กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum) คืออะไร?

ผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่องกันเป็นเวลานานมีความเสี่ยงในการคลอด
เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum) คืออะไร?

ผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่องกันเป็นเวลานานมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษ

การแพ้ท้องเป็นอาการทั่วไปที่พบได้ระหว่างการตั้งครรภ์ถึง 70-80 เปอร์เซนต์ในหญิงตั้งครรภ์จากข้อมูลของ American Pregnancy Association (APA) แต่หากการแพ้ท้องนี้มีความรุนแรงมากถึงขั้นทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง อาเจียน และน้ำหนักลดระหว่างการตั้งครรภ์ก็อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (hyperemesis gravidarum)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลจากมูลนิธิ Hyperemesis Education & Research (HER) พบว่า อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงมักดำเนินต่อไปหลังไตรมาสแรกและอาจหยุดในสัปดาห์ที่ 21 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็อาจดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่เคยประสบอาการเหล่านี้มาก่อน จากการศึกษาของ APA ในแต่ละปี จะมีผู้เข้ารับการรักษาอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงนี้ราว 60,000 รายตามโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา แต่ตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงขึ้นเนื่องจากผู้หญิงบางคนอาจได้รับการรักษาที่บ้านหรือตามคลินิค

สาเหตุของโรค

ปัจจุบัน สาเหตุของอาการแพ้ท้องรุนแรงยังไม่ได้รับการพิสูจน์ยืนยัน แต่ก็มีทฤษฎีใหม่ ๆ มากมายเกิดขึ้นเพื่อตอบคำถามดังกล่าว สาเหตุและปัจจัยก่อโรคที่เป็นไปได้ ได้แก่

  • ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น เช่น human chorionic gonadotropin (HCG), estrogen และ progesterone ในระยะแรกของการตั้งครรภ์
  • ระดับ thyroxine ในเลือดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบได้ถึง 70% ของผู้ที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงจากรายงานของมูลนิธิ HER
  • ครรภ์แฝด (แฝดสอง แฝดสาม หรืออื่น ๆ)
  • มีการเจริญของเนื้อเยื่อมดลูกผิดปกติ เรียกว่า ครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform mole)
  • การสำรอกของสิ่งที่อยู่ภายในลำไส้เล็กส่วน duodenum กลับไปยังกระเพาะอาหาร
  • การบีบตัวที่ผิดปกติของทางเดินอาหาร
  • มีความผิดปกติที่ตับ
  • ไขมันในเลือดผิดปกติ
  • มีปัญหาที่หูชั้นใน
  • มีการติดเชื้อ Helicobacter pylori หรือ H. Pylori (เชื้อที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร)
  • ขาดสารอาหารจำพวก pyridoxine และ zinc

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงอาจแสดงอาการต่อไปนี้

  • คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
  • วิงเวียนศีรษะ มึนงง และเป็นลม
  • มีน้ำลายมากขึ้น
  • โลหิตจาง
  • ปวดหัว
  • สับสน
  • ผิวหนังและตาเหลือง (ดีซ่าน)
  • ความดันเลือดต่ำ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ไทรอยด์หรือพาราไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
  • มีอาการขาดน้ำหรือสร้างคีโตน (บางครั้งอาจมีลมหายใจกลิ่นผลไม้)
  • ขาดสารอาหาร
  • ความผิดปกติทางเมตาโบลิซึม
  • การรับกลิ่นดีขึ้น
  • การรับรสผิดปกติ
  • ผิวหนังเสียความยืดหยุ่น
  • น้ำหนักลดมากกว่า 5 เปอร์เซนต์ และมักจะมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์
  • มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีปัญหาจิตใจ ผู้หญิงหลายคนที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงจะมีอาการซึมเศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลง วิตกกังวล หรือหงุดหงิดง่ายร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงของอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง

ปัจจัยต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง

  • เคยมีประวัติแพ้ท้องอย่างรุนแรงในอดีต
  • น้ำหนักตัวเกิน
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • ตั้งครรภ์แรก
  • มีโรคของ trophoblast (การเจริญเติบโตของมดลูกผิดปกติ)
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง

การรักษาอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง

ผู้ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คลินิค หรือที่บ้าน แม้ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป แต่แพทย์จะให้คำแนะนำในลักษณะเดียวกัน ดังนี้

  • มาตรการป้องกันด้วยการกินวิตามิน B6, ขิง, เปเปอร์มินต์ หรือสายรัดข้อมือกดจุด เพื่อลดอาการคลื่นไส้
  • กินอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อย ๆ ซึ่งอาหารจะประกอบไปด้วยอาหารแห้ง ๆจืด ๆ เช่น ขนมปังกรุบกรอบ
  • การฉีดสารเข้าเข็มช่วยไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ในกรณีที่อาการรุนแรงอาจให้สารอาหารผ่านทางเส้นเลือดแทนการกินอาหาร
  • ยากันคลื่นไส้ เช่น Phenergan (promethazine), Antivert (meclizine) หรือ Inapsine (droperidol), doxylamine-pyridoxine(Diclegis) หรือ metoclopramide (Reglan) ในรูปยาทาน, ยาให้ทางเส้นเลือด หรือยาเหน็บ
  • การบำบัดเสริมอื่น ๆ เช่น นวด, ฝังเข็ม, กดจุด หรือสะกดจิต

ภาวะแทรกซ้อน

ความเสี่ยงหลักในผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คือ ภาวะขาดน้ำและสมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ มูลนิธิ HER พบว่า ผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่อตัวเด็กอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษา หรือคุณแม่ไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้เพียงพอตามมาตรฐานในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายแต่พบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่

  • หลอดอาหารฉีกขาดจากการอาเจียนอย่างรุนแรง
  • ปอดยุบ
  • โรคตับ
  • ตาบอด
  • สมองบวมจากการขาดสารอาหาร
  • ไตวาย
  • เลือดแข็งตัวเป็นก้อน
  • ชัก
  • โคม่า
  • เสียชีวิต

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treatment of Hyperemesis Gravidarum. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3410506/)
Hyperemesis Gravidarum: Learn About the Causes, Symptoms, and Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/what-is-hyperemesis-gravidarum)
Hyperemesis gravidarum: MedlinePlus Medical Encyclopedia (https://medlineplus.gov/ency/article/001499.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม