ภาวะเหลืองในทารกคลอดก่อนกำหนด

สาเหตุ การรักษา และผลของภาวะเหลืองในทารกคลอดก่อนกำหนด
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะเหลืองในทารกคลอดก่อนกำหนด

ภาวะเหลืองคืออะไร ?

ภาวะเหลืองเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่สุดในทารก ทั้งทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกที่คลอดครบกำหนด ภาวะเหลืองคือภาวะที่สีผิวและสีตามีสีเหลืองมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกและบิลลิรูบิน ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงเกิดมากขึ้นในร่างกาย

แต่ในเด็กบางราย ภาวะเหลืองก็รุนแรงกว่านั้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลที่ร้ายแรงตามมาได้

ทำไมภาวะเหลืองจึงเป็นอันตราย ?

ทารกส่วนใหญ่สามารถขจัดบิลลิรูบินได้ง่ายและขับออกทางอุจจาระก่อนที่จะสะสมมากเกินไปในร่างกาย แต่ในทารกบางรายมีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงเร็วกว่าปกติ หรือไม่สามารถกำจัดบิลลิรูบินออกไปได้อย่างเหมาะสม ในทารกเหล่านี้ บิลลิรูบินจะสะสมจนถึงระดับที่เป็นอันตรายในกระแสเลือด

เมื่อมีบิลลิรูบินในเลือดมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองอย่างร้ายแรงที่เรียกว่า kernicterus ซึ่งมักพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่ป่วยมาก หรือทารกที่มีภาวะหมู่เลือดไม่เข้ากัน (blood type incompatibility) ในระดับรุนแรง ภาวะนี้พบได้ยากมากในทารกคลอดครบกำหนดที่มีสุขภาพดี แต่หากเกิดภาวะนี้แล้ว สามารถทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวได้ เช่น

คุณจะเห็นได้ว่า kernicterus เป็นปัญหาที่ร้ายแรง

หากลูกวัยทารกของคุณมีระดับบิลลิรูบินสูงมาก แพทย์มักจะรักษาทันที

ภาวะเหลืองรักษาได้อย่างไร ?

ต้องขอบคุณการแพทย์สมัยใหม่ที่ทำให้ภาวะเหลืองแทบจะไม่ร้ายแรงจนเกิดภาวะ kernicterus อีกแล้ว ทารกที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเหลืองรุนแรง จะได้รับการตรวจระดับบิลลิรูบินบ่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่อยู่ในระดับสูง

บิลลิรูบินสามารถตรวจวัดได้จากการตรวจเลือด หรือเครื่องตรวจที่หน้าผาก หากระดับเริ่มสูงขึ้น เด็กจะได้รับการรักษา

วิธีที่ใช้มากที่สุดในการรักษาภาวะเหลืองคือการใช้แสงพิเศษ ที่เรียกว่าแสงสำหรับการส่องไฟ (phototherapy light หรือ billilight)

แสงดังกล่าวจะช่วยให้ร่างกายสลายบิลลิรูบินให้อยู่ในรูปที่ร่างกายขับออกได้ ต้องมีบิลลิรูบินในเลือด แสงนี้จึงทำงานได้ ดังนั้น จึงสามารถใช้รักษาได้อย่างเดียว ใช้ในการป้องกันไม่ได้

มีแสงหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะเหลือง biliblanket เป็นแสงสลัวเล็ก ๆ ที่อยู่ใต้ตัวเด็ก เด็กจะไม่ต้องสวมที่คาดตา และสามารถห่อ อุ้ม หรือให้นมได้ การส่องไฟชนิดอื่น ๆ จะจริงจังกว่านี้ และเด็กต้องนอนอยู่ในอู่หรือตู้อบ โดยสวมแค่ผ้าอ้อมเท่านั้นในขณะส่องไฟ ทารกที่ส่องไฟลักษณะนี้จะต้องสวมที่ปิดตาเพื่อป้องกันดวงตา

หากการส่องไฟไม่ได้ผลดีพอ ระดับของบิลลิรูบินจะยังคงสูงขึ้น

ในกรณีที่หาได้ยาก แพทย์จะต้องใช้วิธีถ่ายเลือด ซึ่งเลือดบางส่วนหรือทั้งหมดของทารกจะถูกถ่ายออกและแทนที่ด้วยเลือดของผู้บริจาค การเปลี่ยนถ่ายจะทำอย่างช้า ๆ โดยเปลี่ยนถ่ายทีละน้อย ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี

ทำไมทารกคลอดก่อนกำหนดจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะเหลืองที่รุนแรงกว่า

ภาวะเหลืองเป็นเรื่องปกติ และทารกส่วนใหญ่มักจะมีภาวะเหลืองเล็กน้อย ในทารกคลอดครบกำหนด

แพทย์จะไม่รักษาภาวะเหลืองเลย หากระดับบิลลิรูบินไม่ได้สูงมากหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แพทย์จะระมัดระวังมากกว่าในทารกคลอดก่อนกำหนด และเริ่มให้การรักษาที่ระดับบิลลิรูบินที่ต่ำกว่า เนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนดไม่สามารถขจัดบิลลิรูบินได้อย่างเหมาะสม และอาจมีผลระยะยาวจากระดับบิลลิรูบินที่ต่ำกว่า

ในทารกที่คลอดเมื่อครบกำหนด ตับ ลำไส้ และกระเพาะปัสสาวะจะทำงานร่วมกันในการย่อยสลายบิลลิรูบินและขับออกจากร่างกาย ในทารกคลอดก่อนกำหนด ระบบเหล่านี้จะยังไม่เจริญเต็มที่ ทำให้การย่อยและการกำจัดบิลลิรูบินเป็นไปได้ยากกว่า

ไม่เพียงแต่ทารกคลอดก่อนกำหนดจะย่อยบิลลิรูบินได้ยากกว่า แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิด kernicterus และอาจมีปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง  เช่น มีปัญหาทางการได้ยินและการเคลื่อนไหวอย่างถาวรได้

ภาวะเหลืองจะคงอยู่นานเท่าไร

ในทารกส่วนใหญ่ ภาวะเหลืองจะเป็นเพียงชั่วคราวและหายไปได้เองในสองสัปดาห์ การเห็นลูกนอนปิดตาอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกไม่ดี แต่มันก็จะผ่านไปอย่างรวดเร็ว

ภาวะเหลืองบางอย่างจะคงอยู่นานกว่าสองสัปดาห์ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายแสง อะไรก็ตามที่ทำอันตรายต่อตับจะทำให้เกิดอาการเหลืองได้ ทารกที่กินนมไม่ได้และต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานานสามารถเกิดการทำลายของตับ และเกิดภาวะเหลืองที่เรียกว่า cholesteric jaundice

ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจเกิด breastmilk jaundice ได้

ซึ่งอาจคงอยู่ได้ถึงสามเดือน แต่จะไม่ทำให้เกิด kernicterus และแทบไม่ต้องการการรักษาเลย


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Earlier Jaundice Treatment Decreases Brain Injury In Preemies, October 29, 2008 News Release. National Institutes of Health (NIH). (https://www.nih.gov/news-events/news-releases/earlier-jaundice-treatment-decreases-brain-injury-preemies)
Radhakrishnan K. (2015). Why it’s best not to worry if your baby has jaundice. (2015). (https://health.clevelandclinic.org/best-not-worry-baby-jaundice/)
When Your Baby’s Born Premature (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/preemies.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด - 1 ขวบ
น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด - 1 ขวบ

สำรวจน้ำหนักของทารกในแต่ละช่วงวัย พร้อมสำหรับการดูแลลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
มีลูกแฝด ยุ่งสองเท่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลพวกเขาอย่างไรดี
มีลูกแฝด ยุ่งสองเท่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลพวกเขาอย่างไรดี

มีลูกแฝด ยุ่งสองเท่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลพวกเขาอย่างไรดี

อ่านเพิ่ม