อาการร้อนตามข้อต่อ (Warm joints)

อาการร้อนตามข้อต่อ มักเกิดจากโรคข้ออักเสบ แต่บางกรณีก็อาจเกิดจากภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเทียม
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการร้อนตามข้อต่อ (Warm joints)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการอุ่นหรือร้อนตามข้อต่อ คือการจับที่ข้อต่อข้อใดข้อหนึ่งแล้วรู้สึกร้อน หรือรู้สึกว่าบริเวณนั้นอุ่นกว่าผิวรอบข้างอย่างเห็นได้ชัด การเกิดความร้อนที่ข้อต่อ มักบ่งบอกว่าข้อต่อนั้นมีปัญหา โดยมักจะเกิดพร้อมกับอาการบวมแดง ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติหรือโรคทางการแพทย์ได้มากมาย เช่น โรคข้ออักเสบ และการบาดเจ็บบริเวณนั้น

สาเหตุของอาการร้อนตามข้อต่อ

อาการร้อนตามข้อ มักเกิดจากโรคข้ออักเสบ และโรคอื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ข้ออักเสบ (Arthritis) : เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดข้อที่พบบ่อยที่สุด แบ่งออกเป็น 2 โรคหลัก คือ
    • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis (OA)) : เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อกันกระแทกระหว่างข้อต่อเริ่มสลายตัวและฝ่อลง ทำให้ข้อต่อที่ได้รับผลกระทบมีอาการอักเสบ บวมแดง และร้อน
    • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) : เป็นโรคแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune Disease) ชนิดหนึ่ง เกิดจากเซลล์ภูมิคุ้มกันของตัวเองโจมตีเซลล์ในข้อต่อ ทำให้เกิดอาการข้อต่อบวม ข้อต่อร้อน และรู้สึกเมื่อยล้ามากกว่าปกติ
  • โรคอื่น ๆ ได้แก่
    • ถุงข้อต่ออักเสบ (Bursitis) : ภาวะที่ของเหลวในถุงข้อต่อเกิดการอักเสบ โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า
    • โรคเกาต์ (Gout) : โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริคในร่างกาย
    • โรคไลม์ (Lyme Disease) : การติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากการโดนเห็บกัด
    • ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) : ปฏิกิริยาการอักเสบที่ร่างกายตอบสนองต่อแบคทีเรียกลุ่มหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเจ็บลำคอ (Strep Throat)
    • โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Anemia) : กลุ่มโรคที่มีผลต่อรูปร่างของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง
    • โรคเอ็นศอกอักเสบ (Tennis Elbow) : การบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไปของเอ็นที่ยึดข้อต่อข้อศอกของคุณ

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

อาการร้อนตามข้อต่อไม่ได้มีความรุนแรง และไม่ได้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดการติดเชื้อภายในข้อต่อได้

  • มีผิวหนังฉีกขาดร่วมด้วย
  • เป็นไข้ หนาวสั่น
  • ปวดข้อแบบเฉียบพลัน
  • ปวดข้ออย่างรุนแรง
  • ไม่สามารถขยับข้อต่อได้เลย

การวินิจฉัยอาการร้อนตามข้อต่อ

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายบริเวณข้อต่อ ด้วยการขยับและสัมผัสเพื่อดูปัญหาที่เกิดขึ้น หากแพทย์สงสัยว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ก็อาจมีการตรวจเลือดเพื่อหาสาร Rheumatoid Factor ในเลือด ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่พบได้ในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์

ในบางกรณี แพทย์เจาะน้ำไขข้อ (Synovial Fluid) เพื่อวินิจฉัยว่ามีแบคทีเรีย เกล็ดนิ่ว หรือไวรัสใดที่ทำให้ข้อต่อร้อนและเกิดการอักเสบ

การรักษาอาการร้อนตามข้อต่อ

การรักษาอาการร้อนตามข้อต่อ สามารถรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้ หากมีอาการไม่รุนแรง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ประคบเย็นเพื่อบรรเทาการอักเสบ หรือประคบร้อนเพื่อช่วยให้ยืดเหยียดได้มากขึ้น ควรประคบอย่างน้อยครั้งละ 20 นาที และไม่ควรประคบลงบนผิวหนังโดยตรง
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดแรงดันต่อข้อต่อลงได้
  • ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ เช่น การเดินเร็ว หรือว่ายน้ำ
  • ทานยาแก้ปวด หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Naproxen sodium และ Ibuprofen ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ
  • พักการใช้ข้อต่อบริเวณที่เจ็บปวด

หากอาการปวดร้อนตามข้อต่อไม่ดีขึ้นภายหลังจากการรักษาที่บ้านแล้ว หรืออาจเกิดจากโรคบางอย่าง แพทย์อาจจ่ายยาสำหรับรับประทาน และอาจแนะนำให้ใช้การรักษาแบบ Invasive Treatment ได้แก่ การฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ ซึ่งถ้าหากยังไม่ดีขึ้นอีก ก็อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเทียม

ที่มาของข้อมูล

Rachel Nall, RN, BSN, What Causes Warm Joints? (https://www.healthline.com/health/joints-warm), March 27, 2019.


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Joint pain. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/joint-pain/)
Causes of Warm or Hot Joints and When to See a Doctor. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/causes-of-warm-or-hot-joint-189341)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป