กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)

อารมณ์หงุดหงิด เป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้โดยทั่วไป แต่ถ้าเกิดบ่อย หรือเกิดเป็นประจำ อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเจ็บป่วย ฮอร์โมนแปรปรวน และโรคทางจิตเวช
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)

อารมณ์หงุดหงิด (Irritability) คือ ภาวะที่กายใจไม่สงบ ปั่นป่วน กระวนกระวาย ผู้ที่กำลังมีอาการนี้จะหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ซึ่งอาจพบอาการนี้ได้ขณะกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ตึงเครียด นอกจากนี้อาการหงุดหงิดก็อาจเป็นส่วนหนึ่งของโรคทางจิตเวชได้อีกด้วย

เด็กทารกและเด็กเล็กมักมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย โดยเฉพาะเมื่อเหนื่อย อ่อนเพลีย หรืออยู่ในช่วงเจ็บป่วย ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอารมณ์หงุดหงิดจากหลายเหตุผล แต่เมื่อไรก็ตามที่รู้สึกหงุดหงิดง่าย หรือหงุดหงิดเป็นประจำ แนะนำให้เข้าพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคที่เป็นอยู่ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการที่พบร่วมกับอารมณ์หงุดหงิด

ในบางกรณี อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมกับอารมณ์หงุดหงิด เช่น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว สับสน แต่ถ้าอารมณ์หงุดหงิดมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ร้อนวูบวาบ ประจำเดือนมาผิดปกติ อารมณ์ทางเพศลดลง และผมร่วง

สาเหตุของอารมณ์หงุดหงิด

อารมณ์หงุดหงิดมีสาเหตุหลายประการ โดยแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ปัจจัยทางกาย เช่น การอดนอน น้ำตาลในเลือดต่ำ การติดเชื้อที่หู ปวดฟัน โรคเบาหวาน ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  2. ปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคจิตเภท โรคออทิซึม เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว โรคหรือสภาวะของร่างกายที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ก็สามารถส่งผลต่ออารมณ์ได้ เช่น การหมดประจำเดือน กลุ่มอาการ PMS ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ เป็นต้น

การวินิจฉัยสาเหตุของอารมณ์หงุดหงิด

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์ รายการยาที่กำลังใช้อยู่ ประวัติการเป็นโรคทางจิตเวช พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนอนหลับ การดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงความเครียดและสาเหตุของความเครียด เพื่อนำมาใช้ประกอบการวินิจฉัย

นอกจากนี้แพทย์อาจให้มีการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของอารมณ์หงุดหงิด เช่น

  • ระดับฮอร์โมนบางชนิดในเลือด เพื่อบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดและในปัสสาวะ เพื่อบ่งชี้ถึงการเป็นโรคเบาหวาน

การรักษาสาเหตุของอารมณ์หงุดหงิด

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาอารมณ์หงุดหงิดคือการรักษาที่สาเหตุ หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช หรือมีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ คาเฟอีน นิโคติน และอาการถอนจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยควบคุมอารมณ์ ร่วมกับการรักษาด้วยการบำบัดด้วยการพูดคุย (Talk Therapy)  

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอารมณ์หงุดหงิดเป็นอาการหนึ่งจากการติดเชื้อ อารมณ์หงุดหงิดจะดีขึ้นเองเมื่อหายจากการติดเชื้อ ซึ่งแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือยาอื่นๆ เพื่อช่วยรักษาการติดเชื้อดังกล่าว

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยควบคุมอารมณ์ เช่น

  • ปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน
  • ออกกำลังกายมากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และนอนหลับให้เป็นเวลา
  • การฝึกควบคุมความเครียด

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
April Kahn, What Causes Irritable Mood? (https://www.healthline.com/symptom/irritable-mood), October 19, 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป