โรคติดเชื้อ IPD พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี แต่ป้องกันได้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคติดเชื้อ IPD พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี แต่ป้องกันได้

โรคติดเชื้อ IPD (IPD, ย่อมาจาก Invasive pneumococcal disease) หรือ โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส (Invasive Pneumococcal Infection) เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อ นิวโมคอกคัส ที่สามารถติดต่อกันได้ระหว่างคนสู่คน, โรคนี้สามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆเพิ่ม ได้ในหลายส่วนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่ที่จะเป็นคือ ปอดอักเสบ และเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่โรคติดเชื้อ IPD นี้สามารถรักษาได้ และมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคด้วย สามารถพบโรคนี้ได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีลงไป เนื่องมาจากร่างกายยังมีภูมิคุ้มกันน้อย 

สาเหตุการเกิดโรคและการติดเชื้อ IPD

โรค IPD เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอกคัส จากผู้ที่มีเชื้อนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือเป็นเพียงพาหะของโรคก็สามารถติดได้เช่นกัน ดังนั้นจึงสามารถพบโรคนี้ได้มาก ในสถานที่ที่มีผู้อยู่อาศัยแน่นหนากว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของโรค IPD

เริ่มจากเมื่อเชื้อ IPD เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะก่อให้เกิดอาการภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับเชื้อ ซึ่งถือเป็นช่วงเป็นระยะฟักตัวของโรค โดยจะมีอาการผิดปกติแสดงออกมาได้หลากหลายดังนี้

  • อาการไซนัสอักเสบ
  • อาการหูติดเชื้อหรือหูชั้นกลางอักเสบ
  • อาการปอดอักเสบหรือปอดบวม
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ข้ออักเสบ
  • กระดูกอักเสบ
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

ตรวจวิเคราะห์อย่างไรจึงจะรู้ว่าติดเชื้อ IPD?

การตรวจว่าร่างกายติดเชื้อ IPD หรือไม่ จะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจ โดยแพทย์จะทำการตรวจตามอาการของโรคก่อน แล้วจึงค่อยขยายผลด้วยกระบวนการย้อมสีดูเชื้อ และเพาะเชื้อเพื่อตรวจ โดยแพทย์จะเอาสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคที่เป็น มาตรวจเพื่อดูเชื้อ เช่น เป็นโรคปอดอักเสบก็ต้องเอาเสมหะมาตรวจหาเชื้อ เป็นต้น 

แนวทางในการรักษา

การรักษาเชื้อ IPD มีสองทางหลักๆ ก็คือ

  1. การให้ยาฆ่าเชื้อ โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาส่วนใหญ่จะให้ยา ที่ครอบคลุมการฆ่าเชื้อตัวหลักๆ อยู่แล้วรวมถึงเชื้อ IPD ด้วย แต่ถ้าเป็นเชื้อ IPD ที่เป็นชนิดดื้อยาแพทย์ก็จะทำการเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าเชื้อใหม่
  2. การรักษาแบบตามอาการ ของโรคที่เป็นอยู่ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ IPD 

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ IPD 

โรค IPD เป็นโรคที่ป้องกันได้ และมีทางรักษาให้หาย และพบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี หรือ ผู้ใหญ่ที่อายุมากๆ จึงไม่ต้องเป็นกังวลมาก แต่ถึงอย่างไร หากเราอยู่ในกลุ่มผู้เสี่ยง ก็ควรต้องป้องกันตัวเองจากโรคนี้ในเบื้องต้นด้วยการฉีดวัคซีน โดยจะมีวัคซีน 2 ชนิด คือชนิดสำหรับผู้ใหญ่ และชนิดสำหรับเด็ก

วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่

สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปควรฉีดทุกๆ 5 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 19-64 ปี

ถ้ามีสุขภาพแข็งแรงดีก็ไม่ต้องฉีดก็ได้ เนื่องจากสุขภาพแข็งแรงดี ภูมิต้านทานของร่างกายสามารถต้านทานโรคนี้ได้ 

วัคซีนสำหรับเด็ก

ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีให้ฉีดทั้งหมด 4 ครั้งโดยแบ่งเป็น 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และครั้งสุดท้ายเมื่ออายุ 12-15 เดือน

แต่ถ้าเด็กอายุ 1-5 ปีและไม่เคยได้วัคซีนมาก่อน ควรฉีดอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีจนถึง 18 ปีและสุขภาพแข็งแรงดี ไม่จำเป็นต้องฉีดแล้วไม่ว่าจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนหรือไม่เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถป้องกันเชื้อ IPD ได้ 

อย่างไรก็ดี โรค IPD เป็นโรคที่เกิดกับทุกคนที่ภูมิต้านทานร่างกายไม่แข็งแรง การป้องกันโรคควรเริ่มต้นจากการทำให้ร่ายกายแข็งแรง หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และหากพบอาการต้องสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาโรคที่จะเกิด 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pneumococcal Disease | Surveillance Reporting and Trends. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/pneumococcal/surveillance.html)
Pediatric Invasive Pneumococcal Disease in the United States in the Era of Pneumococcal Conjugate Vaccines. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3416489/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)