สะระแหน่ (Kitchen Mint, Lemon Balm)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สะระแหน่ (Kitchen Mint, Lemon Balm)

สะระแหน่ เป็นผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงถูกนำมาประกอบอาหาร และใช้เป็นสมุนไพรเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สะระแหน่สามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักสะระแหน่

สะระแหน่ (Kitchen Mint, Lemon Balm) เป็นพืชวงศ์เดียวกับมินต์ และกะเพรา ลักษณะของใบสะระแหน่จะใบป้อมๆ สีเขียว ค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบ ภายในใบเป็นคลื่น มีกลิ่นหอมจางๆ คล้ายกับกลิ่นเลมอน เมื่อทานแล้วจะให้ความรู้สึกเย็นในปาก จึงนิยมนำมาเคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปากด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางอาหารของสะระแหน่

สะระแหน่ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 แคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

โปรตีน 3.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม เหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามิน B1 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.29 มิลลิกรัม วิตามิน C 88 มิลลิกรัม วิตามิน A 16,585 I.U.

สรรพคุณของสะระแหน่

สะระแหน่มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. ขับลมในกระเพาะอาหาร สารเมนทอลในสะระแหน่ มีฤทธิ์ขับลม และลดอาการหดเกร็งของลำไส้ จึงช่วยให้แก๊ส หรือลมในกระเพาะอาหาร สามารถขับออกมาได้ง่ายขึ้น
  2. ช่วยลดอาการปวดจากการให้นมลูก จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Breastfeeding ในปี พ.ศ.2550 ได้ระบุว่า การทาน้ำมันสกัดจากสะระแหน่ช่วยลดรอยแตกของหัวนมและอาการปวดที่เกิดจากการให้นมบุตรได้
  3. ลดการเกิดสิวและรักษาผื่นคัน น้ำมันสะระแหน่ เป็นสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้รักษาอาการติดเชื้อและบรรเทาอาการคันตามผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดสิวและช่วยบรรเทาอาการอักเสบจากสิวอีกด้วย
  4. ช่วยป้องกันการสูญเสียความจำ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ระบุว่า คนที่เคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของสะระแหน่ จะมีระดับการเก็บรักษาหน่วยความจำและการเตรียมพร้อมจิตใจที่มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่เคี้ยวหมากฝรั่งเลย
  5. ช่วยดูแลสุขภาพในช่องปาก สะระแหน่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และความเย็นของเมนทอลจะทำให้รู้สึกสดชื่น จึงดีต่อสุขภาพช่องปากเป็นอย่างยิ่ง
  6. ลดการติดเชื้อในร่างกาย สะระแหน่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค จึงช่วยป้องกันอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการขับเหงื่อ จึงช่วยให้หายจากไข้หวัดได้เร็วขึ้น
  7. ลดภาวะซึมเศร้าและความเมื่อยล้า จากงานวิจัยในปี พ.ศ.2557 ระบุว่า การใส่สะระแหน่ในอาหาร จะช่วยลดความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า หดหู่ หรืออ่อนเพลีย และถ้าหากนำน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่มาทาลงไปบนหมอนในตอนกลางคืนแล้วสูดดม จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อนเต็มที่
  8. ช่วยบำรุงสมอง จากงานวิจัยพบว่ากลิ่นหอมของน้ำมันสะระแหน่ ทำให้เกิดการปรับปรุงหน่วยความจำในสมอง หากดมกลิ่นน้ำมันสะระแหน่ในขณะขับรถจะช่วยลดระดับความหงุดหงิด ลดความวิตกกังวล และลดความเมื่อยล้าได้เป็นอย่างดี
  9. ลดอาการ PCOS รายงานผลการศึกษาบางฉบับระบุว่า สะระแหน่ช่วยลดอาการของโรค PCOS หรือภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ซึ่งเกิดจากผู้หญิงที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ เนื่องจากสะระแหน่มีฤทธิ์ต้านแอนโดรเจน จึงช่วยให้ฮอร์โมนกลับมาสมดุล

ไอเดียการใช้สะระแหน่เพื่อสุขภาพ

สะระแหน่นำมาใช้เพื่อสุขภาพได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสะระแหน่มาตำ หรือบดให้ละเอียด แล้วนำไปทาหรือพอกบริเวณที่ถูกสัตว์หรือแมลงกัด จะช่วยแก้พิษและบรรเทาอาการปวดได้

เมนูสุขภาพจากสะระแหน่

ยกตัวอย่างเช่น

  1. ผัดถั่วลันเตาสะระแหน่ ใส่น้ำในกระทะขนาดใหญ่ ใส่ถั่วลันเตาและน้ำตาลลงไป ต้มให้สุกและเคี่ยวให้แห้งจนถั่วลันเตามีความมันบริเวณผิว เทน้ำออกให้หมด ใส่เนยลงไปผัดและใส่สะระแหน่เป็นขั้นตอนสุดท้าย ผัดให้เข้ากัน
  2. เมลอนมินต์สลัด นำน้ำผึ้ง น้ำมะนาว ผักชี สะระแหน่ และน้ำตาล ใส่ลงไปในชาม เติมเมลอนลงไป คนให้เข้ากันแล้วนำไปแช่เย็นอย่างน้อยสองชั่วโมงจึงนำไปรับประทาน
  3. ชาเย็นสะระแหน่มะนาว นำน้ำไปต้มให้สุก เติมน้ำตาลแล้วคนให้ละลาย ใส่ถุงชาและสะระแหน่ลงไป แล้วนำไปให้ความร้อนต่อเป็นเวลา 30 นาที นำถุงชาและสะระแหน่ออกมา ใส่น้ำมะนาว เทใส่แก้ว เติมน้ำแข็ง

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันสะระแหน่ที่สามารถแตกตัวในลำไส้ได้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนบริเวณทวารหนักอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่ทานยาที่มีผลต่อตับ เช่น ไดโคลฟีแนค ไอบูโพรเฟน ไดอะซีแพม ไพล็อกซิแคม คีโตโคนาโซล ไตรอาโซแลม เป็นต้น ไม่ควรทานน้ำมันสกัดจากสะระแหน่ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อตับ และอาจทำให้ไม่ได้รับประสิทธิภาพจากยาเท่าที่ควร

ที่มาของข้อมูล

Cathy Wong, The Many Uses for Lemon Balm (https://www.verywellhealth.com/the-health-benefits-of-lemon-balm-89388), 3 December 2018

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Emily Cronkleton, 10 Benefits of Lemon Balm and How to Use It (https://www.healthline.com/health/lemon-balm-uses), 10 August 2017

Michael Jessimy, 13 Amazing Health Benefits of Lemon Balm (https://www.naturalfoodseries.com/13-benefits-lemon-balm/), 10 December 2018

Rebekah Edwards, 9 Lemon Balm Benefits + Natural Uses for Home & Health (https://draxe.com/lemon-balm/), 13 July 2017

ฉลาดซื้อ, สะระแหน่ แก้ปวด (https://www.chaladsue.com/article/1581)

พืชเกษตร, สะระแหน่ สรรพคุณ และการปลูกสะระแหน่ (https://puechkaset.com/สะระแหน่), 31 มกราคม 2016

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, ชาสมุนไพรบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม คลื่นไส้อาเจียน (http://www.medplant.mahidol.ac.th/events/25570807/document_02.pdf)


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lemon Balm: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-437/lemon-balm)
Lemon Balm: Uses, Benefits, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/lemon-balm-uses)
Verma PPS, et al. (2015). Lemon balm (Melissa officinalis L.) an herbal medicinal plant with broad therapeutic uses and cultivation practices: A review. (https://www.researchgate.net/publication/285581177_LEMON_BALM_MELISSA_OFFICINALIS_L_AN_HERBAL_MEDICINAL_PLANT_WITH_BROAD_THERAPEUTIC_USES_AND_CULTIVATION_PRACTICES_A_REVIEW)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)