กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

วิธีป้องกันโรคผมร่วง ทำด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

รวมวิธีป้องกันโรคผมร่วงที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 6 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วิธีป้องกันโรคผมร่วง ทำด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคผมร่วงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งพันธุกรรม ความเครียด ศีรษะได้รับอุบัติเหตุ การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
  • วิธีป้องกันการเกิดโรคผมร่วงมีอยู่หลายอย่าง ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรับประทานวิตามินช่วยบำรุงเส้นผม
  • การลดความเครียดเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยให้โรคผมร่วงดีขึ้นเพราะมีส่วนทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงและทำให้ผมหลุดร่วง 
  • การย้อมสีผม เสริมสวยด้วยการไดร์ผม ดัดผม ใช้ความร้อน สารเคมี มีส่วนทำให้เกิดโรคผมร่วง ซึ่งวิธีป้องกัน คือ การเว้นระยะในการทำ หรือเปลี่ยนไปทำผมสีธรรมชาติแทน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง

ผมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจและเสริมภาพลักษณ์ของเราทุกคนให้ดูสวย-หล่อมีความสมบูรณ์ ดังนั้นไม่ว่าใครก็ต้องอยากมีเส้นผม และปริมาณผมบนศีรษะที่หนา เพื่อช่วยเสริมบุคลิกภาพให้กับตนเอง

แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็ต้องเผชิญกับโรคผมร่วง (โดยปกติคนเรามีผมร่วงได้ 50-100 เส้นต่อวัน) ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต แต่ส่งผลถึงปริมาณเส้นผมบนศีรษะของแต่ละคนที่จะน้อยลงไปจนอาจกลายเป็นศีรษะล้านในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพื่อที่ทุกคนจะได้ไม่ต้องพบเจอกับโรคซึ่งบั่นทอนความมั่นใจในเส้นผมของตนเอง มาดูกันว่า เราสามารถป้องกันการเกิดโรคผมร่วงได้อย่างไรบ้าง

ความหมายของโรคผมร่วง

โรคผมร่วง (Alopecia หรือ Hair Loss) หมายถึง โรคที่เส้นผมของผู้ป่วยเริ่มหลุดร่วงก่อนวัยอันควรจนเห็นหนังศีรษะ และทำให้ปริมาณผมบางน้อยลง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • พันธุกรรม
  • การแปรปรวนของฮอร์โมน
  • ความเครียด
  • การรักษาพยาบาล เช่น การฉายรังสี การรับประทานยาบางชนิด
  • การได้รับอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อหนังศีรษะ เช่น โรคฝีหนอง โรคซิฟิลิส โรคไต โรคตับ มีแผลผ่าตัดใหญ่
  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
  • การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากเกินไป
  • การทำผมโดยใช้ความร้อนจากไดร์เป่าผม หรือสารเคมีมากเกินไป

วิธีป้องกันโรคผมร่วง

คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคผมร่วงได้

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

สารอาหารหลายประเภทมีส่วนสำคัญในการบำรุงเส้นผมและรากผมให้แข็งแรง ซึ่งโดยหลักๆ คือ โปรตีน เพราะเส้นผมของคนเราสร้างมาจากสารโปรตีนชื่อว่า “เคราติน (Keratin)”

ดังนั้นการรับประทานโปรตีนเพื่อเสริมให้สารเคราตินเพียงพอต่อร่างกาย จึงช่วยให้เส้นผมแข็งแรงขึ้นได้ คุณสามารถรับประทานอาหารที่มีโปรตีนได้จากอาหารประเภทนม ถั่ว ไข่ และเนื้อสัตว์

นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ก็สามารถช่วยให้เส้นผมแข็งแรงขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรับประทานไขมันปลา (Fatty Fish) อย่างไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ในปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีนก็มีส่วนช่วยให้เส้นผมแข็งแรง เป็นสารอนุมูลอิสระอีกชนิดที่ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้

นอกจากอาหารทะเลอย่างปลาแล้ว หอยนางรม (Oyster) ก็เป็นอาหารทะเลอีกชนิดซึ่งอุดมไปด้วยธาตุสังกะสี (Zinc) มีประโยชน์ต่อการบำรุงซ่อมแซมเส้นผมที่เสียให้กลับมาแข็งแรง ไม่หลุดร่วงได้ง่าย แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น

2. รับประทานวิตามินที่ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง

วิตามินหลายชนิดมีส่วนช่วยบำรุงเส้นผมและรากผมให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เส้นผมเส้นใหม่งอกขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำให้หนังศีรษะบางอีกด้วย โดยเฉพาะวิตามินเอซึ่งเป็นวิตามินของสารเรตินอยด์ (Retinoid) สามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตของผมเส้นใหม่

วิตามินเอยังช่วยลดปัญหาความมันของเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้ผมดูสุขภาพดีขึ้นด้วย โดยวิตามินเอมักแฝงอยู่ในอาหารประเภทมันฝรั่ง ผักโขม หรือพริกหวาน

นอกจากวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอีซึ่งขึ้นชื่อว่า เป็นวิตามินบำรุงดูแลผิวพรรณ ก็เป็นวิตามินอีกชนิดที่ช่วยป้องกันโรคผมร่วงได้เพราะถือเป็นวิตามินสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยป้องกันผมจากสิ่งสกปรก หรือมลภาวะที่มาทำลายเส้นผม รวมถึงสารอนุมูลอิสระในร่างกายที่ทำให้ผมอ่อนแอลง

ร่างกายของคนเรายังใช้วิตามินซีในการผลิตคอลลาเจน เพื่อทำให้ผมมีน้ำหนัก ดูสวยเงางาม และแข็งแรงไม่ขาด หรือหลุดร่วงง่ายด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อีกวิตามินสำคัญที่ช่วยบำรุงเส้นผมก็คือ สารไบโอติน (Biotin) หรือวิตามินเอช ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยให้วงจรการเติบโตของเส้นผมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสการเกิดปัญหาผมร่วง

ปัจจุบันมีบริการตรวจระดับวิตามินและสารแอนติออกซิแดนท์ในร่างกาย เพื่อให้รู้ว่า ร่างกายยังขาดวิตามินและสารแอนตีออกซแดนท์อะไรบ้าง หรือมีชนิดไหนสะสมมากเกินไป 

3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การขาดสารน้ำในร่างกายจะทำให้ผมแตกแห้ง และง่ายต่อการขาด หรือหลุดร่วง คุณจึงจำเป็นต้องดื่มน้ำไม่ต่ำกว่า 4-8 แก้วต่อวัน เพื่อให้ร่างกายมีสารน้ำเพียงพอ และคงความชุ่มชื้นให้กับเส้นผม

4. ลดความเครียด

ความเครียดมีส่วนทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดหลั่งออกมามากกว่าเดิม ซึ่งฮอร์โมนนี้นอกจากจะทำให้อารมณ์ไม่มั่นคงแล้ว ยังมีส่วนทำให้ผมร่วงได้ง่ายด้วย

หากรู้สึกเครียดและไม่สามารถจัดกับภาวะนี้ได้ ควรหาคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้น หรือหากไม่สบายใจจะพูดกับใคร ก็สามารถปรึกษาเกี่ยวกับภาวะเครียดกับจิตแพทย์ได้

5. หมั่นสระผม

แต่ต้องอยู่ในความถี่ที่เหมาะสม โดยควรอยู่ที่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ 2-3 ครั้งสำหรับผู้ที่ผมมันง่าย หลายคนอาจคิดว่า การสระผมนานๆ ครั้ง หรือทิ้งไว้เป็นสัปดาห์จะไม่ทำให้ผมหลุดร่วง แต่ก็ลืมว่า การหมักหมมของน้ำมันบนหนังศีรษะ ฝุ่นละออง สิ่งสกปรกที่เผชิญระหว่างวัน ก็เป็นตัวการที่ทำให้ผมร่วงได้

คุณอาจสระผมบ่อยขึ้นแต่ใช้แชมพูสระผมอ่อนๆ หรือในปริมาณที่เล็กน้อยได้ เพื่อคงความสะอาดของหนังศีรษะเอาไว้

นอกจากนี้การสระผม การลองหมักผมด้วยน้ำมันมะพร้าว (Coconut oil) ยังช่วยมีส่วนช่วยป้องกันผมจากแสงยูวี และสารเคมีจากอุปกรณ์ตกแต่งทรงผมด้วย 

การนวด หรือหมักน้ำมันมะพร้าวบนหนังศีรษะ ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบนหนังศีรษะได้ดีและกระตุ้นให้ผมเส้นใหม่งอกเร็วขึ้น

6. ไม่ย้อมสีผมบ่อยๆ

ผู้ที่ย้อมสีผม หรือกัดสีผมบ่อยๆ มีโอกาสสูงที่เส้นผมจะอ่อนแอจนขาด และร่วงง่ายขึ้น ทางที่ดีหากชอบย้อมผม ควรเว้นระยะเวลาในการย้อมให้ผมได้พักจากการรับสารเคมีบ้าง

นอกจากการย้อมสีผมแล้วยังรวมไปถึงการไดร์ผม ดัดผม ซึ่งต้องใช้ความร้อน น้ำยาเคมีอื่นๆ ในการทำผม ซึ่งมีโอกาสที่ผมจะเสียและหลุดร่วงได้ง่าย คุณจึงควรมีการเว้นระยะห่างในการเสริมสวยเกี่ยวกับเส้นผมบ้าง

อย่างไรก็ตาม โรคผมร่วงยังสามารถเป็นโรคแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวอื่นๆ ได้ และเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ยากจะหลีกเลี่ยง หากคุณปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้แล้วยังมีอาการผมร่วงอยู่ แต่ยังไม่สะดวกไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เกี่ยวกับผมร่วง ผมบาง และการปลูกผมแล้ว

หรือหากมีเวลามากพอ ต้องการให้แพทย์เห็นอาการผมร่วงอย่างใกล้ชิด สามารถเดินทางให้ไปปรึกษาแพทย์ด้วยตนเองเพื่อขอรับคำแนะนำในการรักษาโรคผมร่วงต่อไป 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ryan Ramans, The 14 Best Foods for Hair Growth (https://www.healthline.com/nutrition/foods-for-hair-growth), 13 November 2020.
NHS, Hair loss (https://www.nhs.uk/conditions/hair-loss/), 25 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคกลาก สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน
โรคกลาก สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

กลาก โรคติดต่อทางผิวหนังที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่สามารถรักษาและป้องกันได้ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

อ่านเพิ่ม