กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (Atrioventricular block) เป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นช้า
  • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางทำให้ความเร็วในการนำไฟฟ้าช้าลงมาก หรือไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เลย ทำให้หัวใจเต้นช้าลงๆ จนถึงระดับอันตราย
  • สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจโต โรคหัวใจบางชนิด การติดเชื้อ การได้รับยาบางชนิด เกิดความเสียหายที่หัวใจโดยตรง และระดับเกลือแร่ในร่างกายต่ำ
  • หากอาการสัญญาไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางอยู่ในระดับรุนแรง จำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจซึ่งมีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยคุณไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

เคยไหมที่คุณ หรือคนที่คุณรักอยู่ๆ ก็มีอาการเหนื่อยง่าย ออกกำลังกายได้น้อยลง เป็นลมหมดสติ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ "ภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง" ก็เป็นได้ 

ภาวะนี้เป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยและเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของหัวใจเต้นช้า บางรายที่มีภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางรุนแรงอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุการเกิดภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (Atrioventricular block) หรือ เอวี บล็อก (AV block) มีสาเหตุมาจาก AV Node ซึ่งมีหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าที่สร้างจากหัวใจห้องบนและส่งต่อมายังหัวใจห้องล่างทำงานผิดปกติ 

เช่น ปรับเปลี่ยนอัตราความเร็วในการนำไฟฟ้าช้าลงมาก หรือไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เลย 

เมื่อเป็นเช่นนั้นหัวใจสองห้องบนและหัวใจสองห้องล่างจะทำงานไม่สัมพันธ์กัน เมื่อสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจถูกขัดขวางมากพอก็จะทำให้หัวใจเต้นช้าลงไปถึงระดับที่อันตรายได้

นอกจากนี้สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางอาจเกิดจากโรคของหัวใจหลายโรคตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดโคโรนารี หัวใจล้มเหลว หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

ภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางชนิดนี้จะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปจึงจำเป็นต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ 

ระดับของภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

แบ่งภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางเป็น “3 ระดับ” โดยใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) หรืออีซีจี (ECG) เป็นเกณฑ์ดังนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางระดับที่ 1 (First degree block)

หมายถึง สัญญาณไฟฟ้าของหัวใจที่สร้างจากเอเทรียมขวา (หัวใจห้องที่รับเลือดดำ) ผ่านมาถึงเวนทริเคิลซ้าย (หัวใจห้องที่รับเลือดแดง) ได้ในที่สุดแต่ช้า

สาเหตุ สามารถเกิดจากการที่ร่างกายแข็งแรงเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีขนาดโตขึ้นจนกลายเป็นการขัดขวางสัญญาณทางไฟฟ้า แต่ก็อาจพบได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalaemia) ระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) 

การใช้ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด การใช้ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงบางชนิด และการใช้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลวบางชนิด

อาการ ภาวะระดับนี้มักไม่ส่งผลให้เกิดอาการใดๆ ที่สังเกตเห็นได้

สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางระดับที่ 2 (Second degree block) 

หมายถึง สัญญาณไฟฟ้าของหัวใจบางส่วนมาถึงเวนทริเคิลซ้าย (หัวใจห้องที่รับเลือดแดง) ได้สำเร็จ แต่บางส่วนมาไม่ถึงเวนทริเคิลซ้าย 

สาเหตุ ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงเกินไปก็สามารถประสบกับภาวะนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้อาจพบภาวะนี้ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่ก็อาจพบได้จากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น โรคลายม์ (Lyme Disease) ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่แพร่เชื้อโดยเห็บ การใช้ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงบางชนิด การใช้ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด และการใช้ยารักษาโรคปอดบวมบางชนิด

อาการ ภาวะระดับนี้สามารถทำให้การเต้นของหัวใจหายไปหนึ่งจังหวะ ทำให้เกิดอาการ 2 ประเภท ได้แก่ อาการวิงเวียนไม่รุนแรงในบางเวลา อาการหน้ามืด วิงเวียน และหมดสติได้ในบางราย 

ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยบางรายรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางระดับที่ 3 (Third degree block) หรือภาวะสัญญาณไฟฟ้าถูกขัดขวางแบบสมบูรณ์ (complete heart block) 

หมายถึง ไม่ได้รับสัญญาณไฟฟ้าผ่าน AV Node เลย มีหลายสาเหตุเช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับโรค เช่น โรคพุ่มพวง (SLE) ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนของการบำบัดรังสี 

การได้รับอุบัติเหตุ หรือแรงกระทำทะลุลงลงไปที่หน้าอก เช่น โดนยิง โดนแทง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคคอตีบ หรือไข้รูห์มาติก การควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่ดี 

มะเร็งที่ลุกลามจากส่วนอื่นของร่างกายจนเข้าหัวใจ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาชะลอการเต้นของหัวใจให้คงที่ 

อาการที่เกิดในภาวะนี้อาจทำให้หัวใจเต้นช้า เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง และหมดสติได้

ภาวะระดับที่ 3 นี้ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้จึงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้โอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับเซลล์ที่สร้างจังหวะการเต้นของหัวใจที่อยู่ใต้ต่อจุดที่สัญญาณไฟฟ้าถูกสกัดว่า ยังมีอยู่หรือไม่

เซลล์นี้จะสร้างสัญญาณไฟฟ้าขึ้นมาเอง และทำให้หัวใจยังคงบีบตัวอยู่ จังหวะการเต้นของหัวใจที่สร้างโดยเซลล์เหล่านี้เรียกว่า “เอสเคปริทึม (escape rhythm)” บ่อยครั้งที่เอสเคปริทึ่มนี้เต้นไม่เป็นจังหวะแน่นอนและแปรเปลี่ยนจังหวะได้ง่าย 

ทั้งนี้การมีเอสเคปริทึมถือว่า "เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์"

การรักษาภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง 

การตัดสินใจว่า ผู้ที่มีภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางคนใดจะต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) นั้นขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ดังนี้

  • สาเหตุของสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง 
  • ระดับของสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง 
  • ตำแหน่งของสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกสกัด 
  • อาการที่เกิดขึ้น  

จากนั้นแพทย์จะต้องพิจารณาว่า อาการสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางนั้นร้ายแรงมากพอที่จะใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือไม่ ดังนี้

  • ผู้ที่มีสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางระดับที่ 1 ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ยกเว้นสัญญาณไฟฟ้าถูกขัดขวางส่วนปลาย
  • ผู้ที่มีสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางระดับที่ 2 ในผู้ที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการหน้ามืด วิงเวียน และหมดสติ แต่ถ้าสัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ถูกขัดขวางระดับที่ 2 นั้นไม่ทำให้เกิดอาการ หรือเป็นการขัดขวางสัญญาณไฟฟ้าหัวใจส่วนต้นก็ไม่ต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ผู้ที่มีสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางระดับที่ 3 จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทุกราย

ดังนั้นถ้ามีภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง คุณและแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องว่า จะใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือไม่ 

โชคดีที่การรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณานั้นทำได้ค่อนข้างรวดเร็วและตรงไปตรงมา มีบางครั้งเท่านั้นที่ต้องทำการศึกษาสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจเพิ่มเติม

ชนิดของเครื่องกระตุ้นหัวใจ

เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดที่ตัวเครื่องและแผ่นขั้วไฟฟ้า (electrode) อยู่ภายนอกร่างกาย (Transcutaneous pacing) 

คือ การรักษาภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางที่มีอาการเพื่อทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ 

วิธีการคือ ติดแผ่นขั้วไฟฟ้าบนหน้าอกเพื่อส่งสัญญาณไฟาฟ้เข้าไปกระตุ้นให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้มีการบีบตัวของหัวใจตามมา 

เมื่อหัวใจเต้นคงที่แล้วแพทย์มักพิจารณาติดตั้งเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรให้เป็นรายๆ ไป

เหมาะสำหรับ: รักษาในกรณีฉุกเฉิน และรักษาในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมากนัก

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ หรือ เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ (Pacemaker) 

คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่จะสอดเข้าไปในเส้นเลือดดำและเคลื่อนเข้าไปในหัวใจ เครื่องจะปล่อยสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นเป็นจังหวะทำให้หัวใจเต้นเพื่อสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ในปริมาณที่เหมาะสม 

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจนี้มีทั้งชนิดชั่วคราว (Temporary Pacemaker) และชนิดถาวร (Permanent Pacemaker) (Temporary Pacemaker)

สำหรับการป้องกันสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวางเช่นเดียวกับการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและการดูแลสุขภาพทั่วไป ดังนี้

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของมัน อาหารรสจัด
  • หลีกเลี่ยงความเครียด 
  • งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณสูง
  • งดการใช้สารเสพติด 
  • พักผ่อนให้เพียงอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

หมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และการลด ละ เลิก พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ ผ่อนคลายความเครียดให้เป็น เพียงเท่านี้สุขภาพก็แข็งแรงห่างไกลจากโรคแล้ว  

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medscape, Atrioventricular Block (https://emedicine.medscape.com/article/151597-overview), 2 Maech 2020.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, แนวทางการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวรสําหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการนําไฟฟ้าหัวใจจากห้องบนสู่ห้องล่าง (http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/DeviceGuideline.pdf), 2 มีนาคม 2563.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (External pacemaker) (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_MED/admin/download_files/11_67_1.pdf), 14 พฤศจิกายน 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)