ทำ Iontophoresis การใช้กระแสไฟฟ้าผลักยาสู่ผิวหนัง

รวมข้อมูลการทำไอออนโตโฟรีซิส (Iontophresis) อีกทางเลือกรักษาอาการบาดเจ็บ และบำรุงผิวหน้าด้วยกระแสไฟฟ้า
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ทำ Iontophoresis การใช้กระแสไฟฟ้าผลักยาสู่ผิวหนัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การทำไอออนโตโฟรีซิส คือ กระบวนการรักษาอาการบาดเจ็บเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ บาดแผล และความผิดปกติอื่นๆ ทั้งยังเป็นที่นิยมในการบำรุงผิวหน้าให้ขาวใสด้วย
  • วิธีการทำไอออนโตโฟรีซิส จะเป็นการนำอุปกรณ์ขั้วไฟฟ้าไปติดตั้งบริเวณส่วนของร่างกายที่ต้องการรักษา จากนั้นแพทย์จะส่งกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ที่ไม่เป็นอันตราย เพื่อผลักสารเคมี หรือยาเข้าสู่ใต้ผิวผู้ป่วย
  • อาการเจ็บป่วยหลักๆ ที่นิยมใช้การทำไอออนโตโฟรีซิสรักษา ได้แก่ อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจากการเล่นกีฬาและภาวะเหงื่อออกมาก
  • ผลข้างเคียงจากการทำไอออนโตโฟรีซิสมักไม่เป็นอันตราย ส่วนมากจะเป็นปัญหาผิวแห้ง ผิวเป็นขุยหรือเป็นรอยแดงซึ่งรักษาได้ง่ายโดยการทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้น
  • หญิงมีครรภ์และผู้ป่วยบางกลุ่มต้องระมัดระวังในการทำไอออนโตโฟรีซิส และควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า อาการเจ็บป่วยของตนและภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ เหมาะสมกับการทำไอออนโตโฟรีซิสหรือไม่ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย  

แม้ว่าการทำไอออนโตโฟรีซิสจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะตัวเลือกสำหรับการรักษาฝ้า ริ้วรอยจุดด่างดำ รวมถึงบำรุงผิวหน้าให้ขาวใส

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ความจริงแล้วการทำไอออนโตโฟรีซิสคิดค้นขึ้นมาเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ รวมถึงบาดแผล และภาวะความผิดปกติหลายอย่างของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นวันนี้เรามาดูกันว่า นอกจากคุณประโยชน์ด้านความงามของผิวหน้า การทำไอออนโตโฟรีซิสมีกระบวนการรักษาภาวะความผิดปกติอะไรได้บ้าง แล้วมีขั้นตอน ข้อควรระวังในการทำอย่างไร

การทำ Iontophoresis คืออะไร?

การทำไอออนโตโฟรีซิส (Iontophoresis) คือ กระบวนการรักษาอาการบาดเจ็บของร่างกาย ผ่านการใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ พาสารเคมี หรือยาซึมเข้าไปใต้ชั้นผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บต่างๆ

ในช่วงแรก การทำไอออนโตโฟรีซิสมักเป็นที่นิยมในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis disorder) บริเวณมือและเท้า 

แต่ปัจจุบันกระบวนการนี้ได้มีการพัฒนาให้สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยที่หลากหลายมากขึ้น เช่น

  • อาการกล้ามเนื้ออักเสบ (Inflammation)
  • อาการบวมน้ำ (Edema)
  • อาการผื่นขึ้น หรือมีตุ่มบวม (Swelling)
  • บาดแผลที่เนื้อเยื่อฉีกขาด (Scar tissue)
  • อาการเจ็บกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย หรือยกของหนัก (Muscle pain)
  • อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle spasms)
  • อาการในช่วงวัยหมดประจำเดือน (Menopause)
  • อาการไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)

ขั้นตอนการทำ Iontophoresis

การทำไอออนโตโฟรีซิสจะกระทำผ่านการกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ที่ต่างศักย์กัน ในการนำตัวยา หรือสารเคมีที่ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยเข้าสู่ผิวหนัง

กล่าวคือ หากตัวยา หรือสารเคมีดังกล่าวเป็นประจุบวก ก็จะต้องใช้กระแสไฟฟ้าที่เป็นขั้วบวกเช่นกันในการผลักสารเข้าสู่ผิวหนัง แต่หากตัวยา หรือสารเคมีเป็นประจุลบ ก็ต้องใช้กระแสไฟฟ้าขั้วลบในการผลักสาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นตอนการทำไอออนโตโฟรีซิสจะมีดังนี้

  1. ติดตั้งอุปกรณ์ขั้วไฟฟ้าบริเวณที่ทำการรักษา
  2. ผู้ป่วยจะแช่ตัว หรืออวัยวะส่วนที่ต้องการรักษาลงในอ่างน้ำ
  3. แพทย์ หรือพยาบาลจะเปิดเครื่องส่งกระแสไฟฟ้าไปยังขั้วไฟฟ้าที่แปะอยู่ จนผู้ป่วยรู้สึกชาเบาๆ บริเวณดังกล่าว

โดยปกติ ระยะเวลาในการทำไอออนโตโฟรีซิสจะอยู่ที่ประมาณ 10-40 นาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนบริเวณที่ผู้ป่วยต้องการรักษา

นอกจากนี้ในระหว่างทำไอออนโตโฟรีซิส ผู้ป่วยอาจรู้สึกชา หรือระบมเบาๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และอย่าตกใจหากผิวหนังบริเวณที่แปะขั้วไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะถือเป็นผลข้างเคียงปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป

ความถี่ของการทำไอออนโตโฟรีซิสนั้นมักอยู่ที่ประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์จนกว่าอาการที่ต้องการรักษาจะดีขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องมาพบแพทย์ตามตารางนัดประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้งด้วย เพื่อติดตามผลการรักษา

หลายคนอาจกังวลว่า กระแสไฟฟ้าจากการทำไอออนโตโฟรีซิสจะเป็นอันตราย แต่ไม่จำเป็นต้องกังวล เนื่องจากกระบวนการรักษาวิธีนี้ใช้เพียงกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เท่านั้น ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือทำให้ช็อกได้

การทำ Iontophoresis มีกี่ประเภท?

การทำไอออนโตโฟรีซิสรักษาอาการเจ็บป่วยได้หลากหลาย แต่ส่วนมากกระบวนการรักษานี้มักจะใช้รักษาอาการเจ็บป่วยอยู่ 2 อาการหลักๆ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. การทำ Iontophoresis สำหรับรักษาภาวะเหงื่อออกมาก

ภาวะเหงื่อออกมากถือเป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ภาวะฮอร์โมน ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

การทำไอออนโตโฟรีซิสเพื่อรักษาภาวะนี้นิยมใช้กับบริเวณมือและเท้า โดยจะใช้เวลาในการผลักตัวยาเข้าสู่ผิวหนังประมาณ 25-45 นาที และมักต้องรักษามากกว่า 1 ครั้ง

ผู้ป่วยภาวะนี้มักจะได้รับการออกแบบตารางการรักษาจากแพทย์โดยตรง เพราะจะต้องมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องว่า ภาวะนี้ดีขึ้นแล้วหรือไม่ ตามแต่อาการของผู้ป่วยซึ่งต่างกันออกไป

ผู้ป่วยบางรายอาจรับคำแนะนำจากแพทย์ให้ซื้อเครื่องทำไอออนโตโฟรีซิสไว้ที่บ้านด้วย

2. การทำ Iontophoresis สำหรับรักษาบาดแผลจากการเล่นกีฬา

บาดแผลจากการเล่นกีฬาในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่บาดแผลฉีกขาด หรือแผลถลอกภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาการกล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อหดเกร็ง อาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือยกของหนักเกินไป

โดยปกติแพทย์จะเพิ่มยาแก้อักเสบลงไปในอ่างน้ำสำหรับทำไอออนโตโฟรีซิสด้วย เพื่อให้อาการอักเสบจากข้างในดีขึ้น

การรักษาประเภทนี้มักใช้เวลาน้อยกว่าการรักษาภาวะเหงื่อออกมาก โดยจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 นาที แต่อาจนานขึ้น หากมีอาการบาดเจ็บหลายจุด

แต่ถึงแม้ระยะเวลาการรักษาประเภทนี้จะสั้น แต่ความถี่ในการมาพบแพทย์เพื่อผลักยาเข้าสู่ผิวหนังนั้นอาจบ่อยกว่าผู้ป่วยภาวะเหงื่อออกมาก

บริเวณที่สามารถทำ Iontophoresis ได้

โดยปกติ คุณสามารถทำไอออนโตโฟรีซิสบริเวณอวัยวะที่เกิดการบาดเจ็บได้ทั้งนั้น แต่ส่วนมากกระบวนการนี้มักจะทำบริเวณแขน ขา และเท้า ส่วนบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อนว่า สามารถทำได้หรือไม่

นอกเหนือจาก 3 บริเวณของร่างกายที่ได้รับความนิยมแล้ว ผู้คนยังนิยมทำไอออนโตโฟรีซิสบริเวณใบหน้าอีกด้วย เพราะไอออนโตโฟรีซิสมีคุณสมบัติช่วยลดปัญหารอยฝ้า ความหมองคล้ำ จุดด่างดำ และทำให้ดูผิวกระจ่างใสขึ้น

อีกทั้งในปัจจุบัน ผู้คนยังนิยมทำไอออนโตโฟรีซิสเพื่อผลักวิตามินสู่ผิวโดยตรงอีก

ข้อควรระวังในการทำ Iontophoresis 

กลุ่มคนต่อไปนี้ควรแจ้งแพทย์ก่อนจะขอทำไอออนโตโฟโรซิส เพื่อป้องกันผลข้างเคียงร้ายแรง

  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยโรคลมบ้าหมู
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • ผู้ที่มีเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจติดกับตัว หรือมีอุปกรณ์เสริมเหล็กอยู่ในร่างกาย เช่น ข้อต่อเทียม

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้หาวิธีรักษาอื่นๆ แทน

ในผู้ที่มีบาดแผลค่อนใหญ่และกลัวว่าบาดแผลจะเปิด หากได้รับอนุญาตให้ทำไอออนโตโฟรีซิสได้ แพทย์อาจใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณแผลก่อนที่จะเริ่มส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อผลักยา ปากแผลจะได้ไม่เปิดในระหว่างรักษา

อีกคำแนะนำสำหรับผู้ที่ทำไอออนโตโฟรีซิสเองที่บ้าน หากรู้สึกว่า การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร คุณอาจลองปรึกษากับแพทย์ว่า ได้พลาดขั้นตอนอะไรไปหรือไม่ 

หรืออาจเติมเบกกิ้งโซดาลงไปในน้ำประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อเพิ่มเกลือแร่และสารละลายที่มีประจุไฟฟ้า (Electrolyte)

ผลข้างเคียงจากการทำ Iontophoresis

การทำไอออนโตโฟรีซิสเป็นกระบวนการรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัย หากมีผลข้างเคียงก็มีเพียงแค่เล็กน้อย ไม่ได้เป็นอาการรุนแรงแต่อย่างใด

ผลข้างเคียงที่พบได้มากจากการทำไอออนโตโฟรีซิส ได้แก่ 

  • ผิวแห้ง 
  • ผิวหนังเป็นตุ่มพอง 
  • ผิวลอก หรือเป็นขุย 
  • รู้สึกคัน หรือระคายเคือง 

สามารถบรรเทาได้ง่ายๆ โดยการทาโลชันเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว

การปฏิบัติตนหลังจากทำ Iontophoresis

แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำหลังจากทำไอออนโตโฟรีซิสเสร็จแล้ว

โดยในเบื้องต้นคุณควรหลีกเลี่ยงไม่ประคบร้อน หรือประคบเย็นบริเวณที่เพิ่งผลักยา หรือสารเคมี เพราะความเย็นและความร้อนจากการประคบอาจล้างเอาตัวสารที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยออกไปหมด

ราคาการทำ Iontophoresis

คุณสามารถเข้าปรึกษาแพทย์และทำไออนโตโฟรีซิสได้ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกความงามชั้นนำต่างๆ 

ปัจจุบันการทำไอออนโตโฟรีซิสเป็นที่รู้จักมากขึ้นในส่วนของการบำรุงรักษาผิวหน้าให้ดูกระจ่างใส มากกว่ารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ

ราคาการทำไอออนโตโฟรีซิสโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและโปรโมชันของทางโรงพยาบาลและคลินิก

อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยและให้การทำไอออนโตโฟรีซิสมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำเสมอ และเลือกใช้บริการใช้โรงพยาบาล หรือคลินิกที่ได้มาตรฐานเท่านั้น 

เนื่องจากสถานพยาบาลเหล่านั้นมักเลือกใช้เครื่องมือที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (อย.) แล้ว

ในประเทศสหรัฐอเมริกาเครื่องที่ได้รับการอนุมัติจะแบ่งเป็นสองแบบ แบบแรก คือ "clear" หมายถึง เครื่องมือรุ่นดังกล่าวมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับรุ่นที่เคยได้รับการอนุมัติมาก่อน 

ส่วนแบบที่สองคือ "approved" ซึ่งใช้กับรุ่นที่มีกรรมวิธีใหม่ๆ และไม่เคยมีการใช้วิธีการนั้นในท้องตลาดมาก่อน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Reinauer, S.; Neusser, A.; Schauf, G.; Holzle, E. (1993). "Iontophoresis with alternating current and direct current offset (AC/DC iontophoresis): a new approach for the treatment of hyperhidrosis". British Journal of Dermatology. 129 (2): 166–169. doi:10.1111/j.1365-2133.1993.tb03521.x. ISSN 0007-0963
Guy, Richard H.; Kalia, Yogeshvar N.; Delgado-Charro, M.Begoña; Merino, Virginia; López, Alicia; Marro, Diego (2000). "Iontophoresis: electrorepulsion and electroosmosis". Journal of Controlled Release. 64 (1–3): 129–132. doi:10.1016/S0168-3659(99)00132-7. ISSN 0168-3659.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)