ปลอดภัยหรือไม่ เมื่อใช้ “สเตียรอยด์”

รู้จักประโยชน์และอันตรายของสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในยาหลายชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ปลอดภัยหรือไม่ เมื่อใช้ “สเตียรอยด์”


แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สเตียรอยด์ เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บป่วยและรักษาโรคได้หลากหลาย แม้แต่ในแวดวงความงาม หรือแวดวงกีฬา ก็มีการนำสเตียรอยด์มาใช้ด้วยเช่นกัน ประโยชน์ที่หลากหลายเช่นนี้เองทำให้บางคนถึงกับเรียกเสตียรอยด์ว่า "ยาครอบจักรวาล"  กินปั๊บ หายปุ๊บ ฉีดปั๊บ ได้ผลปุ๊บ อย่างไรก็ดี ภายใต้คุณสมบัติที่หลากหลายและความรวดเร็วในการออกฤทธิ์ก็มี "อันตราย" ซ่อนอยู่ด้วยเช่นกัน หากใช้อย่างรุ้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือใช้ไม่เหมาะสม ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้สเตียรอยด์ก็ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด  

สเตียรอยด์คืออะไร

สเตียรอยด์ (Steroid) เป็นกลุ่มยาชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเต็มว่า corticosteroid  บางครั้งถูกเรียกสั้นๆ ว่า “roids” หรือ “juice” สเตียรอยด์เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมหมวกไตชั้นนอกเพื่อกระตุ้นการทำงานของร่างกาย เช่น รับมือกับความเครียด ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการด้านต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น  ส่วนสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์คือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า 

ประเภทของยาสเตียรอยด์

ยาสเตียรอยด์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักตามรูปแบบการใช้งาน

  1. ใช้ภายนอกเพื่อการออกฤทธิ์เฉพาะที่ ด้วยการหยอด พ่น สูดพ่น และทา 
  2. เพื่อการออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย ด้วยการฉีด การรับประทาน

ประโยชน์สเตียรอยด์

สเตียรอยด์เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการเจ็บปวด บวม แดง ร้อน ของเนื้อเยื่อภายในร่างกาย  อาการของโรคในระบบต่างๆ รวมทั้งกดภูมิคุ้มกันและลดไข้ได้ อย่างไรก็ดี มีหลายคนที่พยายามใช้ยาสเตียรอยด์ทั้งแบบเม็ด แบบเจล แบบครีม หรือการฉีดเข้าสู่เส้นเลือด เพราะเชื่อว่า สเตียรอยด์จะพัฒนาศักยภาพทางด้านกีฬา หรือสภาพร่างกายได้ โดยเฉพาะยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ 

รู้จักยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ 

ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic-Androgenic Steroids : ASS)  เป็นฮอร์โมนเทียมที่ออกฤทธิ์สร้างกล้ามเนื้อ เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) มีการผลิตยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ขึ้นมากว่า 100 ชนิด ซึ่งฮอร์โมนที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพสูงสุดคือ ฮอร์โมน Testosterone และแม้ Testosterone จะเป็นฮอร์โมนของชายวัยเจริญพันธุ์ แต่สามารถพบในร่างกายของเด็กผู้หญิงด้วยแต่พบในปริมาณที่น้อยมาก   ฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลต่อการเพิ่มโปรตีนภายในเซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้มีคุณลักษณะความเป็นชายอย่างโดดเด่น หากใช้ในช่วงวัยแรกรุ่น เช่น มีเสียงทุ้มหรือมีขนดก เป็นต้น นอกจากนี้ Testosterone ยังส่งผลถึงภาวะทางด้านอารมณ์ทำให้ผู้ใช้ยามีอารมณ์ที่ก้าวร้าวได้

นักกีฬาบางกลุ่มใช้ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์เพื่อการกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน Testosterone  เสริมสร้างสมรรถนะทางด้านร่างกาย   ส่วนสเตียรอยด์ชนิดอื่นๆ บางครั้งมาในรูปแบบของอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของ Dehydroepiandrosterone (DHEA) และ / หรือ  Androstenedione ที่เรียกสั้นๆ ว่า Andro โดยอาหารเสริมเหล่านี้ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ถือว่า เป็นยาผิดกฎหมายหากหาซื้อมารับประทานโดยไม่ได้รับใบสั่งจากแพทย์  อย่างไรก็ตาม ยาประเภท DHEA นั้น อาจยกเว้นได้บางกรณีซึ่งยังสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แม้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสเตียรอยด์เป็นรูปแบบของยาที่มีส่วนประกอบของ Androgen ในปริมาณน้อยนิดซึ่งแทบจะไม่พบผลข้างเคียงใดๆ   แต่หากมีการใช้ในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับการใช้ฮอร์โมน Testosterone อย่างไรก็ตาม จากผลของการศึกษาวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสเตียรอยด์นให้ผลทางด้านการกีฬาน้อยมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสเตียรอยด์คือ บริษัทผู้ผลิตมักแอบอ้างสรรพคุณของยาเกินจริง  น้อยคนนักที่จะรู้ถึงผลข้างเคียงในระยะยาวต่อสุขภาพร่างกาย นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่รัฐบาลต้องออกกฎหมายควบคุมการใช้สเตียรอยด์

ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ออกฤทธิ์อย่างไร

ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์จะกระตุ้นเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อให้เติบโตขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการออกกำลังและเพิ่มกล้ามเนื้อ  โดยทำหน้าที่เลียนแบบการทำงานของฮอร์โมน Testosterone ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองในร่างกาย หลังใช้ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ไปแล้วจะยังตกค้างอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นระยะเวลาหลายวัน หรือบางคนอาจนานเป็นปีๆ เลยทีเดียว หากมีการใช้อย่างต่อเนื่อง

สาเหตุที่สเตียรอยด์ได้รับความนิยมนั้นเพราะช่วยให้ร่างกายอึดขึ้น ทนทานต่อการออกกำลังนานๆ และช่วยเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อให้มากขึ้นกว่าเดิมได้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม  ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยใดยืนยันว่า สเตียรอยด์นั้นสามารถพัฒนาทักษะ เพิ่มความคล่องตัว หรือเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านกีฬาได้จริงหรือไม่

อันตรายและผลข้างเคียงจากการใช้ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์

  • เป็นสิว
  • หัวล้านก่อนวัยอันควร หรือผมร่วง
  • น้ำหนักขึ้น / อ้วน
  • อารมณ์แปรปรวน
  • มีอารมณ์ก้าวร้าว
  • นอนไม่หลับ
  • ความดันโลหิตสูง
  • กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีโอกาสเกิดความเสียหาย
  • มีโอกาสเป็นโรคดีซ่าน หรือตับถูกทำลาย
  • ตัวแคระแกร็น หรือร่างกายไม่เจริญเติบโตตามปกติ
  • มีความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบ เส้นเลือดอุดตัน หรือมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

ความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเมื่ออนาบอลิกสเตียรอยด์ในผู้หญิง

  • มีขนขึ้นดกตามใบหน้าและร่างกาย
  • ก่อให้เกิดภาวะบุรุษภาพ เช่น มีเสียงทุ้ม และสูญเสียลักษณะเฉพาะของเพศหญิง เช่น หน้าอกเล็กลง เป็นต้น
  • อวัยวะเพศมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • รอบเดือนมีการเปลี่ยนแปลง

ความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเมื่ออนาบอลิกสเตียรอยด์ในผู้ชาย

  • อัณฑะหดตัวลง
  • รู้สึกปวด แสบ เมื่อปัสสาวะ
  • หน้าอกหนาขึ้น
  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
  • มีปริมาณอสุจิลดลง และเกิดภาวะมีบุตรยาก

เนื่องจากการใช้ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ถือว่า ผิดกฎหมายและมีคำสั่งห้ามโดยองค์กรกีฬาอาชีพและสมาคมทางการแพทย์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีนักกีฬาบางท่านฝ่าฝืนใช้สเตียรอยด์อยู่ เพราะคิดว่าวิธีนี้จะทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน ยกตัวอย่างจากหลายกรณีที่เกิดขึ้นกับนักกีฬามืออาชีพชื่อดังที่ถูกตรวจพบว่า มีการใช้สเตียรอยด์ ทำให้อาชีพทางการกีฬาของพวกเขาถูกทำลายลงด้วย  หากคุณเป็นนักกีฬา การใช้สเตียรอยด์อาจไม่ใช่วิธีที่ฉลาดนักเพราะไม่เพียงเป็นการทำร้ายร่างกายของคุณเองแต่ยังเป็นการทำลายชื่อเสียงที่คุณสั่งสมมาด้วย การจะเป็นนักกีฬาดาวเด่นค้างฟ้าได้นั้น คุณจำเป็นต้องใช้ความมุ่งมั่น มีวินัย ขยันซ้อม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มั่นฝึกฝน เพียงเท่านี้คุณก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งยาอีกต่อไป

อันตรายและผลกระทบจากการใช้สเตียรอยด์ 

  • กดการหลั่งของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ทำให้สร้างได้น้อยลง หรือไม่พอกับความต้องการของร่างกาย
  • กดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ง่ายขึ้น
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ทำให้กระดูกผุ  
  • ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึก เช่น มีภาวะทางด้านอารมณ์ที่ก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้   หงุดหงิด
  • ความดันลูกตาสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นต้อหิน 

นอกจากนี้อาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจผู้อื่น หวาดระแวง ซึ่งผู้ใช้เตียรอยด์มักมีความเสี่ยงที่จะใช้ยาเสพติดอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วย เช่น แอลกอฮอล์ หรือโคเคน และแน่นอนยาเสพติดเหล่านี้ส่งผลเสียต่อตัวยาสเตียรอยด์

ผู้ใช้สเตียรอยด์แบบฉีดเข้าเส้นเลือดยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หรือเป็นโรคเอดส์สูงมาก หากมีการใช้เข็มร่วมกันกับผู้อื่น นอกจากนี้หากเข็มที่ใช้นั้นไม่สะอาดพอก็จะทำให้มีโอกาสติดโรคไวรัสตับอักเสบ หรือเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบอันเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้

การใช้สเตียรอยด์หลายชนิดในเวลาเดียวกันและภาวะเสพติดการใช้ยา

ผู้ใช้สเตียรอยด์บางท่านมีการใช้ยาแบบทบรอบคือ พวกเขาจะใช้ยาปริมาณมากกว่าสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน จากนั้นจะหยุดการใช้ยาชั่วคราวและจะกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีหลายคนที่ใช้สเตียรอยด์หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยวิธีการรับประทานยาแบบพีระมิดคือ ใช้ยาจากปริมาณน้อยไปหามากจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ รับประทานถี่มากขึ้น และรับประทานสเตียรอยด์หลากหลายชนิดมากขึ้น จากนั้นจะลดระดับการใช้ลงโดยทำเช่นนี้ตามตารางและรอบเวลา   ผู้ใช้เชื่อว่า การใช้สเตียรอยด์หลายชนิดในเวลาเดียวกันจะทำให้ยาแต่ละตัวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และการใช้ยาแบบพีระมิดจะทำให้ร่างกายคุ้นเคยกับการใช้ยาในปริมาณมากๆ ในช่วงพักจากการใช้ยาร่างกายก็จะกลับมาสู่สภาพปกติอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบผลของการศึกษาวิจัยใดๆ สนับสนุนความเชื่อเหล่านี้แต่อย่างใด

ผู้ใช้หลายท่านมักบอกว่า พวกเขาจะใช้เตียรอยด์เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ทว่าสเตียรอยด์ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการเสพติดได้จึงต้องใช้สเตียรอยด์ต่อไปเรื่อยๆ   เมื่อหยุดใช้สเตียรอยด์ก็จะมีอาการขาดยา เช่น ไม่อยากอาหาร หดหู่ เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน และเกิดภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

แม้ว่า สเตียรอยด์จะมีประโยชน์หลากหลาย แต่การใช้สเตียรอยด์ควรอยู่ในการแนะนำและการควบคุมของแพทย์อย่างเคร่งครัด  หลีกเลี่ยงการซื้อยาสเตียรอยด์มารับประทานเองอย่างเด็ดขาดรวมทั้งระมัดระวังการซื้อยาสมุนไพรลูกกลอน หรือยาชุดแก้เมื่อย ยาชุดแก้หวัด  หรือยาที่ไม่มีฉลากกำกับ ที่มักมีการผสมสเตียรอยด์เพื่อหวังผลในการรักษา หากสงสัยว่า มีอาการข้างเคียงจากสเตียรอยด์ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป