเหง้าของกระชายเหลือง ซึ่งมีลักษณะเป็นเหง้าสั้นแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก จึงเรียกว่า “นมกระชาย” รากอวบรูปทรงกระบอกหรือกระสวย ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นเฉพาะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สรรพคุณของกระชายดำ

  • แพทย์ไทยโบราณกล่าวว่า ทั้งกระชายดำและกระชายเหลืองสามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากมีสรรพคุณใกล้เคียงกัน คือ มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดมวนในท้อง แก้อาการปวดบิดในลำไส้ แก้ท้องเสีย
  • ส่วนเหง้าของกระชายดำ แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำหนัด บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย สรรพคุณคล้ายโสมและกระชายเหลือง
  • แก้มือเท้าเย็น ชาตามปลายมือปลายเท้า บำรุงประสาท
  • แก้ตานทรางในเด็ก (โรคที่พบในเด็กเล็ก พบเป็นเม็ดขึ้นในช่องปากและลำคอ)
  • ตามสรรพคุณยาโบราณกล่าวว่า กระชายมีรสเผ็ดร้อนขม แก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล
  • แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะพิการ โดยใช้หัวปิ้งให้สุก รับประทานกับน้ำปูนใส แก้บิด แก้ปวดมวน

แนวทางการใช้กระชายดำเพื่อสุขภาพ

  • สมัยโบราณนำเหง้าของกระชายดำมาล้างให้สะอาด จากนั้นผึ่งแดดจนกลายเป็นเหง้าแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง จากนั้นจึงเทน้ำผึ้งใส่เล็กน้อย แล้วปั้นเป็นเม็ดลูกกลอน นำมารับประทานเพื่อบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด และเป็นยาอายุวัฒนะ
  • นำเหง้ากระชายแห้งบดเป็นผง แล้วกวาดคอเด็กที่เป็นเป็นเม็ดขึ้นในช่องปากและลำคอ
  • โบราณนำเหง้ากระชายมาปอกเปลือกให้เหลือแต่เนื้อใน จากนั้นนำมาปิ้งไฟให้พอสุก แล้วแช่ในน้ำสุรา โบราณเรียก “เหล้าโรง” หรือ “เหล้า 40 ดีกรี” 1 คืน จากนั้นหมกในข้าวเปลือกไว้ 3 คืน นำเหง้ามาบีบเอาน้ำหยอดใส่ตา แก้โรคตาฝ้าฟาง ตามัว
  • กรณีมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ นำเหง้ากระชายมาสับเป็นแว่น ตำ หรือปั่นให้ละเอียด นำมากรองหรือคั้นเอาแต่น้ำ ดื่มเป็นน้ำกระชาย จะช่วยบรรเทาอาการปวดมวนท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • กรณีท้องเสีย และปวดบิดในลำไส้ นำเหง้ากระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใส คนให้เข้ากันแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง

การปรุงอาหาร

เหง้ากระชายดำมีรสและกลิ่นเผ็ดคล้ายพริกไทย จึงนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของอาหารอีกหลายชนิดเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า เป็นต้น เมนูยอดนิยมที่ทุกคนนึกถึงกระชาย นั่นก็คือ เมนูผัดฉ่าที่มีกลิ่นกระชายนำ

กระชายดำสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือไม่

จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณสมรรถภาพทางเพศของกระชายดำ พบว่าสารสกัดจากเหง้ามีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของสัตว์ทดลอง และสามารถเพิ่มขนาดของอวัยวะเพศของสัตว์ได้ ส่วนการศึกษาในคนพบว่า สารสกัดมีผลเพิ่มการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศ โดยเพิ่มขนาดและความยาวขององคชาติ ลดระยะเวลาในการหลั่งน้ำกาม ทำให้หลั่งน้ำกามเร็วขึ้น และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาสนับสนุนสรรพคุณพื้นบ้านของกระชายดำ

ข้อควรระวังการใช้กระชายดำ

แม้จะมีข้อมูลรายงานการวิจัยว่ามีผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริง แต่การศึกษาในคนยังมีจำนวนไม่มาก จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีบางรายงานที่ระบุว่า การรับประทานกระชายดำในปริมาณมากไปทำให้ตับเกิดความผิดปกติได้ ดังนั้นผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับจึงควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ไม่ควรใช้ในเด็กหรือสตรีมีครรภ์ เนื่องจากยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ทางที่ดีควรรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ใช้สมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อรัญญา ศรีบุศราคัม, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย, 2560.
เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, ไม้เทศเมืองไทย, 2522.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, เครื่องยาไทย 1, 2552.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
กระชายดำ
กระชายดำ

รวมข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวังของกระชายดำ พร้อมไขคำตอบว่ากินกระชายดำแล้วช่วยอะไร มีอันตรายหรือไม่

อ่านเพิ่ม