เห็ดนางฟ้า (Indian oyster mushroom)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เห็ดนางฟ้า (Indian oyster mushroom)

เห็ดนางฟ้า (Indian Oyster Mushroom) เป็นเห็ดที่อยู่ในตระกูลเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดนางรม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ลักษณะของเห็ดจะเป็นช่อดอกคล้ายรูปพัด มีสีขาวนวล หรืออาจพบสีน้ำตาลแซมอยู่บ้าง เนื้อนิ่ม เมื่อนำประกอบอาหารจะมีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์

ข้อมูลโภชนาการของเห็ดนางฟ้า

เห็ดนางฟ้า 100 กรัม มีพลังงาน 33.32 กิโลแคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สรรพคุณของเห็ดนางฟ้า

ประโยชน์ของเห็ดนางฟ้า มีดังนี้

  1. ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย โปรตีนในเห็ดนางฟ้า ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย และยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้ออีกด้วย
  2. ช่วยลดน้ำหนัก เห็ดนางฟ้ามีใยอาหารสูง และมีไขมันต่ำ เมื่อทานเข้าไปแล้ว จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มท้องนานขึ้น จึงลดความอยากอาหารได้เป็นอย่างดี หากออกกำลังกายควบคู่ ก็จะยิ่งทำให้น้ำหนักลดเร็วยิ่งขึ้น
  3. ควบคุมความดันโลหิต การรับประทานเห็ดนางฟ้าเป็นประจำ ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติได้ เนื่องจากในเห็ดนางฟ้ามีโปรตีนที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนขับน้ำ ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้
  4. ป้องกันอัลไซเมอร์ เห็ดนางฟ้าช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและระบบประสาท จึงชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี
  5. ลดการอักเสบ เมื่อเกิดการอักเสบขึ้นภายในร่างกาย การรับประทานเห็ดนางฟ้าจะสามารถบรรเทาอาการลงได้ เพราะเห็ดนางฟ้ามีสารบางอย่างที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
  6. ป้องกันโรคโลหิตจาง เห็ดนางฟ้ามีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง จากการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยกำจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย
  7. ยับยั้งการเกิดมะเร็งลำไส้ ในเห็ดนางฟ้า มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ที่ช่วยยับยั้งการทำลายของเซลล์ลำไส้ที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็ง ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
  8. ป้องกันโรคหวัด เห็ดนางฟ้า มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงสามารถป้องกันโรคหวัดได้เป็นอย่างดี

เมนูสุขภาพที่ทำจากเห็ดนางฟ้า

อาหารที่มีเห็ดนางฟ้าเป็นส่วนประกอบมีหลายเมนู ตัวอย่างเช่น

  1. น้ำพริกเห็ดนางฟ้า ตั้งกระทะใส่กระเทียม พริกขี้หนูลงไปคั่วให้สุก จากนั้นนำหอมแดง เห็ดนางฟ้า พริกหนุ่มมาเสียบไม้แล้วย่างบนเตาจนกว่าจะสุกหอม ลอกเปลือกพริกส่วนที่ไหม้ออก เอาเห็ดนางฟ้า พริกขี้หนูคั่ว กระเทียมคั่ว พริกหนุ่มย่าง ลงไปโขลกจนเข้ากัน ใส่น้ำปลา น้ำมะนาว กะปิ น้ำตาลปิ๊ป โขลกต่ออีกครั้ง ตักขึ้นเสิร์ฟคู่กับไข่ต้ม
  2. ยำเห็ดนางฟ้าทอดกรอบ นำเห็ดนางฟ้าไปล้างน้ำให้สะอาด ตัดโคนเห็ดออก ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมแป้งทอดกรอบและน้ำเย็นจัด ตอกไข่ไก่ใส่ลงไป ผสมให้เข้ากัน นำเห็ดนางฟ้าลงไปคลุกกับแป้งให้ทั่ว ตั้งกระทะใส่น้ำมันรอจนน้ำมันเดือด ใส่เห็ดลงไปทอดให้สุกเหลือง เมื่อเห็ดสุกแล้วตักขึ้น นำหมูสับไปรวนให้สุก ผสมน้ำยำโดยใช้พริกตำ น้ำปลา น้ำตาลทราย น้ำมะนาว และหมูสับลงไป นำน้ำซุปจากการรวนหมูใส่ลงไป ตามด้วยหอมแดงซอย แล้วนำน้ำยำมาเสิร์ฟคู่กับเห็ดทอดได้เลย
  3. ลาบเต้าหู้เห็ดนางฟ้า ต้มน้ำให้เดือด นำเต้าหู้ลงไปต้ม ตักขึ้นพักไว้ ใช้ส้อมยีเต้าหู้ให้แหลก ล้างเห็ดนางฟ้าแล้วนำมาหั่นรวมกับเห็ดหูหนู นำลงไปคั่วในกระทะจนเริ่มหอม นำเต้าหู้ที่เตรียมไว้ลงไปผสมกับเห็ด ใส่น้ำตาล น้ำมะนาว พริกป่น ซีอิ๊วขาว ผสมให้เข้ากัน ซอยผักชีโรยหน้า ใส่ข้าวคั่วลงไป ตักใส่จานยกขึ้นเสิร์ฟได้ทันที
  4. หมกเห็ดนางฟ้า นำเห็ดนางฟ้ามาล้างให้สะอาด ตัดโคนออก นำพริก หอมแดง ตะไคร้มาตำรวมกันให้ละเอียด ใส่ไข่เป็ดและน้ำปลาลงไปผสมให้เข้ากัน ฉีกเห็ดเป็นชิ้นใส่ลงไป ตามด้วยใบแมงลัก จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วตักใส่ใบตองที่ห่อเตรียมไว้ กลัดด้วยไม้กลัด นำไปย่างบนเตาจนสุก
  5. เห็ดนางฟ้าผัดน้ำมันหอย นำเห็ดนางฟ้ามาล้างน้ำให้สะอาด ตัดโคนเห็ดทิ้ง ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ตั้งกระทะใส่น้ำมันจนเริ่มร้อน ผัดกระเทียมให้หอม ตามด้วยใส่หมูที่หั่นแล้วลงไป ผัดจนหมูสุก ใส่น้ำมันหอย พริกไทย ซอสปรุงรส เห็ดนางฟ้า และต้นหอม จากนั้นปิดไฟ ตักใส่จาน

ข้อควรระวังในการบริโภคเห็ดนางฟ้า

ในเห็ดนางฟ้ามีสารเบต้ากลูแคน ซึ่งหากทานในปริมาณมากในผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะเกิดท้องเสีย แน่นท้อง ท้องเฟ้อ คลื่นไส้  แต่ในคนร่างกายแข็งแรงควรกินแบบปรุงสุก หากรับประทานเห็ดนางฟ้าเป็นครั้งแรก ควรเริ่มรับประทานเพียงเล็กน้อยก่อน เพื่อดูว่ามีอาการแพ้หรือไม่ หากพบว่าไม่มีอาการแพ้ ก็สามารถรับประทานได้ตามปกติ


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภก. ภูเบศร์ นิลาทะวงศ์, 6 ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารบีตากลูแคน (β-glucan) ในเห็ด (https://ccpe.pharmacycouncil.o...), 13 มิถุนายน 2560.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, ประโยชน์ของเห็ด มีดีมากกว่าความอร่อย (https://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic/780/สุขภาพ%20ดี/1231/อาหารเพื่อสุขภาพ/7959/ประโยชน์ของเห็ด%20มีดีมากกว่าความอร่อย/), 18 พฤศจิกายน 2016.
รศ. ปีติ พูนไชยศรี, เห็ดกับสุขภาพ (https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book55_2/health.htm), 2555.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป