อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain)

อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain)
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain)

อาการเจ็บหน้าอกสามารถเกิดได้จากสาเหตุอะไรบ้าง และอาการแบบใดที่ควรไปพบแพทย์ทันที

อาการเจ็บที่หน้าอก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่อาการเจ็บจากกล้ามเนื้อไปจนถึงเจ็บจากภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ที่ไม่ควรเพิกเฉย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุทั่วไปของอาการเจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอกส่วนมากไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจ และไม่ใช่สัญญาณของปัญหาที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดภาวะเจ็บหน้าอก มีดังนี้

  • โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Oesophageal Reflux Disease (GORD)) : คือภาวะที่กรดในกระเพาะไหลขึ้นมาจากกระเพาะไปสู่หลอดอาหาร อาการทั่วไปของ GORD มีดังนี้
    • แสบร้อนกลางอก (heartburn)
    • ได้รับรสแปลก ๆ ในปากที่เกิดจากกรดในกระเพาะไหลขึ้นมาที่ปาก
  • ปัญหากระดูกหรือกล้ามเนื้อ : หากหน้าอกของคุณมีอาการเจ็บปวดหรือกดเจ็บเมื่อสัมผัส อาการเช่นนี้อาจเกิดมาจากความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อในผนังหน้าอกของคุณ หากมีความเจ็บปวด, บวม, และกดเจ็บบริเวณซี่โครง อาจมีภาวะที่เรียกว่าภาวะอักเสบบริเวณซี่โครง (Costochondritis)
  • ความกังวลกับความวิตก : อาการเจ็บหน้าอกในบางครั้งก็อาจเกิดมาจากความวิตกกังวล (Anxiety หรือ Panic Attack) ร่วมกับอาการใจสั่น, เหงื่อออก, หายใจไม่ออก, และวิงเวียน
  • ภาวะที่ปอด : หากคุณมีอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกอย่างรุนแรงขณะหายใจเข้าออก และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอ หรือหายใจไม่ออก อาการนี้อาจเกิดมาจากปัญหาที่ปอดหรือเนื้อเยื่อโดยรอบ ดังนี้
    • ปอดบวม (Pneumonia) : การอักเสบของปอดที่มักเกิดมาจากการติดเชื้อ
    • เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleurisy) : การอักเสบของชั้นเยื่อบุรอบปอด มักเกิดจากการติดเชื้อ

นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุที่พบไม่บ่อย แต่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ ดังนี้

  • โรคงูสวัด (Shingles) : ภาวะติดเชื้อไวรัสที่เส้นประสาทและผิวหนังโดยรอบ จนทำให้เกิดผื่นปวดที่ค่อย ๆ กลายเป็นตุ่มหนองคัน ๆ
  • โรคเต้านมอักเสบ (Mastitis) : อาการบวมและเจ็บปวดที่เต้านม มักเกิดจากการติดเชื้อและมักเกิดขึ้นระหว่างช่วงที่ให้นมบุตร
  • โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis) : การอักเสบของถุงน้ำดี ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บแปลบบริเวณซีกขวาบนของท้อง ที่ลามขึ้นไปยังหัวไหล่ข้างขวา
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Stomach Ulcers) : ความเสียหายที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ที่ทำให้เกิดอาการแสบร้อนหรือปวดในท้อง
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) : การอุดตันของหลอดเลือด ที่ขนเลือดออกจากหัวใจเข้าสู่ปอด ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหน้าอกที่รุนแรงขณะหายใจเข้า
  • ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) : การอักเสบของถุงรอบหัวใจ ทำให้เกิดอาการเจ็บแปลบในอกรุนแรงและกะทันหัน

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์ ?

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง โดยเฉพาะอาการต่อไปนี้ 

  • เจ็บปวดหน่วง ๆ หรือแน่นที่หน้าอกมาก
  • เจ็บปวดนานกว่า 15 นาที
  • เจ็บปวดลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่นที่แขน, หลัง, หรือกราม
  • มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจไม่ออก, คลื่นไส้, เหงื่อออก หรือไอเป็นเลือด
  • มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) เช่น สูบบุหรี่, มีภาวะอ้วน, มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chest pain: 26 causes, symptoms, and when to see a doctor. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321650)
Chest pain. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/chest-pain/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป