กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคฮาชิโมโตะ และการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคฮาชิโมโตะ และการตั้งครรภ์

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำระหว่างการตั้งครรภ์สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งในแม่และทารกได้ ดังนั้น การวินิจฉัยและการรักษาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

แนวทางการปฏิบัติเรื่องการวินิจฉัยและการรักษาโรคไทรอยด์ ระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดของสมาคมไทรอยด์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2011 ได้ระบุขอบบนของค่ามาตรฐานของระดับ Thyroid stimulating Hormone (TSH) ในผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณ 4.0 mIU/L แต่คู่มือนี้ได้แนะนำให้ขอบบนของค่ามาตรฐานระหว่างการตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณ 2.5-3.0 mIU/L โดยได้แนะนำต่อว่า หากห้องปฏิบัติการที่ตรวจนั้นไม่มีค่ามาตรฐานระหว่างแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ของตนเอง ควรอ้างอิงค่ามาตรฐาน ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ไตรมาสที่ 1 : 0.1-2.5 mIU/L
  • ไตรมาสที่ 2 : 0.2-3.0 mIU/L
  • ไตรมาสที่ 3 : 0.3-3.0 mIU/L

ในหญิงตั้งครรภ์ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ คือ การที่มีระดับ TSH มากกว่า 2.5 mIU/L ร่วมกันมีระดับ Free Thyroxine (Free T4) ที่ลดลง หากมีระดับ free T4 ปกติ แต่มีระดับ TSH มากกว่า 10.0 mIU/L ก็ถือว่าเข้าได้กับภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำเช่นกัน

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำแบบไม่มีอาการ (Subclinical hypothyroidism) หมายถึง การมีระดับ TSH ระหว่าง 2.5-10 mIU/L และมีระดับ free T4 ปกติ การเกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในผู้หญิงที่ไม่ได้มีการขาดไอโอดีนนั้นมักเกิดจากโรคทางระบบภูมิคุ้มกันที่ชื่อ โรคฮาชิโมโตะ (Hashimoto’s disease) โดยคู่มือการวินิจฉัยและการรักษาดังกล่าวได้กล่าวว่า มีการตรวจพบ thyroid peroxidase antibodies (TPOAb) ซึ่งเป็นลักษณะของโรคฮาชิโมโตะในผู้หญิงตั้งครรภ์ ประมาณครึ่งหนึ่งที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำแบบไม่มีอาการและมากกว่า 80% ของผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำแบบไม่มีอาการระหว่างการตั้งครรภ์

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำแบบไม่มีอาการจะเพิ่มภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ โดยพบว่า มีอัตราการแท้งสูงขึ้นในผู้หญิงที่เป็นโรคฮาชิโมโตะที่มีระดับ TSH อยู่ระหว่าง 2.5-5.0 mIU/L เป็น 6.1% เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการแท้งในผู้หญิงที่เป็นโรคฮาชิโมโตะที่มีระดับ TSH ต่ำกว่า 2.5 mIU/L

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำกับการตั้งครรภ์

แนวทางการวินิจฉัยและรักษภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้ระบุว่า จำเป็นต้องรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงผู้หญิงที่มีระดับ TSH สูงกว่าค่าปกติของแต่ละไตรมาสและมีระดับ free T4 ลดลง และผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่มีระดับ TSH สูงกว่า 10 แม้ว่าจะมีระดับ free T4 ปกติก็ตาม

การรักษาที่แนะนำสำหรับภาวะนี้ คือ การใช้ยา levothyroxine รูปแบบกิน โดยไม่แนะนำให้ใช้ยาไทรอยด์รูปแบบอื่น เช่น T3 หรือสารสกัดไทรอยด์จากธรรมชาติ แต่ไม่ได้มีการระบุถึงแหล่งที่มาของคำแนะนำดังกล่าว แต่ในการสัมภาษณ์ Alex Stagnaro-Green ผู้เขียนหลักของแนวทางการปฏิบัตินี้ทางอีเมล ได้มีการอ้างอิงงานวิจัยจากปี ค.ศ. 1993 และ 1994 ที่พบว่า T4 สามารถผ่านเข้ารกได้ในขณะที่ระดับ T3 ที่ผ่านได้ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น การรับประทานยาที่เป็น T3 เพียงอย่างเดียว ยาผสมระหว่าง T4/T3 และสารสกัดไทรอยด์จากธรรมชาตินั้น จึงไม่แนะนำในหญิงที่กำลังพยายามตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์

การจัดการการรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำระหว่างการตั้งครรภ์

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาดังกล่าวระบุว่า ควรเพิ่มระดับ total T4 ขึ้น 20-50% ในผู้หญิงตั้งครรภ์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีการทำงานของไทรอยด์ปกติทั่วไป แต่พบว่าผู้หญิงที่ได้รับการรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำและตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะไม่มีการตอบสนองต่อฮอรโมนเพื่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการสร้าง T4 ทำให้เกิดความต้องการการใช้ยาไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทน โดยความต้องการไทรอยด์ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี้ เริ่มตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์และมักจะเพิ่มขึ้นจนถึงสัปดาห์ที่ 16-20 ก่อนจะเข้าสู่ระดับคงที่จนถึงระยะคลอด

ผู้หญิงที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำและได้รับการรักษาด้วย levothyroxine ประมาณ 50-80% จะต้องการการปรับเพิ่มปริมาณยาระหว่างการตั้งครรภ์ การปรับเพิ่มระดับยา levothyroxine นี้ควรปรับให้เร็วที่สุดตั้งแต่มีการยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์ โดยในผู้หญิงที่มีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนปกติและรับประทานยา levothyroxine วันละครั้งควรเพิ่มอีก 2 เม็ดต่อสัปดาห์หรือคิดเป็น 29% เพื่อให้มั่นใจว่ามีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนที่เพียงพอตั้งแต่เริ่มมีการขาดประจำเดือนหรือสงสัยว่ามีการตั้งครรภ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ผู้หญิงที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำมีการปรับระดับยาเพื่อให้ระดับ TSH อยู่ต่ำกว่า 2.5 mIU/L ก่อนการปฏิสนธิ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการมีระดับ TSH สูงในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำและตั้งครรภ์ควรมีการตรวจระดับไทรอยด์ทุกๆ 4 สัปดาห์ระหว่างช่วงครึ่งแรงของการตั้งครรภ์เพื่อใช้ประกอบการปรับยาและตรวจระดับ TSH อีกครั้งระหว่างสัปดาห์ที่ 26-32 ของการตั้งครรภ์ ภายหลังจากการตั้งครรภ์ควรลดระดับยาเหลือเท่ากับก่อนตั้งครรภ์และตรวจระดับไทรอยด์อีกครั้งที่ 6 สัปดาห์หลังคลอด ในแนวทางการวินิจฉัยและรักษานี้ยังได้ระบุว่ามีงานวิจัยบางชิ่นที่พบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคฮาชิโมโตะและได้รับยาไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทนมากกว่าครึ่งมักต้องใช้ยาไทรอยด์ฮอร์โมนในระดับที่สูงขึ้นหลังคลอดเมื่อเทียบกับก่อนการตั้งครรถ์เนื่องจากการตั้งครรภ์ทำให้ความรุนแรงของการมีภูมิคุ้มกันทำลายที่ต่อมไทรอยด์เพิ่มมากขึ้น

โรคฮาชิโมโตะระหว่างการตั้งครรภ์

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาได้แนะนำให้ผู้หญิงที่เป็นโรคฮาชิโมโตะ ซึ่งไม่ได้รับยาฮอร์โมนทดแทนมีการตรวจติดตามทุก 4-6 สัปดาห์ระหว่างการตั้งครรภ์จนถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์และหากมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนที่เข้าได้กับภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการหรือไม่อยู่ในช่วงปกติของแต่ละไตรมาสควรได้รับการรักษา ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจอย่างน้อย 1 ครั้งระหว่างสัปดาห์ที่ 26-32 ของการตั้งครรภ์


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
aafp.org, Thyroid hormones during pregnancy (https://www.aafp.org/afp/2014/0215/p273.html)
ncbi.nlm.nih.gov, Thyroid hormones during pregnancy (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10585360)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม