กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ความฉลาดของทารกเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 18 สัปดาห์!

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ความฉลาดของทารกเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 18 สัปดาห์!

นอกจากเรื่องพันธุกรรมความฉลาดของพ่อและแม่ ปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้มีการวิจัยและได้ค้นพบว่า หากเรามีการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ให้กับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อคลอดออกมาแล้วทารกจะสามารถเติบโตและมีพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมองได้ดีกว่าเด็กทั่วๆ ไปค่ะ

ลูกจะฉลาดได้อย่างไร

ความฉลาดของเด็กนั้นมาจากผลลัพท์ของการทำงานของสมองค่ะ สมองที่มีขนาดใหญ่และมีเส้นใยประสาทมากจะมีผลในด้านสติปัญญาของทารก สมองของคนเราจะเป็นตัวควบคุมและสั่งการต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่เข้ามากระทบกับร่างกาย รวมไปถึงมีผลในด้านความคิด ความจำ ความเข้าใจและการเรียนรู้ต่างๆ จะสั่งการผ่านเส้นใยประสาท หากสมองของเด็กทารกมีเส้นใยประสาทที่แข็งแรงและมีจำนวนมาก รวมถึงได้รับการกระตุ้นอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอจะทำให้ขีดความสามารถของระบบสัมผัสทำงานได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จะเริ่มพัฒนาสมองของลูกให้เป็นเด็กอัจฉริยะได้ตั้งแต่เมื่อไร

เมื่อสมองมีส่วนสำคัญมาก เราจึงต้องทำความเข้าใจว่าสมองเจริญเติบโตอย่างไร โดยทางการแพทย์จะแบ่งการเติบโตของสมองของทารกในครรภ์เป็น 2 ระยะค่ะ ระยะแรกคือระยะแบ่งตัว (Hyperplasia Phase) เป็นช่วงที่เซลล์สมองของทารกในครรภ์มีการแบ่งตัวนับตั้งแต่วันที่ไข่ถูกผสมจนถึงอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ระยะที่สองคือ ระยะขยายตัว (Hypertrophy Phase) ซึ่งจะเป็นช่วงที่สมองของทารกในครรภ์ขยายตัวใหญ่ขึ้นและมีการแผ่ขยายเส้นใยประสาท ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์จนถึงทารกอายุ 2 ขวบ

ช่วงเวลาที่สมองของทารกในครรภ์สามารถรับการกระตุ้นและส่งเสริมต่างๆ จะเริ่มตั้งแต่ช่วงระยะที่ 2 คือตั้งแต่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์จนทารกมีอายุ 2 ขวบค่ะ เพราะว่าหลังจากทารกอายุ 2 ขวบไปแล้วการพัฒนาของเส้นใยประสาทของสมองจะไม่ค่อยมีการเพิ่มอีก หรือเพิ่มในจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้

คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าลูกของเราจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ก่อนเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญคือการเตรียมความพร้อมของเซลล์สมองที่สมบูรณ์มากกว่า เพราะหากพ้นจากช่วงระยะครรภ์ 18 สัปดาห์จนถึงเด็กอายุ 2 ขวบไปแล้ว การจะส่งเสริมหรือกระตุ้นลูกให้สร้างเส้นใยประสาทให้มากจะเป็นไปได้ยากมาก

อย่างไรก็ตามพัฒนาการทางอารมณ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อและแม่ควรคำนึงถึง เพื่อที่เด็กจะได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tau, G. Z.; Peterson, B. S. (2010). "Normal Development of Brain Circuits". Neuropsychopharmacology. 35 (1): 147–168. doi:10.1038/npp.2009.115. PMC 3055433. PMID 19794405.
Shepherd, GM (1994). Neurobiology. Oxford University Press. p. 3. ISBN 978-0-19-508843-4.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
3 ปีแรกของชีวิตเด็ก ช่วงเวลาที่สำคัญมากของชีวิต
3 ปีแรกของชีวิตเด็ก ช่วงเวลาที่สำคัญมากของชีวิต

3 ปีแรกของทารก เป็นช่วงที่พัฒนาการรวดเร็วก้าวกระโดด การดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจในช่วง 3 ปีนี้จะส่งผลถึงบุคคลิกภาพเด็กในอนาคต

อ่านเพิ่ม