คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้องทางทวารหนัก

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้องทางทวารหนัก

อย่างแรกเลยก็คือ คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อคุณอายุมากกว่า 50 ปีหรือแพทย์แนะนำให้ตรวจก่อนหน้านั้น การตรวจส่องกล้องทางทวารหนักนั้นเป็นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนักซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อย ส่วนมากมักจะเริ่มจากการมีติ่งเนื้องอกขึ้นมาผิดปกติ ซึ่งการตรวจส่องกล้องนี้สามารถตรวจพบ และตัดนำมาตรวจสอบได้

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำของเราเกี่ยวกับการตรวจส่องกล้องทางทวารหนัก

“มันไม่ได้ยากกว่าการไปพบทันตแพทย์เลย”
สิ่งที่ยากที่สุดนั้นอาจจะเป็นการนัดตรวจ ซึ่งอาจจะแย่ยิ่งกว่าขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนส่องกล้องที่แพทย์จะให้คุณดื่มน้ำหรือรับประทานยาถ่ายเพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดเวลาส่องกล้องเสียอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

“ฉันสบายดี ทำไมต้องตรวจ?”
การตรวจนี้เป็นการตรวจคัดกรองและความสำคัญของมันก็คือการที่จะสามารถตรวจพบติ่งเนื้อตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง

“ถามคำถาม 2 ข้อ”
หากคุณสงสัยว่าแพทย์ที่จะทำการตรวจนั้นมีความสามารถระดับไหน คุณอาจจะลองถามจำนวนครั้งที่พวกเขาทำในแต่ละวัน แต่ผู้ที่ต้องทำการตรวจมากกว่า 20 คนต่อวันนั้นอาจจะมีอาการอ่อนเพลียหรืออยากจะรีบตรวจให้เสร็จได้

“แบ่งเวลาในการเตรียมตัว”
ให้รับประทานเครื่องดื่มที่ต้องใช้ในการเตรียมตัวครึ่งหนึ่งในตอนเย็นของวันก่อนตรวจ และอีกครึ่งหนึ่งในตอนเช้าของวันที่ตรวจ มีงานวิจัยที่พบว่าวิธีนี้นั้นสามารถทำความสะอาดทางเดินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

“มีอาการท้องผูก? ลองปรับอาหารในช่วงก่อนที่จะตรวจ”
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องรับประทานอาหารเหลวไม่มีสีในเช้าวันที่จะตรวจ แต่หากคุณมีแนวโน้มที่จะท้องผูก แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานอาหารเหลวนี้มากกว่า 1 วันร่วมกับอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนหน้าวันนัดตรวจ เนื่องจากเส้นใยอาหารนั้นย่อยได้ยากและต้องใช้เวลา

“บอกแพทย์ให้ช่วยดูดอากาศออกหลังตรวจ”
ในขณะที่ตรวจนั้น แพทย์จะมีการพ่นอากาศเข้าไปในทางเดินอาหารเพื่อให้ทางเดินอาหารขยายตัวและเห็นภาพชัดมากขึ้น แพทย์บางคนอาจใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทนเพราะว่าสามารถกำจัดออกจากร่างกายได้เร็วกว่าและลดอาการท้องอืด หากแพทย์ของคุณใช้อากาศ ลองขอให้เขาช่วยดูดอากาศออกหลังจากตรวจเสร็จ


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anesthesia and Perioperative Care - Essential Surgery. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK333510/)
Muluk V, et al. Perioperative medication management. https://www.uptodate.com/contents/search.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป