รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปัญหา “ผิวบาง”

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปัญหา “ผิวบาง”

การมีผิวบางที่ฝ่ามือค่อนข้างเป็นเรื่องที่ธรรมดา อย่างไรก็ตาม เมื่อเราอายุมากขึ้น หนึ่งในปัญหาผิวที่เราอาจเผชิญก็คือ การมีผิวบางที่แขนและขา ซึ่งการมีผิวบางจะทำให้ผิวช้ำได้ง่ายขึ้น สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูสาเหตุของปัญหาผิวบาง วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

ผิวบางคืออะไร?

ผิวบางส่วนของร่างกายมีความบางโดยธรรมชาติ ผิวที่เปลือกตามีความหนาเพียงแค่ 0.5 มิลลิเมตรเท่านั้น ในขณะที่ผิวบริเวณฝ่าเท้าสามารถหนาได้มากถึง 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ผิวของเราประกอบไปด้วย 3 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นก็มีหน้าที่ต่างกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ชั้นใต้หนัง (Hypodermis) คือ ชั้นล่างที่สุดของผิวหนัง ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ ไขมัน และต่อมเหงื่อ
  • ชั้นหนังแท้ (Dermis) คือ ชั้นที่อยู่ถัดมา โดยมีเส้นประสาทและเลือดมาหล่อเลี้ยง
  • ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) คือ ชั้นที่อยู่ด้านนอกสุดของผิวหนัง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสิ่งสกปรกและแบคทีเรีย

อย่างไรก็ตาม การมีผิวบางคือการที่ผิวชั้นหนังกำพร้าไม่หนาอย่างที่มันควรจะเป็น นอกจากนี้มันก็สามารถเกิดจากการที่ชั้นใต้หนังมีไขมันน้อยลง การมีผิวบางลงไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ แต่มันอาจทำให้ผิวเสียหายหรือช้ำง่ายขึ้น

อาการของผิวบาง

ถ้าเรามีผิวบาง ผิวก็จะดูโปร่งใส และอาจทำให้ถึงขั้นเห็นเส้นเลือด กระดูก หรือเส้นเอ็นได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ผิวสามารถเกิดความเสียหายได้ง่าย ซึ่งเราอาจสังเกตเห็นว่าผิวช้ำ หรือฉีกขาดหลังจากบาดเจ็บเล็กน้อย การสูญเสียไขมันจากชั้นใต้หนังแท้จะทำให้ผิวดูอิ่มเอิบน้อยลง หรือทำให้ผิวดูบางลงนั่นเอง

สาเหตุของผิวบาง

  • อายุ: การมีอายุมากขึ้นถือเป็นสาเหตุพื้นฐานของการมีผิวบาง นอกจากนี้มันยังทำให้ผิวมีริ้วรอย มีความยืดหยุ่นน้อยลง ผิวแห้ง และผิวเสียหายง่ายขึ้น
  • แสงแดด: มีบทบาทสำคัญในการทำให้ผิวบางเมื่อเวลาผ่านไป ทั้ง UVA และ UVB สามารถทำลายเซลล์ผิว หรือทำให้เกิดความเสียหาย
  • สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์: การทำเช่นนี้จะยิ่งเร่งให้ผิวชราเร็วขึ้น และสามารถทำให้ผิวบางเมื่อเวลาผ่านไป
  • ครีมสเตียรอยด์: ครีมชนิดนี้สามารถทำให้เซลล์ในหนังกำพร้าเล็กลง ยาอาจส่งผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้ผิวมีริ้วรอยหรือหย่อนคล้อย
  • ยาชนิดอื่นๆ: ยาอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผิวบาง โดยอาจเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดทา ซึ่งยามักอยู่ในรูปแบบของครีม หรือออยท์เมนท์ และใช้รักษาปัญหาผิวอย่างโรคผื่นผิวหนังอักเสบ ทั้งนี้การใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทามีแนวโน้มทำให้เกิดผิวบางเมื่อเราใช้เป็นเวลานาน การทำตามขั้นตอนการใช้ยาจึงเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้ผิวควรจะกลับไปหนาตามปกติเมื่อหยุดใช้ยา โดยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ เพราะเซลล์ผิวต้องใช้เวลาในการสร้างใหม่

การรักษาผิวบาง

การเติมความชุ่มชื้นให้ผิวสามารถทำให้ผิวกลับมายืดหยุ่น และมีความบอบบางน้อยลง สิ่งใดก็ตามที่ทำให้ผิวแดงหรือเจ็บ มีแนวโน้มที่จะทำให้ผิวเสียหาย คนที่มีผิวบางอาจจำเป็นต้องปกป้องผิว ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีชนิดรุนแรง คนที่มีผิวบางอาจพบว่าตัวเองผิวช้ำหรือเสียหายง่ายขึ้น การใส่เสื้อแขนยาว และกระโปรงยาวหรือกางเกงขายาวก็สามารถช่วยได้

นอกจากนี้การใช้ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ หรือที่รู้จักกันในชื่อของเรตินอล หรือเรตินอยด์ อาจช่วยป้องกันผิวไม่ให้บางไปมากกว่าเดิม ทั้งนี้การเลือกทานอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญ การทานอาหารที่สมดุลสามารถช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดี คุณควรเพิ่มการทานผักและผลไม้ โฮลเกรน และโปรตีน วิตามินอีที่พบได้ในอัลมอนด์และอะโวคาโด สามารถช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี เพราะไขมันในอาหารเหล่านี้อาจช่วยให้ผิวอ่อนนุ่ม และที่สำคัญคือ คุณอย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น เพราะการมีผิวแห้งสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้ผิวเสียง่ายกว่า อีกทั้งยังทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นน้อยลง

การป้องกันผิวบาง

ผิวบางที่เกิดจากอายุที่มากขึ้นสามารถป้องกันโดยทามอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำ แม้ว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะหนีจากสัญญาณความชรา แต่เราสามารถลดหรือชะลอไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ค่ะ ทั้งนี้เราสามารถป้องกันไม่ให้ผิวบางโดยปกป้องผิวจากรังสียูวี บำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่ ซึ่งรังสีจากดวงอาทิตย์ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผิวของเราชรา อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปกป้องผิวจากแสงแดดโดย

  • ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF30 หรือมากกว่านี้ ที่สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB
  • นั่งในที่ร่ม หรือภายในอาคารเมื่อถึงช่วงที่ร้อนที่สุดของวัน
  • ใส่เสื้อแขนยาว กระโปรงยาว หรือกางเกงขายาว
  • ใส่หมวก

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thin skin: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321757)
Chronic Skin Fragility of Aging. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5788262/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป