เรียนรู้ความเป็นมนุษย์ด้วยจิตวิทยา

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
เรียนรู้ความเป็นมนุษย์ด้วยจิตวิทยา

เรียนรู้ความเป็นมนุษย์ด้วยจิตวิทยา

เชื่อว่าหลายคนคงมีความสงสัยหรือตั้งคำถามกับตัวเองเกี่ยวกับอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมแสดงออก หลายคนยังอาจไม่ทราบว่ากลไกการเกิดการกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมออกมาแต่ละอย่างนั้นเกิดได้อย่างไร คนหนึ่งคนมีส่วนประกอบหลัก 2 ด้านคือด้านร่างกายและด้านจิตใจ โดยมีระบบประสาทเป็นตัวเชื่อมให้ 2 ระบบนี้ทำงานประสาทกันได้เหมาะสม

องค์ประกอบด้านร่างกาย มีทั้งส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กระดูก เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ผม เป็นต้นในส่วนที่เป็นของเหลวได้แก่ น้ำเลือดน้ำเหลืองและสารคัดหลั่งอื่นๆนอกจากนั้นร่างกายยังมีก๊าซและอากาศที่ช่วยให้การทำงานของระบบร่างกายสมดุล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

องค์ประกอบทางด้านจิตใจถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่ต่างจากองค์ประกอบทางกายเลย องค์ประกอบทางด้านจิตใจเป็นสิ่งละเอียดอ่อนเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึกและอารมณ์

องค์ประกอบทางด้านจิตใจจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดพฤติกรรม แสดงออกมาทางร่างกายดังนั้นหน้าที่ขององค์ประกอบทางด้ายจิตใจจึงเปรียบเสมือนนายและกายเปรียบเสมือนบ่าว แต่หากไม่มีบ่าวนายก็ไม่สามารถสั่งการหรือหรือทำหน้าที่ต่อไปได้ สององค์ประกอบนี้จึงต้องมีควบคู่กันเสมอจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้เด็ดขาด อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าองค์ประกอบทางจิตใจนั้นมีระบบการทำงานที่สลับซับซ้อนยิ่งนักและขอกล่าวถึงระบบที่สำคัญๆ ดังนี้

1. ระบบความคิด เป็นระบบสำคัญที่มีอยู่ในสมองส่วนคิด ซึ่งเป็นส่วนที่บ่งบอกถึงระดับความฉลาดของแต่ละคนและนักจิตวิทยาจะเรียกระดับความฉลาดเหล่านี้ว่า“ไอคิว” หรือ ความสามารถทางเชาวน์ปัญญานั่นเองซึ่งสามารถแยกเป็นระดับ ดังนี้

 

ระดับ IQ

ระดับความสามารถ

ความสำเร็จทางการศึกษาและอาชีพ

130-140

เหนืออัจฉริยะ

ปริญญาเอก/ศาสตราจารย์/นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์

120-129

อัจฉริยะ 

 ปริญญาโท/แพทย์/วิศวกร/นักกฎหมาย

110-119

ฉลาด

ปริญญาตรี/เภสัชกร/ครู/นักบัญชี/พยาบาล/ผู้จัดการ

90-109

ปกติ

 อนุปริญญา - ปริญญาตรี/เทคนิค/ช่างต่างๆ/พนักงานทั่วไป

80-89

ต่ำกว่าปกติ

มัธยมต้น สามารถประกอบอาชีพง่ายๆได้

70-79

คาบเส้น

ประถม เรียนรู้ช้าพัฒนาให้ดูแลตนเองและประกอบอาชีพง่ายๆได้

69 ลงมา

บกพร่องทางปัญญา

วุฒิภาวะและพัฒนาการช้า สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและฝึกให้เรียนรู้การดูแลตัวเอง

ที่มา : คู่มือการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับภาษาไทย กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข

ระดับไอคิวเป็นตัวผลักดันให้แต่ละคนสามารถคิดและทำในสิ่งที่คิดได้ตามศักยภาพของผู้นั้น ระดับไอคิวสามารถพัฒนาได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และตลอดระยะเวลาชั่วชีวิต ซึ่งได้จากการฝึก การอบรม การสั่งสอน การเรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆทั้งจากการเลียนแบบในชีวิตประจำวันหรือเรียนรู้ทดลองด้วยตัวเองจากประสบการณ์ในห้องเรียนและสิ่งแวดล้อมรอบตัวและการที่คนหนึ่งคนจะพัฒนาระดับไอคิวได้นั้นจะต้องได้รับการร่วมมือประสานงานจากระบบที่สำคัญอีระบบหนึ่งนั่นคือระบบอารมณ์และความรู้สึก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ระบบอารมณ์และความรู้สึก นอกจากจะเป็นตัวผลักดันให้คนพัฒนาระดับไอคิวแล้วยังมีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกตามอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการต่างๆ เช่น โกรธ ไม่พอใจจะแสดงท่าทีต่อต้าน ก้าวร้าวออกมาทั้งทางวาจาและท่าทาง หรือเมื่อต้องการหรืออยากทานอาหารก็ต้องแสดงพฤติกรรมโดยการเดินไปโรงอาหารและทานอาหาร หรือต้องการมีแฟนแรงขับทางเพศทำงานก็จะแสดงพฤติกรรมเช่น แต่งสวยแต่งหล่อเพื่อให้เพศตรงข้ามสนใจการเกี้ยวพาราสีเพศตรงข้าม เป็นต้น

มีทฤษฎีทางจิตวิทยาทฤษฎีหนึ่งที่สามารถอธิบายระบบนี้ได้เป็นอย่างดีนั่นคือ ทฤษฎีลำดับความต้องการ 5 ขั้น ของอับราฮัม มาสโลว์ ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแบรนดีส์เขามีแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ 3 ประการคือ

  1. บุคคลเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการความต้องการเป็นเหตุจูงใจต่อการแสดงออกของพฤติกรรม โดยความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะเป็นเหตุจูงใจต่อการแสดงออกของพฤติกรรม ส่วนความต้องการที่ได้รับการสนองตอบแล้วจะไม่เป็นเหตุจูงใจต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมอีกต่อไป
  2. ความต้องการของบุคคลเรียงตามลำดับชั้นตามความสำคัญจาก ความต้องการพื้นฐานไปจนถึงความต้องการที่ซับซ้อน
  3. เมื่อความต้องการลำดับต่ำได้รับการสนอบตอบอย่างดีแล้ว บุคคลจะก้าวไปสู่ความต้องการลำดับที่สูงขึ้นต่อไป

Maslow เชื่อว่ามนุษย์เป็น "สัตว์ที่มีความต้องการติดตัวมาแต่กำเนิด เมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไปตามลำดับขั้นความต้องการจากพื้นฐานไปจนถึงความต้องการขั้นสูงสุด ดังนี้

  • ความต้องการทางร่างกาย (PhysiologicalNeeds) เป็นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็นพื้นฐานของชีวิต เป็นแรงผลักดันทางชีวภาพ เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
  • ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอแล้วเป็นความต้องการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากอันตรายทั้งทางกายและจิตใจ เช่น ความมั่นคงในการงานความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ
  • ความต้องการทางสังคม (Social Needs) เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้วคนเราจะต้องการความรัก มิตรภาพ ความใกล้ชิดผูกพัน ต้องการเพื่อน การมีโอกาสเข้าสมาคมสังสรรค์กับผู้อื่นและได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม
  • ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (EsteemNeeds) เมื่อความต้องการทางสังคมได้รับการตอบสนองแล้วคนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตัวเองให้สูงเด่น มีความภูมิใจและสร้างการนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของงานที่ทำความรู้สึกมั่นใจในตัวเองมีเกียรติยศความต้องการเหล่านี้ได้แก่ ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงานโอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ เป็นต้น
  • ความต้องการเติมความสมบูรณ์ให้ชีวิต (Self-actualization Needs) เป็นความต้องการระดับสูงสุดคือต้องการจะเติมเต็มศักยภาพของตนเอง ต้องการความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของตัวเอง ความเจริญก้าวหน้า การพัฒนาทักษะความสามารถให้ถึงขีดสุดยอด มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจและการคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในอาชีพเป็นต้น

หากจะให้เข้าใจได้ง่ายๆ Maslow ได้จัดลำดับขั้นความต้องการจากพื้นฐานไปจนถึงความต้องการขั้นสูงสุด เป็นรูปพีระมิดดังนี้

       Image result for maslow pyramid

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. ระบบกลไกทางจิต เป็นระบบที่มีหน้าที่ตัดสินว่าความคิดใดหรืออารมณ์ความรู้สึกใดสามารถจะแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างไรได้บ้าง กลไกทางจิตเป็นตัวแยกแยะระบบความคิดและระบบความรู้สึกว่าอันไหนควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก่อนที่จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ระบบกลไกทางจิตถูกพัฒนามาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์โดย ซิก มันส์ ฟรอยด์ ซึ่งเป็นบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ระบบกลไกทางจิตประกอบด้วย

1.จิตสำนึก (Conscious)

เป็นจิตระดับที่มนุษย์แสดงออกในขณะที่รู้ตัว มีสติตลอดเวลา รู้ว่าตนเองเป็นใคร ต้องการอะไรกำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน รู้สึกอย่างไร แสดงพฤติกรรมออกไปอย่างรู้ตัว มีเหตุผล อยู่ในโลกของความเป็นจริง สามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ตรงตามที่ตนเองรับรู้ในขณะนั้น

2. จิตกึ่งสำนึก (Pre-Conscious)

เป็นจิตที่แสดงออกมาในระดับที่ยังรู้ตัวอยู่เช่นกันเพียงแต่ควบคุมไม่ให้แสดงพฤติกรรมออกมา เมื่อใดก็ตามที่ต้องการจะแสดงออกก็สามารถจะเปิดเผยได้โดยทันที เช่น บัวชมพูเกลียดน้องสาวตัวเองแต่ไม่ต้องการให้พ่อกับแม่รู้(ซึ่งบัวชมพูอาจมีเหตุผล เช่น ไม่ต้องการให้พ่อแม่รู้แล้วจะเสียใจ หรือหากพ่อแม่รู้แล้วจะไม่รักตน หรือบัวชมพูรู้ว่าการเกลียดน้องเป็นสิ่งที่ผิดจารีตหรือผิดศีลธรรม) จึงควบคุมพฤติกรรมให้เป็นปกติ ซึ่งบัวชมพูรับรู้จิตส่วนนี้อยู่ตลอดเวลาว่าตนมีความรู้สึกอย่างไรกับน้องสาว ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่บัวชมพูต้องการจะเปิดเผยความเกลียดที่มีอยู่ในจิตใจของตนออกมาก็ย่อมทำได้ทันที สรุปได้ว่าจิตกึ่งสำนึก คือจิตระดับที่รู้ตัวแต่ไม่แสดงออกมา

3. จิตใต้สำนึก (Sub-Conscious)

ฟรอยด์เชื่อว่าจิตระดับนี้เป็นระดับที่เก็บสะสมข้อมูลและสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย ทั้งสัญชาตญาณของมนุษย์เช่น ความต้องการทางเพศ ความก้าวร้าว ความกลัวความเห็นแก่ตัว ทั้งประสบการณ์ต่าง ๆที่บุคคลได้รับมาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม รวมถึงประสบการณ์ที่เป็นเรื่องที่เจ็บปวด ขมขื่น เศร้า ทุกข์ในอดีตที่บุคคลต้องการจะลืมไปจากความทรงจำ เช่น เกลียดพี่น้อง อกหัก โดนเพื่อนแกล้ง ฯลฯ ซึ่ง ฟรอยด์เชื่อว่าความรู้สึกเป็นทุกข์เหล่านี้จะเกิดเป็นกระบวนการเก็บกดลงสู่จิตใต้สำนึก ทำให้บุคคลไม่สามารถรับรู้หรือจำความรู้สึกดังกล่าวได้ ซึ่งในความเป็นจริงประสบการณ์และความรู้สึกดังกล่าวนั้นยังคงมีตัวตนอยู่ในจิตใต้สำนึกไม่ได้หายไปไหนเลยและจะถูกแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมติดตัวเมื่อโตขึ้น โดยที่เจ้าตัวไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้เนื่องจากจิตใต้สำนึกเป็นคลังข้อมูลนับล้านดังนั้นมัน จึงเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล เช่นก้าวร้าวอ่อนโยน เข้มแข็ง อ่อนแอ กลัวหนู กลัวความสูง ชอบดอกไม้ เกลียดแมว เป็นต้น

สรุป คือจิตสำนึกและจิตกึ่งสำนึกเป็นจิตที่ถูกแสดงออกมาเมื่อบุคคลรู้ตัวในขณะ เดิน กิน เข้าประชุม หรือ คุยโทรศัพท์ ฯลฯ แต่จิตใต้สำนึกเป็นจิตที่ถูกแสดงออกมาเมื่อบุคคลนั้นไม่รู้ตัวหรือไม่มีสติรับรู้ได้ เช่น ขณะนอนหลับ นั่งสมาธิ หรือถูกสะกดจิต การแสดงออกของจิตใต้สำนึกจะฉายภาพออกมาในรูปแบบของการฝัน การละเมอ หรือ เผลอพูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ

เนื่องจากองค์ประกอบทางด้านจิตใจเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและมีความสลับซับซ้อนยิ่งนัก นอกจาก 3 ระบบสำคัญที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบย่อยๆ อีกหลายระบบที่ช่วยกันทำงานให้ประสานกันตามหลักของเหตุและผล คนสามารถสร้างสังคมให้น่าอยู่หรือไม่น่าอยู่นั้นจึงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางจิตใจเป็นหลัก


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Learn the Basics of Psychology. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/learn-psychology-2795592)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป