กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเปลี่ยนไต

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเปลี่ยนไต

ทราบหรือไม่ว่า  คนเราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าขาด ไต” (Kidney)  เพราะไตทำหน้าที่ในการกรองของเสียให้กับเลือด เพื่อส่งเลือดดีไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับไต จะกระทบและส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในอื่นๆ จนทำให้อวัยวะภายในทำงานล้มเหลวได้ ดังนั้น การดูแลและถนอมไตให้อยู่กับเรานานๆ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมากๆ กับ การดูแลอวัยวะสำคัญอื่นๆ ในร่างกายเช่น หัวใจ ปอด เป็นต้น

ทำไมต้องเปลี่ยนไต     

การเปลี่ยนไต หรือ การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)  คือ การรักษาผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย ที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนไต หรือ ปลูกถ่ายไตใหม่เพื่อให้ร่างกายสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การเปลี่ยนไต นั้น จะทำได้ต่อเมื่อ ไตที่มีการบริจาค สามารถเข้าได้กับ ไตของผู้ป่วยเท่านั้น  ไตใหม่ที่ใส่เข้ามาแทนที่จึงจะสามารถทำงานทดแทนไตเดิมได้ โดยไตที่ได้รับมาเพื่อปลูกถ่าย หรือ เปลี่ยนใหม่ นั้น ได้แก่ ไตที่มีผู้บริจาค หรือ ผู้ที่เสียชีวิตแล้ว เป็นไตที่ผ่านการตรวจสอบว่า สามารถทำงานได้และ เนื้อเยื่อเข้ากันได้กับผู้ป่วยที่จะปลูกถ่ายไต

การเปลี่ยนไตทำอย่างไร

โดยปกติแล้ว คนเราจะมีไต 2 ข้าง ในครอบครัวเดียวกันส่วนใหญ่เนื้อเยื่อหรือพันธุกรรมของพ่อแม่ และลูก ที่สืบสายโลหิตเดียวกัน จะคล้ายคลึงกัน การบริจาคไต ระหว่างเครือญาติ จึงมีโอกาสที่เนื้อเยื่อของไตจะเข้ากันได้สูงกว่า ไตที่บริจาคโดยผู้อื่น

สำหรับผู้ที่สุขภาพแข็งแรง การมีไต 1 ข้าง  แทบจะไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่แข็งแรงและมีไตเพียง 1 ข้างสามารถทำงานได้ตามปกติ  เพราะโดยปกติ ไตเพียง 1 ข้างก็สามารถทำหน้าที่กรองของเสีย ปรับสมดุลในร่างกายได้ ยกเว้น เมื่อเกิดการเจ็บป่วยที่ส่งผลกระทบต่อไต จึงจะทำให้การทำงานของไตเปลี่ยนแปลงไป และลดประสิทธิภาพลง

โดยปกติ การรักษาผู้ป่วยไตวายจะมี 3 วิธี คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางหน้าท้อง และ การปลูกถ่ายไต

ดังนั้น “การเปลี่ยนไต” หรือ “การปลูกถ่ายไต”  จึงพิจารณาดังนี้

  1. ผู้ที่ต้องการปลูกถ่ายไต จะต้องเป็นผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
  2. เป็นการรักษาโรคไตวายเรื้อรังที่ต้นเหตุ เป็นการรักษาโรคไตวายแบบถาวร
  3. การเปลี่ยนไต จะทำเมื่อมีผู้ประสงค์บริจาคไต (ภายใต้กฎหมายยอมรับ) โดยผู้บริจาคต้องมีกรุ๊ปเลือด เดียวกับผู้รับบริจาค
  4. การเปลี่ยนไตจะมีความสำเร็จสูงถ้า ผู้รับบริจาค และผู้บริจาค มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ลุง ป้า น้า อา หลาน ทั้งนี้ เนื้อเยื่อของทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเข้ากันได้โดยมีความเหมือนอย่างน้อย ครึ่งหนึ่ง
  5. ถ้าเป็นการบริจาคไต ระหว่าง สามี-ภรรยา จะต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรสอย่างน้อย 3 ปี นับจากวันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าไตวายเรื้อรัง และรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือ ล้างไตทางหน้าท้อง แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะต้องมีลูกร่วมกัน โดยอายุลูกต้องไม่น้อยกว่า 2 ปี และต้องมีการพิสูจน์ความเป็นสายเลือดลูกนอกสมรส
  6. การบริจาคไตที่ผู้บริจาคไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับผู้รับบริจาค ผู้บริจาคจะต้องได้รับการตรวจร่างกายและจิตใจว่าสมบูรณ์ ยินยอมและสมัครใจบริจาค ไม่มีโรคประจำตัวที่ได้รับผลกระทบต่อการบริจาคไต ไม่เป็นไปเชิงพาณิชย์ และไม่มีเชื้อหรือโรคที่สามารถติดต่อได้ทางไตที่บริจาค
  7. การบริจาคไต สำหรับผู้ที่เสียชีวิต จะต้องได้รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่า สมองตายแล้ว หรือ เสียชีวิตแล้วเท่านั้น โดยที่สภาพของไตยังสามารถทำงานได้ตามปกติ และญาติผู้บริจาคต้องเซ็นต์ยินยอมเป็นหลักฐานเท่านั้น

ทราบเงื่อนไขและข้อพิจารณาในการเปลี่ยนไตแล้ว สำหรับผู้ที่ได้รับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การบริจาคไตนั้น จะต้องมีการดูแลสุขภาพเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ไตที่ได้รับบริจาคสามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนี้

การดูแลสุขภาพหลังเปลี่ยนไต

ผู้ที่ได้รับการบริจาคไตนั้น จะต้องมีการดูแลสุขภาพ  ดังนี้

  1. ผู้รับบริจาคไตทุกชนิดต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดเพื่อป้องกันการต่อต้านไตใหม่ของร่างกาย
  2. ในช่วงการผ่าตัดเปลี่ยนไตอาจมีความเสี่ยงระหว่างการผ่าตัด และไตที่เปลี่ยนอาจถูกร่างกายปฏิเสธได้ ถึงแม้จะมีกรุ๊ปเลือด หรือ มีสายโลหิตเดียวกัน
  3. ร่างกายอาจต่อต้านการรักษา และผลข้างเคียงจากการใช้ยากดภูมิสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรืออาจเป็นโรคกระดูก มะเร็งได้ (แต่อาจพบได้น้อย)
  4. ต้องดูแลสุขภาพอย่างเคร่งครัด ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดอาหารเค็ม หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสมุนไพรทุกชนิดนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ตรวจสุขภาพตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  5. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อไตที่เหลืออยู่เพียงข้างเดียวได้

ทราบหลักการกว้างๆ ในการดูแลตนเองหลังเปลี่ยนไตแล้ว ผู้ที่จะทำการบริจาคไต หรือ ผู้ที่ต้องการรับบริจาคไตจะต้องศึกษาและทำความเข้าใน เรื่องการเปลี่ยนไต หรือ การปลูกถ่ายไต ก่อนตัดสินใจอย่างละเอียด เพราะปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนไตนั้น มีข้อจำกัดอย่างมาก เนื่องจากจำนวนผู้บริจาคมีน้อยกว่าความต้องการอย่างมาก และค่าใช้จ่ายและผลข้างเคียงยังสูงเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ดังนั้น การดูแลสุขภาพ และการดูแลปกป้องไตของเราทุกคนจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากกว่า เพื่อรักษาไตของเราให้แข็งแรงและอยู่กับเรานานๆ  เพราไตช่วยให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์และรักษาสมดุลของร่างกาย และช่วยให้ชีวิตเรายืนยาวได้ต่อไป

 

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

 

 

 

 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus.gov, Kidney transplantation (https://medlineplus.gov/kidneytransplantation.html)
healthline.com, Kidney transplantation (https://www.healthline.com/health/kidney-transplant), May 31, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป