กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด (ชักนำการคลอด)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด (ชักนำการคลอด)

หากแพทย์มีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารกและสุขภาพของคุณในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการชักนำการคลอดหรือเร่งคลอด เราเรียกว่าการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด (inducing labor หรือ induction) ซึ่งจะเร่งให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่รอให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติ แพทย์จะพิจารณาใช้ยาหรือใช้หัตถการต่างๆ เพื่อเร่งให้เกิดการคลอด

การชักนำการคลอดจะทำในหญิงตั้งครรภ์บางรายที่มีข้อบ่งชี้ แต่ก็ถือว่ามีความเสี่ยง ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำว่าการคลอดที่ดีที่สุดคือปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ยกเว้นว่ามีข้อบ่งชี้ (เหตุผลทางการแพทย์ที่ชัดเจนเพียงพอว่าต้องชักนำการคลอด)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำไมถึงต้องชักนำการคลอด?

ส่วนใหญ่ของการชักนำการคลอดจะทำเมื่อมีเหตุผลทางการแพทย์ที่ชัดเจน แต่หญิงตั้งครรภ์บางรายจะถูกชักนำการคลอดเพื่อความสะดวกของตนเอง หรือของแพทย์ หรือของพยาบาล แต่แพทย์โดยส่วนใหญ่จะไม่แนะนำให้ทำเช่นนี้ หากไม่มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นเพียงพอ

ทำไมหญิงตั้งครรภ์บางรายถึงจำเป็นต้องชักนำการคลอด?

  • การตั้งครรภ์ของคุณเลยวันครบกำหนดคลอดมาแล้ว 1-2 สัปดาห์: หลังจาก 41 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ทั้งคุณและทารกจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว
  • น้ำคร่ำแตก แต่การคลอดยังไม่เกิดขึ้น: เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก ทั้งคุณและทารกในครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คุณอาจไม่จำเป็นต้องทำการชักนำการคลอดในทันที แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะบางครั้งก็ยังคงปลอดภัยที่จะปล่อยให้การคลอดเกิดขึ้นด้วยตัวเอง ภายหลังอาการน้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน แพทย์จะจำกัดจำนวนครั้งของการตรวจช่องคลอด เพื่อลดโอกาสที่จะติดเชื้อ
  • คุณมีปัญหาทางสุขภาพที่อาจทำให้คุณหรือทารกมีความเสี่ยง: ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ครรภ์เป็นพิษ แพทย์อาจพิจารณาชักนำการคลอดให้คุณ
  • ผลการตรวจพบว่าทารกอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น: ถ้าทารกไม่ได้เติบโตอย่างเป็นปกติ หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ แพทย์อาจพิจารณาชักนำการคลอดให้คุณ

เหตุผลที่ไม่ควรชักนำการคลอด

เพิ่งเลยระยะเวลาครบกำหนดมาเพียงเล็กน้อย เช่น เพิ่งจะผ่าน 40 สัปดาห์มา อย่างนี้ก็ไม่ถือเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะชักนำการคลอด เพราะไม่ได้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น จนกว่าการตั้งครรภ์จะถึงสัปดาห์ที่ 41 หรือนานกว่านั้น

แพทย์บางรายอาจแนะนำให้ทำการชักนำการคลอดแบบนัดหมาย (elective inductions) สำหรับกรณีที่ไม่ใช่เหตุผลทางการแพทย์ เช่น คุณพักอาศัยอยู่ไกลจากโรงพยาบาล ทำให้แพทย์กังวลว่าคุณจะมาโรงพยาบาลไม่ทัน หากมีการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติเกิดขึ้น หรืออาจเป็นเพราะแพทย์ต้องการให้คุณคลอดตามตารางเวลาที่แพทย์สะดวก อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าก่อนทำการชักนำการคลอดแบบนัดหมาย คุณควรพิจารณาดูอีกครั้งก่อนทำ เพราะการชักนำการคลอดจะมีความเสี่ยงบางประการเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญโดยส่วนใหญ่จะแนะนำว่าหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรชักนำการคลอด หากไม่มีเหตุผลความจำเป็นทางการแพทย์

นอกจากนี้คุณไม่มีความจำเป็นต้องชักนำการคลอดเร็วเกินไป เพราะทารกที่คลอดก่อน 39 สัปดาห์ จะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพ, พักในโรงพยาบาลนานขึ้น, และต้องใช้เวลาดูแลอย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น

การชักนำการคลอดทำได้อย่างไร

วิธีการชักนำการคลอดมีหลายวิธี ที่กล่าวถึงด้านล่างนี้จะเรียงลำดับจากวิธีที่นิยมทำมากไปจนถึงวิธีที่นิยมน้อยกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ (Stripping the membranes): วิธีนี้แพทย์จะทำการสอดนิ้วชี้ที่สวมถุงมือแล้วเข้าไปในรูปากมดลูกเพื่อทำการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำออกจากผนังมดลูก ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูก วิธีนี้จะต้องทำที่โรงพยาบาล และอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้
  • ฮอร์โมน: ที่โรงพยาบาล แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนกับคุณ ซึ่งก็คือ พรอสตาแกรนดิน (prostaglandins) เพื่อเปิดปากมดลูกและกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูก ถ้าคุณเคยทำการผ่าตัดคลอดมาแล้วในครรภ์ก่อนหน้านี้ แพทย์จะไม่ใช้วิธีนี้กับคุณ เพราะวิธีนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของมดลูกแตกได้
  • การใช้บอลลูนถ่างขยายปากมดลูก: วิธีอื่นๆ ที่แพทย์จะใช้ในการชักนำการคลอดคือ การใช้บอลลูกถ่างขยายปากมดลูก เมื่อมาที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการสอดบอลลูนเข้าไปในรูปากมดลูกโดยตรง หลังจากนั้นแพทย์จะใส่น้ำเข้าไปในบอลลูนเพื่อให้บอลลูนขยายขนาดขึ้น ทำให้ปากมดลูกมีการเปิดขยาย
  • การใช้ยา: ยาอ็อกซี่โตซิน (oxytocin) จะทำให้มดลูกมีการหดตัว โดยการฉีดยานี้เข้าทางหลอดเลือดดำที่แขนขณะอยู่ที่โรงพยาบาล โดยแพทย์จะค่อยๆ ให้ขนาดยาทีละน้อยๆ และเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนกว่าจะมีการหดตัวแรงและมากเพียงพอสำหรับการให้กำเนิดทารก

ภายหลังกระบวนการนี้ คุณจะเดินทางกลับบ้านเพื่อรอการหดตัวของมดลูกที่จะเกิดขึ้น

ข้อมูลจากการศึกษาไม่เห็นด้วยกับการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำนี้ เพราะจะทำให้มารดารู้สึกไม่สุขสบาย ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียก่อนพิจารณาทำ

หญิงตั้งครรภ์บางรายจะเข้าสู่การคลอดภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากชักนำการคลอด แต่บางรายอาจใช้เวลา 1-2 วัน ถึงจะเข้าสู่การคลอด

หากกระบวนการชักนำการคลอดต่างๆ ข้างต้น ไม่สามารถทำให้คุณคลอดได้ จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดคลอดแทน โดยเฉพาะหากน้ำคร่ำแตกแล้ว

ความเสี่ยงจากการชักนำการคลอดมีอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้วการชักนำการคลอดถือว่ามีความปลอดภัย แต่ว่าก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ได้แก่:

  • เพิ่มโอกาสที่จะต้องผ่าตัดคลอด: ถ้าการชักนำการคลอดไม่สามารถทำให้เกิดการคลอดได้ แพทย์อาจตัดสินใจเปลี่ยนมาเป็นการผ่าตัดคลอดแทน
  • พักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น: ถ้าคุณได้รับการชักนำการคลอด คุณอาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาลนานขึ้น หากคุณจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดภายหลังการชักนำการคลอดไปแล้ว จะทำให้คุณต้องพักในโรงพยาบาลนานขึ้น
  • เพิ่มความต้องการยาแก้ปวด: การชักนำการคลอดอาจทำให้มดลูกหดตัวแรงกว่าและบ่อยครั้งกว่ากระบวนการคลอดตามธรรมชาติ คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการบล็อกหลังหรือใช้ยาแก้ปวดใดๆ ก็ตามเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ: การทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ หากคุณยังไม่คลอดภายใน 1-2 วันหลังชักนำการคลอดแล้ว
  • ปัญหาสุขภาพของทารก: หญิงตั้งครรภ์ที่ชักนำการคลอดมักจะให้กำเนิดทารกเร็วกว่าปกติเล็กน้อย คืออยู่ในช่วง 37-39 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและปัญหาอื่นๆ ได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาพัฒนาการในระยะยาวได้
  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด: การชักนำการคลอด โดยเฉพาะการใช้ยา อาจไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือเคยได้รับการผ่าตัดมดลูกมาก่อน เพราะยาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมดลูกแตกได้ การหดตัวที่รุนแรงสามารถทำให้รกลอกตัวหลุดจากผนังมดลูกได้ เราเรียกว่า รกลอกตัวก่อนกำหนด (placental abruption) ทั้งสองกรณีนี้ถือเป็นภาวะร้ายแรง แต่ก็พบได้น้อย

หากแพทย์แนะนำให้คุณทำการชักนำการคลอด แนะนำให้ถามคำถามทุกอย่างที่คุณสงสัยก่อนทำ เพราะต้องต้องมั่นใจว่าการตัดสินใจนี้ส่งผลดีต่อคุณและทารกในครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ฉันสามารถชักนำการคลอดด้วยตนเองได้หรือไม่?

มีหลายวิธีที่เล่าต่อๆ กันมาว่าสามารถทำด้วยตนเองเพื่อชักนำการคลอดได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดสนับสนุนการกระทำต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์
  • การกระตุ้นหัวนมเบาๆ
  • การดื่มน้ำมันละหุ่งปริมาณเล็กน้อย
  • การเดิน

อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ทำการชักนำการคลอดด้วยตนเองไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม จนกว่าจะได้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์แล้ว เพราะบางวิธีจะเพิ่มความเสี่ยงได้

https://www.webmd.com/baby/guide/inducing-labor#1


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม