กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Hyperthyroid (ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่บริเวณคอ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างใช้พลังงาน และกระบวนการอื่นๆ เมื่อมีการผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป จึงทำให้การทำงานของร่างกายหลายๆ ส่วนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินไป แพทย์อาจใช้การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือใช้การถ่ายภาพเพื่อช่วยในการวินิจฉัย ภาวะนี้มักพบได้บ่อยกว่าในผู้หญิง แต่ก็สามารถพบได้กับประชากรทุกคน

Graves’ Disease

Graves’ Disease เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid) ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยโรคนี้เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติขึ้นมา ทำให้เกิดการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนที่มากเกินไป ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค Graves’ Disease แต่โรคนี้มักพบได้บ่อยกว่าในผู้หญิง และมักจะมีประวัติครอบครัวร่วมด้วย ผู้ป่วยโรค Graves’ บางคนอาจมีอาการเกิดขึ้นที่ตา ทำให้เกิดตาโปน ตาแพ้แสง และตาพร่าได้ และมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะที่ทำให้ผิวหนังมีอาการบวมแดงได้

สาเหตุอื่นของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid)

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid) อาจเกิดได้จาก Toxic nodular หรือ multinodular goiters  คือการมีก้อนเกิดขึ้นภายในต่อมไทรอยด์ที่ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่มากกว่าปกติ

  • Thyroiditis คือมีการอักเสบเกิดขึ้นภายในต่อมไทรอยด์ อาจเกิดจากไวรัสหรือความผิดปกติได้ๆ ก็ได้ ซึ่งนำไปสู่การหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ
  • รับประทานไอโอดีนมากเกินไป ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไป หรือรับประทานยาที่มีส่วนผสมของไอโอดีนอาจเกิดภาวะนี้ได้
  • Thyroid storm หรือภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤต (thyrotoxic crisis) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของไทรอยด์ฮอร์โมนในปริมาณมากอย่างรวดเร็วที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ มักเกิดภาวะนี้ขึ้นในผู้ที่เป็นภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงระดับรุนแรงที่ไม่ได้รักษา

อาการของ thyroid storm ประกอบด้วย

  • ไข้
  • ท้องเสียหรืออาเจียน
  • เหงื่อออกมา
  • อ่อนแรงอย่างรุนแรง
  • ชัก
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ไม่รู้สึกตัว
  • ความดันต่ำมาก

หากคุณมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อนอื่นของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid)

ถ้าเกิดว่าไม่ได้รับการรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้เช่น

  • ความผิดปกติของหัวใจ การมีไทรอยด์ฮอร์โมนปริมาณมากอาจนำไปสู่การเกิดความผิดปกติต่อการเต้นของหัวใจหรือหัวใจวาย
  • กระดูกเปราะ การมีไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไปจะขัดขวางกระบวนการสะสมแคลเซียมที่กระดูกซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุน (Osteroporosis) ได้
  • ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ เช่นอาจเกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ (การมีความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์) ต่อมไทรอยด์ของทารกไม่ทำงาน (fetal thyroid dysfunction) และทารกเจริญเติบโตช้า

การรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid)

การรักษาภาวะนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรง และปัจจัยอื่นๆ ตัวเลือกในการรักษาอาจเป็นการกลืนแร่ การใช้ยาต้านไทรอยด์ฮอร์โมน การผ่าตัด หรือการรับประทานยาในกลุ่ม beta-blockers


36 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Melissa Conrad Stöppler, MD, Hyperthyroidism (https://www.medicinenet.com/hyperthyroidism/article.htm).
Overactive thyroid (hyperthyroidism). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/overactive-thyroid-hyperthyroidism/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)