กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำไมท้องแล้วถึงเท้าบวม

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมท้องแล้วถึงเท้าบวม

คุณแม่ตั้งครรภ์คงจะสังเกตเห็นได้ว่า ไม่เพียงเฉพาะท้องเท่านั้นที่ขยายใหญ่ขึ้น แต่เท้าก็บวมขึ้นเช่นกัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และเกิดจากของเหลวส่วนเกินที่ร่างกายกักเก็บไว้ขณะตั้งครรภ์ หรืออาจเรียกว่า “อาการบวมน้ำ” ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้แช่เท้าในน้ำเย็นและคอยยกเท้าสูงให้บ่อยขึ้นเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดอาการดังกล่าว

เท้าบวมตอนท้อง เป็นอาการปกติที่แม่ท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นกันบ่อย โดยสาเหตุ เกิดจากการที่ปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการที่ฮอร์โมนของคุณผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างเช่น ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่มีชื่อว่า “รีแลกซิน (Relaxin)” ฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ข้อต่อกระดูกบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนตัว และยืดขึ้นเพื่อให้ลูกน้อยสามารถเคลื่อนตัวผ่านอุ้งเชิงกรานออกไปได้อย่างราบรื่น ฮอร์โมนนี้มีผลให้เอ็นบริเวณเท้าหลวมกว่าปกติ จึงดูเหมือนกระดูกเท้าขยายออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วกระดูกเท้ามีขนาดเท่าเดิม แต่เอ็นที่ยึดกระดูกทั้ง 26 ชิ้นต่างหากที่ไม่ได้ยึดกระชับเช่นเดิม คุณแม่อาจสังเกตได้ว่า รองเท้าที่เคยใส่จะเริ่มคับขึ้นเล็กน้อยเมื่อเข้าสู่เดือนที่สี่ของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นเท้ายังจะขยายใหญ่อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะคลอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนมากเท้าบวมตอนท้องจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้แช่เท้าในน้ำเย็นและคอยยกเท้าสูงให้บ่อยขึ้น เพื่อลดอาการดังกล่าว หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ และไม่ควรนั่งไขว่ห้าง นอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจโดยใช้หมอนสัก 2 – 3 ใบ รองใต้ขา จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และช่วยลดน้ำหนักที่กดทับมาจากมดลูกได้ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ และงดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ที่มีคาเฟอีน ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารจานด่วน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด เพราะเกลือหรือโซเดียมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์ ออกกำลังกายเบาๆอย่างเหมาะสมด้วยการเดินหรือว่ายน้ำตามคำแนะนำของคุณหมอ

โดยปกติอาการเท้าบวมจะเริ่มดีขึ้นภายใน 1 เดือนหลังคลอดบุตร cว่าการขยายของเท้าที่เกิดจากการยืดของเอ็นกระดูกเท้าจะเกิดขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประเมินได้ว่า คุณแม่กว่าครึ่งหนึ่งมีขนาดเท้าใหญ่กว่าเดิมอีกครึ่งหรือหนึ่งเบอร์แน่นอน

ดังนั้นคุณแม่ควรมีรองเท้าสัก 1-2 คู่ที่สวมใส่สบายและไม่คับแน่นจนเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ และอย่าลืมว่าเท้าของคุณอาจลดขนาดลงได้เมื่ออาการบวมหายแล้ว จากนั้นขนาดเท้าจะคงที่ไปประมาณ 1 เดือนหลังคลอด อย่างไรก็ตาม อย่าฝืนสวมรองเท้าคู่เดิมที่เคยใส่ก่อนตั้งครรภ์เป็นอันขาด! เนื่องจากการสวมรองเท้าคับเกินไปจะยิ่งกระตุ้นให้อาการบวมแย่ลงได้ ทั้งยังเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ ตั้งแต่เล็บนิ้วเท้าไม่สามารถยาวออกมาได้ ไปจนถึงเป็นตาปลา หนังเท้าด้านแข็ง เป็นต้น และเนื่องจากเท้ามีแนวโน้มที่จะขยายใหญ่ขึ้นได้จากการตั้งครรภ์ในแต่ละครั้ง คุณแม่จึงอาจต้องชะลอแผนซื้อรองเท้ายี่ห้อแพงๆ ไปก่อน จนกว่าจะหยุดวางแผนตั้งครรภ์แล้ว


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เช็คสัญญาณด่วน! เท้าบวมตอนท้อง แบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ (https://th.theasianparent.com/...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม