กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความเป็นจริงของภาวะติดเกมออนไลน์มากผิดปกติ (Internet Gaming Disorder)

ผู้ที่เล่นเกมออนไลน์มากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเป็นจริงของภาวะติดเกมออนไลน์มากผิดปกติ (Internet Gaming Disorder)

ก่อนจะเริ่มต้น มาดูการตอบสนองในการเรียกร้องให้หยุดการเล่นวิดีโอเกมในบ้าน ประมาณร้อยละ 10 ของนักเล่นเกมอินเตอร์เน็ตเป็นเด็กวัยรุ่น เล่นมากจนเรียกว่า "การเสพติดเกม" 

การเสพติดเกมที่ว่านี้หมายถึง การเล่นเกมที่มากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันในทุกจุดทั่วโลก ทำให้มีความบกพร่องในการทำงาน การคบเพื่อน และความรัก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่สำหรับคนบางกลุ่ม การติดเกมจะคล้ายกับอาการติดสารเสพติด (เพื่อเป็นจุดเด่น ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ลดความขัดแย้ง มีอาการถอนยา มีความอยาก และการกำเริบของโรค)

ฉันเพิ่งอ่านความคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะติดเกมออนไลน์มากผิดปกติ (Internet Gaming Disorder) แบบเสพติดที่ตีพิมพ์ใน The International Journal of Mental Health Addiction เขียนโดย Daria Joanna Kuss and Mark D.Griffiths ได้ให้ข้อมูลที่เหมือนเปิดตาให้รับแสงในโลกมืดของภาวะติดเกม ดังนี้

บุคลิกภาพของนักเล่นเกม

แม้ว่า จะมีลักษณะของบุคลิกภาพที่แตกต่างออกไป คนที่ติดเกมโดยทั่วไปจะถูกจัดเป็นโรคประสาท ชอบเก็บตัว และวู่วาม นักวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนที่ติดเกมบางคนยังแสดงลักษณะ ดังต่อไปนี้ด้วย

  • ความนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem)
  • วุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ (low emotional intelligence)
  • ความผิดปกติของบุคลิกภาพชนิดหลีกเลี่ยงสังคมและชนิดเพ้อฝันสันโดษ (avoidant and schizoid personality disorders)
  • ความประนีประนอม (agreeableness) ลดลง
  • หลงตัวเอง (narcissism)
  • ประพฤติตัว "เลวร้าย" ในสถานการณ์จริงและ "ยิ่งใหญ่" ในสถานการณ์สมมุติ

แรงจูงใจในการเล่นเกม

  • Firefall หรือ Planetside เป็นเกมที่เล่นกันหลายๆคนเล่นบทบาทสมมุติเป็นนักยิงปืนคนแรก
  • World of Warcraft เป็นเกมจำลอง (ชีวิตที่สอง)
  • Call of Duty เกมยิงปืนครั้งแรกๆ

ทุกเกมจะเป็นสังคมที่มีนักเล่นเกมเป็นล้านๆ คน นอกเหนือไปจากความเพลิดเพลินและความพึงพอใจ การมีสังคมในโลกสมมุติเสมือนบังคับให้คนที่มีความผิดปกติจากการเล่นเกมจำเป็นต้องเล่นต่อไป 

นักวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า หลายคนที่ติดเกมมีปัญหาด้านการเผชิญอุปสรรค จึงระบายออกด้วยการเล่นเกม

ปัญหาด้านพยาธิสรีรวิทยา

นักเล่นเกมมักเล่นในระดับที่เพิ่มขึ้นของความเร้าใจและความตื่นเต้นในรูปแบบที่ต้องพึ่งพาอาศัยมากขึ้น ไม่มีความชัดเจนว่า การเพิ่มขึ้นของความตื่นเต้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทำให้อยากเล่นเกมมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การเล่นเกมมากเกินไปมีผลต่อร่างกายและจิตใจ นอนหลับยาก มีปัญหาความจำและการพูด

นักวิจัยชี้ว่า ผู้ที่ติดวิดีโอเกมมักมีปัญหาทางพันธุกรรมในระบบโดปามีน (genetic polymorphisms in the dopaminergic system) จากการตรวจทาง MRIs (การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging) และมีความคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ในคนติดสารเสพติดและคนติดการพนัน

จากมุมมองของนักจิตเวช ผู้ที่ติดเกมมีการเชื่อมโยงกับความวิตกกังวล ซึมเศร้า โรคตื่นตระหนก และอื่นๆ และในคนที่มีภาวะติดเกมจะมีความก้าวร้าว ความเครียด ความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีๆ ลดลง และคิดฆ่าตัวตาย

การรักษาภาวะติดเกม

การรักษาต้องมีการวินิจฉัย The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM) ยังไม่ได้จำแนกความผิดปกติของการติดเกมเป็นความผิดปกติด้านจิตวิทยา ยังรอการวิจัยต่อไปในหัวข้อนี้ (ขณะนี้การวิจัยส่วนมากได้ดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างเพศชายชาวเอเชีย) 

อย่างไรก็ตาม มีการนำแนวทางจิตเวชมาใช้ในการรักษาภาวะนี้และได้ผลดี เป็นการหนุนให้จัดภาวะติดเกมเป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง

การเล่นเกมทำให้เราสามารถที่จะสำรวจโลกใหม่และโต้ตอบกับผู้อื่น ได้รับวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น สิ่งเดียวที่แยกเราจากโลกเสมือน คือ เนื้อหนังมังสา ผู้คนสามารถเป็นใครก็ได้ที่ต้องการในโลกสมมุติ มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหลายๆ คนดูอวตารภาคสมมุติของตัวเอง 

อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติของการเล่นเกมอินเตอร์เน็ตเป็นปรากฏการณ์จริงที่น่ากลัวและการเล่นเกมที่มากเกินทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เป็นเรื่องอันตราย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Internet Gaming Disorder in Adolescents With Psychiatric Disorder: Two Case Reports Using a Developmental Framework (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6524313/)
อาจารย์นายแพทย์คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ม พญ. กษมา เทพรักษ์,พญ. ภัทริการ์ โฮ, พญ.ปรารถนา สวสัดสิธา, nteresting Topic :Internet Gaming Disorder (https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Internet%20gaming%20addiction.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)

มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5)

อ่านเพิ่ม
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน

เรียนรู้เพิ่มจากอีกตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง

อ่านเพิ่ม