กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความเสี่ยงจากการทำ IVF

ความเสี่ยงจากทำ IVF ตามทฤษฎีมีด้วยกันหลายปัญหา เช่น ภาวะ OHSS หรือปัญหาที่เกิดจากการตั้งครรภ์แฝด แต่ทุกปัญหาสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้
เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ความเสี่ยงจากการทำ IVF

สรุปความเสี่ยงจากการทำ IVF

ในทางทฤษฎี การทำ IVF (In Vitro Fertilization) มีความเสี่ยงมากมาย ได้แก่

  • ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกินขนาด (OHSS)
  • ปัญหาจากการตั้งครรภ์แฝด
  • ความผิดปกติแรกคลอดของทารก

ความเสี่ยงจากการทำ IVF

ความเสี่ยง % ในกลุ่มคนทั่วไป % ในกลุ่มคนที่ทำIVF สาเหตุที่เกิดจากการทำ IVF การป้องกันที่อาจทำได้

ภาวะ OHSS

0%

1 - 10%

การใช้โกนาโดโทรปินและ hCG

ใช้ปริมาณปานกลางหรือใช้ Lupron แทน

ปัญหาจากการตั้งครรภ์แฝด

1%

1 - 30%

นำเอ็มบริโอจำนวนมากเข้าสู่มดลูก โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุน้อย

นำเอ็มบริโอเดี่ยวเข้าสู่มดลูก

ความผิดปกติแรกคลอด

0 - 3%

3 - 5%

เพิ่มขึ้นประมาณ 1.6 เท่า โดยเฉพาะในทารกเพศชาย

ลดการทำ ICSI และใช้เอ็มบริโอเดี่ยวแทน

มะเร็งเต้านม

0 - 10%

0 - 10%

ไม่แน่ชัดว่าเกิดจาก IVF หรือภาวะมีบุตรยาก และความเสี่ยงอาจยิ่งสูงขึ้นในผู้หญิงอายุน้อย

ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปากมดลูก

0 - 1%

0 - 1%

ไม่แน่ชัดว่าเกิดจาก IVF หรือภาวะมีบุตรยาก และความเสี่ยงอาจยิ่งสูงขึ้นในผู้หญิงอายุน้อย

ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกินขนาด (Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS))

ผู้ป่วยที่ทำ IVF ส่วนใหญ่จะได้รับโกนาโดโทรปินเพื่อกระตุ้นรังไข่ให้สร้างฟอลลิเคิลจำนวนมากกว่าปกติ (ซึ่งมีไข่อยู่ภายใน) และได้รับยากระตุ้นเพื่อให้แพทย์สามารถเก็บไข่ที่เจริญแล้วออกมาจากฟอลลิเคิลได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฮอร์โมนที่ใช้กระตุ้นรังไข่

ฮอร์โมน หน้าที่

FSH

กระตุ้นการโตของฟอลลิเคิลจำนวนมาก ซึ่งแต่ละฟอลลิเคิลจะมีไข่อยู่ภายใน

hCG หรือ Lupron

กระตุ้นให้ไข่ในฟอลลิเคิลเจริญและพร้อมต่อการเก็บ

ผู้หญิงที่รังไข่ถูกกระตุ้นด้วยโกนาโดโทรปินมากเกินขนาด อาจจะเกิดภาวะ OHSS ได้ ซึ่งอาการของภาวะดังกล่าว ได้แก่

  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • วิงเวียน
  • การทำงานของอวัยวะล้มเหลว

ภาวะ OHSS พบได้ 1 - 10% ของผู้ป่วยที่ทำ IVF ในกลุ่มประชากรบางกลุ่ม เช่น ผู้หญิงที่อายุน้อย ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) หรือผู้ที่มีระดับ Anti-Mullerian hormone (AMH) สูง จะยิ่งมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น

สัญญาณเตือนของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกินขนาด

ประเภท ตัวชี้วัด

จำนวนและขนาดฟอลลิเคิล

จำนวน 15 - 20 ฟอลลิเคิลขึ้นไป โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 14 มล.

ระดับเอสโตรเจน

ปริมาณ 2,500 - 3,500 pg/mL ขึ้นไป

การป้องกันภาวะ OHSS สามารถทำได้ด้วยการหยุดกระตุ้นรังไข่ เมื่อพบว่าผู้เข้ารับการทำ IVF ได้รับโกนาโดโทรปินมากเกินไป ซึ่งจะเห็นได้จากการโตขึ้นอย่างรวดเร็วของฟอลลิเคิลจำนวนมาก หรือระดับเอสโตรเจนที่สูงขึ้น หรือเปลี่ยนมาใช้ Lupron เป็นยากระตุ้นแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์แฝด

เมื่อมีการนำเอ็มบริโอจำนวนมากเข้าสู่มดลูก โอกาสในการตั้งครรภ์แฝดจะเพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 30% ตามข้อมูลด้านล่างนี้

ทารกแฝดมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง และอาจมีพัฒนาการในครรภ์ต่ำ จนสมองไม่ถูกพัฒนาเต็มที่ ผลจากการคลอดก่อนกำหนดจึงทำให้ทารกมีความสามารถในการรู้คิดลดลง ดังจะเห็นจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Medical Association

ความเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการนำเอ็มบริโอเดี่ยวเข้าสู่มดลูก แม้โอกาสที่การนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกครั้งแรกจะล้มเหลว (และต้องนำเข้าสู่มดลูกใหม่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายราว 100,000 บาทต่อครั้ง) แต่ก็ไม่ได้ทำให้โอกาสสำเร็จในการทำ IVF และการคลอดทารกลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเสี่ยงต่อความผิดปกติแต่แรกเกิดของทารก

โดยทั่วไปแล้ว ทารกที่คลอดในกลุ่มคนทั่วไปจะมีอัตราความผิดปกติแต่แรกเกิด 1 - 3% แต่หากพ่อแม่มีปัญหาในการตั้งครรภ์ อัตราจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 - 5% ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากทารกเกือบ 30,000 คนในประเทศฟินแลนด์

ความผิดปกติแต่แรกเกิดของทารก ในประเทศฟินแลนด์

ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ IUI ตั้งครรภ์โดยวิธี

2.9%

3.7%

4.3%

จากข้อมูลนี้พบว่า ในเด็กทารกที่เกิดจากการรักษาภาวะมีบุตรยาก (ไม่เพียงเฉพาะ IVF) จะมีโอกาสเกิดความผิดปกติแต่แรกเกิดสูงกว่าทารกที่เกิดจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ แต่อัตราความผิดปกติแต่แรกเกิดของทารกที่ตั้งครรภ์โดยวิธี IUI ก็ยังน้อยกว่าการทำ IVF

วิธีที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อความผิดปกติแต่แรกเกิดในทารกจากการทำ IVF ได้แก่

  • นำเอ็มบริโอเดี่ยวเข้าสู่มดลูก : เนื่องจากการคลอดทารกแฝดอาจทำให้ทารกมีความผิดปกติด้านร่างกายและสติปัญญา
  • ใช้เทคนิค ICSI ในการปฏิสนธิเมื่อจำเป็นเท่านั้น : จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine พบว่า อุบัติการณ์ของความผิดปกติแต่แรกเกิดจะลดลงเมื่อใช้เทคนิคผสมเทียมทั่วไป (CI) เพื่อปฏิสนธิ อย่างไรก็ตาม มีตัวแปรสำคัญคือผู้ที่จำเป็นต้องใช้เทคนิค ICSI ก็อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่แตกต่างจากผู้ใช้เทคนิค CI อยู่แล้ว (เช่น มีความผิดปกติด้านการสืบพันธุ์อย่างรุนแรงในเพศชาย)

ความผิดปกติแต่แรกเกิดในทารก โดยแบ่งตามวิธีการปฏิสนธิ

ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ใช้เทคนิค CI ใช้เทคนิค ICSI

5.8%

7.2%

9.9%

เป็นที่ยอมรับกันชัดเจนว่าการทำ IVF สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ OHSS และการตั้งครรภ์แฝด แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเกิดกรณีเช่นนี้เสมอ ส่วนการเกิดความผิดปกติแรกคลอดของทารกที่เกิดจากการทำ IVF มีงานวิจัยพบว่าความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในทารกเพศชาย แต่ก็เพียงเล็กน้อย และยังพบว่ามีวิธีที่ได้ผล (แม้ไม่ 100%) ที่สามารถลดความเสี่ยงดังกล่าวได้

ที่มาของข้อมูล

Risks of IVF, (https://www.fertilityiq.com/ivf-in-vitro-fertilization/risks-of-ivf#summary)


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รวมบทความ เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF, IUI, ICSI, IMSI ตอบครบทุกคำถามโดยแพทย์ | HDmall (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-by-ivf-iui-icsi-imsi).
Understanding the IVF Process Step-by-Step. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/understanding-ivf-treatment-step-by-step-1960200)
What to Expect During Early IVF Pregnancy. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/ivf-pregnancy-1960218)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)