กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension)

ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension)
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension)

ภาวะความดันเลือดในปอดสูงคืออะไร มีความอันตรายหรือไม่ มีอาการ และสาเหตุจากอะไรบ้าง?

ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) คือภาวะที่เกิดแรงดันเลือดสูงภายในหลอดเลือดแดงที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจห้องขวาไปยังปอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะนี้เป็นภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรง เพราะอาจสร้างความเสียหายให้กับหัวใจทางขวาจนสูบฉีดเลือดและออกซิเจนให้กับร่างกายน้อยลง หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ภาวะความดันเลือดในปอดสูง จนทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

โดยทั่วไปแล้วภาวะความดันเลือดในปอดสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ภาวะความดันเลือดในปอดสูงประเภทหนึ่งเรียกว่า Pulmonary Arterial Hypertension (PAH) จะพบมากในผู้หญิง และเกิดกับผู้คนประมาณ 2-4 คนต่อประชากรทุก 1 ล้านคน

อาการของภาวะความดันเลือดในปอดสูง

อาการจากภาวะความดันเลือดในปอดสูง มีดังนี้

ภาวะความดันเลือดในปอดสูงที่ไม่ได้รับการรักษา สามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) ได้ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจทำการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ยากลำบากจนทำให้เกิดอาการเหน็ดเหนื่อยและหายใจติดขัดขึ้นมา และทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น

  • อาการบวมน้ำ (Oedema) ในขา, ข้อเท้า, และเท้า
  • การตื่นขึ้นกลางดึกเพื่อหายใจ (Paroxysmal Nocturnal Dyspnoea)
  • อาการไอที่ไม่ยอมทุเลาลง
  • อาการคลื่นไส้
  • ไม่อยากอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • อาการสับสนหรือทำสมาธิลำบาก

สาเหตุของภาวะความดันเลือดในปอดสูง

ภาวะความดันเลือดในปอดสูง เกิดจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับหลอดเลือดแดงสู่ปอด  (Pulmonary Arteries) ที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังปอด

เมื่อผนังของหลอดเลือดแดงสู่ปอดหนาตัวและแข็งตัวขึ้น หรืออาจเกิดการอุดตันโดยบางสิ่งบางอย่าง เช่น ลิ่มเลือด จะทำให้หัวใจดันเลือดผ่านหลอดเลือดเหล่านี้ได้ยากขึ้นจนเพิ่มแรงดันภายในหลอดเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization (WHO)) ได้จำแนกภาวะความดันเลือดในปอดสูงเป็น 5 ประเภท ตามสาเหตุการเกิดดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Arterial Hypertension (PAH)) : เกิดจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดภายในสาขาแยกย่อยขนาดเล็กของหลอดเลือดสู่ปอด
  • ภาวะความดันเลือดในปอดสูงที่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจด้านซ้าย (Pulmonary Hypertension Associated with Left Heart Disease) : เลือดจะเคลื่อนผ่านหลอดเลือดสู่ปอดและจากนั้นเข้าไปยังหัวใจทางซ้าย ดังนั้นปัญหาที่เกิดกับหัวใจห้องซ้ายก็จะส่งผลย้อนกลับไปยังหลอดเลือดสู่ปอดได้เช่นกัน ผู้ป่วยภาวะนี้มากกว่า 60% จะมีการเสื่อมสภาพของ Ventricle ซ้ายชนิดรุนแรงมาก
  • ภาวะความดันเลือดในปอดสูงที่เกี่ยวกับโรคปอดและภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน (Pulmonary Hypertension Associated with Lung Disease and Hypoxia) : ภาวะนี้จะจำกัดปริมาณการรับออกซิเจนที่เข้าสู่ปอด ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่เลือดได้รับ เมื่อเลือดมีระดับออกซิเจนน้อย จะทำให้หลอดเลือดแดงสู่ปอดบีบรัดตัวเองมากขึ้น
  • ภาวะความดันเลือดในปอดสูงเนื่องจากลิ่มเลือด (Pulmonary Hypertension due to Blood Clots)
  • ภาวะความดันเลือดในปอดสูงเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ (Pulmonary Hypertension due to Other Causes) : อาจเกิดได้จาก
    • โรคซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis) – ภาวะที่ทำให้อวัยวะต่าง ๆ อักเสบ (บวมขึ้น) รวมไปถึงปอดและต่อมน้ำเหลือง
    • histiocytosis X – ภาวะที่ทำให้หลอดเลือดภายในปอดบวมขึ้น
    • การกดทับที่เส้นเลือดในปอด เช่นการกดทับจากเนื้องอก เป็นต้น

การวินิจฉัยภาวะความดันเลือดในปอดสูง

มีการตรวจมากมายที่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัยภาวะความดันเลือดในปอดสูง เช่น

  • การตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูงของหัวใจ (Echocardiogram) : คือการสแกนอัลตราซาวด์เพื่อถ่ายภาพหัวใจ สำหรับนำไปคาดประมาณแรงดันที่ส่งให้กับหลอดเลือดแดงสู่ปอด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (ECG)) : คือการทดสอบบันทึกจังหวะการเต้นและกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ โดยจะมีการติดปุ่มอีเล็กโทรดบนแขน, ขา, และหน้าอกของคุณ ทุกครั้งที่หัวใจเต้น หัวใจจะปล่อยสัญญาณทางไฟฟ้าขนาดเล็กออกมา ซึ่งเครื่อง ECG จะตรวจจับสัญญาณเหล่านั้นผ่านปุ่มอีเล็กโทรดก่อนส่งผลออกมาบนกระดาษ
  • การเอกซเรย์หน้าอก : ใช้เพื่อตรวจสอบว่าหัวใจของคุณมีขนาดใหญ่กว่าปกติหรือไม่ เพราะภาวะความดันเลือดในปอดสูง สามารถทำให้หัวใจซีกขวาของคุณต้องทำงานหนักขึ้น จนมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • การทดสอบการทำงานของปอด (Lung function tests) : หรือที่เรียกว่าการทดสอบการหายใจ (Breathing Tests) ใช้เพื่อประเมินว่าปอดทำงานอย่างไรโดยจะทำการวัดการเคลื่อนตัวของอากาศเข้าและออกจากปอดของคุณ, ปริมาณอากาศที่คุณสามารถกลั้นได้, และออกซิเจนถูกถ่ายเข้าและร่างกายมีการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากเลือดได้มากน้อยเพียงไหน
  • การทดสอบการระบายอากาศ (Ventilation Scan) เป็นการวัดว่ามีปริมาณอากาศและการไหลเวียนของเลือดในปอดคุณมากน้อยเพียงใด การทดสอบนี้จะใช้เพื่อมองหาลิ่มเลือดภายในหลอดเลือด ที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะความดันเลือดในปอดสูง
  • การตรวจสวนหัวใจทางขวา : นอกจากใช้วัดแรงดันโลหิตแล้ว สายสวนยังถูกใช้ในการวัดอื่นๆ อีก ดังนี้
    • ปริมาณของเลือดภายในหัวใจห้องขวามือที่จะถูกลำเลียงสู่ปอด
    • แรงดันที่หัวใจต้องกระทำเพื่อดันเลือดไปยังปอด
    • ปริมาณออกซิเจนในเลือดชุดที่กลับสู่หัวใจ

การรักษาภาวะความดันเลือดในปอดสูง

หากภาวะความดันเลือดในปอดสูงของคุณเกิดจากภาวะสุขภาพอื่น การรักษาจะเน้นไปยังการจัดการกับภาวะนั้นๆ ก่อน หากทำการรักษาได้เร็ว ก็จะช่วยป้องกันความเสียหายถาวรที่อาจเกิดกับหลอดเลือดแดงสู่ปอดได้

มียามากมายที่สามารถใช้รักษาภาวะ PAH กับภาวะความดันเลือดในปอดสูงประเภทอื่นได้ แต่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดภูมิหลัง (Background Therapy) ก่อน และจะมีการเปลี่ยนแปลงการรักษาตามความจำเป็น หรือที่เรียกว่าการบำบัดแบบตรงจุด (Targeted Therapy)

การบำบัดภูมิหลัง

การบำบัดภูมิหลัง มีดังนี้

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant Medicines) : จะช่วยลดการเกาะกันเป็นลิ่มของเลือดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้
  • ยาขับน้ำ (Diuretic medicines) : มีไว้กำจัดของเหลวส่วนเกินภายในร่างกายด้วยการเร่งการผลิตปัสสาวะให้มากขึ้น โดยยาประเภทนี้สามารถนำมาใช้กับภาวะความดันเลือดในปอดสูงด้วยการรักษาภาวะบวมน้ำ ยาขับน้ำที่สามารถใช้ได้กับภาวะนี้ ได้แก่ Furosemide, Amiloride และ Spironolactone
  • การบำบัดด้วยออกซิเจน : หากคุณมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ คุณจำต้องได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนซึ่งเป็นการสูดดมอากาศที่มีปริมาณออกซิเจนสูงกว่าปกติ การบำบัดนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดขึ้นและทำให้อาการต่างๆ จากภาวะความดันเลือดในปอดสูงดีขึ้น
  • Digoxin : หากภาวะความดันเลือดในปอดสูงทำให้คุณมีภาวะหัวใจล้มเหลว คุณจำต้องได้รับการรักษาด้วย digoxin ซึ่งเป็นยาที่เพิ่มความแรงของการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจและชะลอการเต้นของหัวใจลง
  • Calcium channel blockers : เป็นยาที่มักใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง เพราะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อที่อยู่บนผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัวและลดความดันโลหิตลง ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Nifedipine และ Diltiazem

การบำบัดแบบตรงจุด

หากยา Calcium Channel Blockers ไม่เหมาะกับคุณ หรือยาไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ก็จะมีการักษาอื่นที่เรียกว่าการบำบัดแบบตรงจุดแทน ซึ่งจะมีการใช้ยาดังต่อไปนี้

  • Bosentan : เป็นยาที่ช่วยให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นและเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายขึ้น
  • Sildenafil : เป็นยาที่ใช้สามครั้งต่อวันเพื่อเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย
  • Iloprost : เป็นยาพ่นที่ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์พ่นยาที่จะเปลี่ยนยาน้ำให้กลายเป็นละอองเพื่อสูดดมเข้าไปในปอด
  • Epoprostenol : คือยาที่ใช้ในกรณีที่คุณไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ โดย Epoprostenol จะต้องให้ด้วยการหยดยาผ่านทางเส้นเลือดดำ (Intravenous Infusion)

18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pulmonary hypertension. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pulmonary-hypertension/)
Pulmonary Hypertension. National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI). (https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/pulmonary-hypertension)
Pulmonary Arterial Hypertension: Symptoms, Causes, and Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/lung/pulmonary-arterial-hypertension)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)