กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การติดเชื้อ HPV ในผู้ชาย

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การติดเชื้อ HPV ในผู้ชาย

6 ใน 10 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่องคชาติมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV

เชื้อ human papillomavirus (HPV) เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 150 สายพันธุ์และสามารถติดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง การติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการและสามารถหายไปได้เอง แต่ก็อาจทำให้เกิดหูดที่ผิวหนังที่อวัยวะเพศ และการติดเชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลได้ แม้ว่าตนเองจะไม่มีอาการก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความชุกของการติดเชื้อ HPV ในผู้ชาย

มีเชื้อ HPV มากกว่า 40 ชนิดที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปาก ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค กล่าวว่า การติดเชื้อ HPV ถือเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ชายและผู้หญิงที่ยังมีเพศสัมพันธ์จะมีโอกาสติดเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต รายงานในวารสาร Sexually Transmitted Disease ปี ค.ศ. 2013 ได้มีการประมาณผู้ชายที่ติดเชื้อ HPV ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 39.2 ล้านคนในปี ค.ศ. 2008 และในจำนวนนี้มี 9 ล้านคนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และมีผู้ชายอายุ 15-59 ปี ที่ติดเชื้อ HPV ใหม่ในปี ค.ศ. 2008 อยู่ที่ 7 ล้านคน ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นจากการติดเชื้อ HIV จะมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ HPV

อาการของการติดเชื้อ HPV ในผู้ชาย

มีการติดเชื้อ HPV ประมาณ 75% ที่สามารถทำให้เกิดหูดที่ผิวหนังได้หลายรูปแบบและสามารถติดต่อได้จากการสัมผัส อ้างอิงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เชื้อ HPV สายพันธุ์อื่นๆ สามารถทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศได้ โดย 90% ของการเกิดหูดที่อวัยวะเพศเกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11

อ้างอิงจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค การเกิดหูดที่อวัยวะเพศในผู้ชายสามารถเกิดตามหลังจากการติดเชื้อได้หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน โดยสามารถโตได้ทั้งภายในและรอบๆ ทวารหนัก ต้นขาด้านบน บริเวณขาหนีบ หรือที่องคชาติและอัณฑะ และด้านในของรูเปิดท่อปัสสาวะ หูดที่อวัยวะอาจจะ

  • เห็นได้ชัดหรือมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็นได้
  • เรียบหรือยกนูนก็ได้
  • มีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ (เมื่อโตรวมกันเป็นกลุ่มๆ)
  • ปวด เจ็บ หรือคัน หากหูดเกิดที่บริเวณรูเปิดปัสสาวะอาจทำให้เกิดการปัสสาวะผิดปกติและเลือดออกจากท่อปัสสาวะได้

ภาวะแทรกซ้อน (มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV)

การติดเชื้อ HPV บางสายพันธุ์เรื้อรังอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งบางชนิดในผู้ชายได้ โดย 90% ของมะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18

อ้างอิงจากรายงานในวารสาร Journal of Lower Genital Tract Disease ปี ค.ศ. 2011 อาการของมะเร็งทวารหนักประกอบด้วยการมีเลือดออกจากทวารหนัก อาการปวด คัน หรือมีสารคัดหลั่งออกมา มีต่อมน้ำเหลืองโตภายในทวารหนักหรือบริเวณอวัยวะเพศและมีการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายและอุจจาระ ประมาณ 6 ใน 10 ของมะเร็งองคชาติและ 7 ใน 10 ของมะเร็งในช่องปากและลำคอมีความเกี่ยวกับของกับการติดเชื้อ HPV

อ้างอิงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา มะเร็งองคชาติจะเริ่มจากการมีเนื้อเยื่อภายในองคชาติเปลี่ยนแปลง เช่นเปลี่ยนสีหรือมีผิวหนังหนาตัวขึ้น และอาจทำให้มีองคชาติโตขึ้นหรือเป็นแผลได้ภายหลัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีน HPV วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2548 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของมะเร็งในช่องปากและลำคอ ประกอบด้วย

การรักษาโรค HPV

ไม่มีการรักษาการติดเชื้อ HPV ให้หายขาด แต่มีการรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ หูดที่ผิวหนังสามารถรักษาได้ที่บ้านโดยการใช้กรด salicylic หรือยาที่ใช้ทำ cryotherapy ที่ซื้อได้ทั่วไป ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังอาจใช้เทคนิคอื่นๆ ในการรักษาเพิ่มเติมเช่นการผ่าตัดด้วยไฟฟ้า การผ่าตัดออก การทำเลเซอร์ การทำ immunotherapy และการรักษาด้วยการใช้ยาที่ชื่อ cantharidin หูดที่อวัยวะเพศสามารถรักษาได้ด้วยยาทาหลายชนิดหรืออาจใช้การผ่าตัดหากเป็นหูดที่รักษายาก สำหรับมะเร็งทวารหนัก องคชาติ และในช่องปากและคอ สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการรักษามะเร็งทั่วไป เช่น การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี และการผ่าตัด

วัคซีน HPV สำหรับผู้ชาย

มีวัคซีน HPV 2 ชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในผู้ชายเพื่อป้องกันการติดเชื้อและสามารถป้องกันการเปิดหูดที่อวัยวะเพศและมะเร็งทีเกี่ยวข้องกับเชื้อ HPV ได้เกือบ 100% วัคซีน Gardasil สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 โดยได้รับการอนุญาตให้ใช้ในผู้ชายอายุระหว่าง 9-26 ปี ส่วนวัคซีน Gardasil 9 สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 โดยสามารถใช้ได้ในผู้ชายอายุระหว่าง 9-15 ปี 

วัคซีนทั้ง 2 ชนิดแบ่งฉีดออกเป็น 3 ครั้ง โดยวัคซีนเข็มที่ 2 ฉีดหลังจากการฉีดเข็มแรกไปแล้ว 1-2 เดือน และวัคซีนเข็มที่ 3 ฉีดที่ 6 เดือนหลังการฉีดครั้งแรก

วัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดใน

  • เด็กชายทุกคนที่มีอายุ 11 หรือ 12 ปี
  • เด็กชายอายุ 9 ปี หากมีประวัติถูกทารุณกรรมทางเพศ
  • เด็กชายอายุมากกว่า 12-21 ปี หากไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
  • ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายและผู้ชายที่มีระดับภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนถึงอายุ 26 ปี

วัคซีนนี้ยังแนะนำให้ฉีดในผู้หญิงและเด็กหญิงบางรายอีกด้วย


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HPV in men: an update. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3304470/)
HPV in men: Symptoms, complications, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/314567)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วัคซีน HPV คืออะไร? ป้องกันการติดเชื้อได้ 100% เลยหรือไม่?
วัคซีน HPV คืออะไร? ป้องกันการติดเชื้อได้ 100% เลยหรือไม่?

ป้องกันมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่วันนี้ด้วยวัคซีน HPV ยิ่งฉีดเร็ว ยิ่งปลอดภัย

อ่านเพิ่ม