ความรู้สึก

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความรู้สึก

คุณรู้สึกอย่างไร

เป็นธรรมชาติที่จะมีความคิดและความรู้สึกที่หลากหลายหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง บางคนอาจรู้สึกผิดหวัง  รู้สึกตกใจ หรือวิตกกังวล ในขณะที่บางคนรู้สึกโกรธ รู้สึกผิด หรือรู้สึกโดดเดี่ยว แน่นอนว่าคุณสามารถรู้สึกได้หลายความรู้สึกเมื่อได้รับฟังการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง

เรื่องของอารมณ์อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคุณและคนใกล้ตัวในการจัดการกับมัน  โดยบางอารมณ์ความรู้สึกอาจดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่บางอารมณ์ความรู้สึกอาจเป็นอยู่นาน ดังนั้นพยายามค้นหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ว่าคุณจะตอบสนองต่อการรับฟังคำวินิจฉัยโรคมะเร็งอย่างไร อารมณ์ความรู้สึกที่พบได้บ่อยหลังได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง ได้แก่:

  • รู้สึกตกใจและไม่เชื่อในสิ่งที่ได้รับรู้
  • โกรธ
  • หลีกหนีความจริง
  • รู้สึกผิดและตำหนิตนเอง
  • สูญเสียการควบคุมตนเอง, สูญเสียความเป็นอิสระและสูญเสียความมั่นใจ
  • รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ
  • รู้สึกหดหู่
  • รู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนอยู่ตัวคนเดียว
  • รู้สึกกลัวและวิตกกังวล

อย่างไรก็ตามมีวิธีการที่หลากหลายในการรับมือและจัดการควบคุมอารมณ์ตนเอง การแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้สึกของคุณกับผู้อื่นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในตอนแรกให้ลองพูดคุยกับคนสนิทดูก่อน โปรดจำไว้ว่ามีการช่วยเหลือสนับสนุนมากมายที่พร้อมช่วยเหลือคุณหากคุณต้องการ แนะนำให้พูดคุยกับแพทย์ ครอบครัว หรือเพื่อนของคุณเมื่อคุณรู้สึกว่าการรับมือการอารมณ์เป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับคุณ

จะพูดกับคนอื่นเกี่ยวกับโรคมะเร็งอย่างไร

คุณอาจพบว่าการพูดถึงสิ่งที่คุณกำลังรู้สึกเป็นเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจหรือรู้สึกอึดอัดใจ แต่การใส่ความรู้สึกของตัวคุณลงในคำพูดจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม

แน่นอนว่าในความจริงแล้วมักมีเพื่อนและญาติที่ยินดีช่วยเหลือสนับสนุนคุณ การพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องต้องการให้ช่วย จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นคนสำคัญสำหรับคุณ และจะช่วยให้พวกเขารู้ถึงวิธีในการช่วยเหลือสนับสนุนคุณอีกด้วย

การพูดคุยกับผู้อื่นจะช่วยคุณในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น และรู้สึกดีขึ้นในการควบคุมสิ่งต่างๆ การอภิปรายเกี่ยวกับความกลัวหรือข้อกังวลใจของคุณสามารถช่วยให้เข้าใจตัวคุณได้ดีขึ้น และทำให้ผู้อื่นเห็นมุมมองเดียวกับคุณ

มีเหตุผลมากมายว่าทำไมคุณหรือคนรอบตัวคุณพบว่าการพูดคุยเกี่ยวกับโรคมะเร็งเป็นเรื่องยาก บางครั้งครอบครัวและเพื่อนของคุณพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะพูดคุยเพราะรู้สึกยังรับไม่ได้กับโรคที่คุณเป็น ถ้าคุณยังไม่ต้องการพูดเรื่องนี้ ขอให้บอกครอบครัวและเพื่อนไปตรงๆ ว่า คุณรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะพูด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่าลืมที่จะบอกผู้อื่นว่าพวกเขาสามารถช่วยเหลือสนับสนุนคุณได้อย่างไรบ้าง และถ้าคุณไม่พร้อมจะพูดเกี่ยวกับโรคมะเร็งในบางวัน โปรดบอกให้พวกเขารู้

การช่วยเหลือจากทีมแพทย์ที่ดูแลคุณ

ความรู้สึกที่พวกเรากำลังรู้สึกสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้ หากอารมณ์ความรู้สึกของคุณรุนแรงมาก จะทำให้การทำกิจกรรมประจำวันและการคิดถึงเรื่องอื่นเป็นเรื่องยาก โดยทั่วไปอารมณ์ความรู้สึกรุนแรงนั้นจะกินเวลาไม่นานแล้วค่อยๆ ดีขึ้น แต่ถ้าคุณยังคงรู้สึกถึงอารมณ์ที่ผิดปกติเป็นเวลานาน และทำให้การดำเนินชีวิตไม่เหมือนแต่ก่อน ขอให้คุณขอรับการช่วยเหลือเพิ่มเติม

แพทย์และทีมแพทย์ที่ดูแลคุณสามารถช่วยให้คุณรับมือกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ แนะนำให้พูดกับแพทย์หรือพยาบาลเฉพาะทางก่อนเป็นอันดับแรก นอกจากนี้การพูดคุยกับทีมบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ก็ยังเป็นประโยชน์กับตัวคุณเช่นกัน ได้แก่

  • ผู้ให้คำปรึกษา
  • นักจิตวิทยาคลินิก
  • จิตแพทย์
  • พยาบาลจิตเวช

การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณไม่หมายความว่าเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง และคนเหล่านี้เป็นบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อช่วยคุณในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์อยู่แล้ว

การพูดถึงสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จะสร้างความแตกต่างให้กับความรู้สึกของเราได้ การบำบัดด้วยการพูดแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่มจะช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกของตัวเองได้ดีขึ้นผ่านการพูดคุย นอกจากนี้คุณยังสามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้โดยการใช้การรักษาทางเลือกอื่นๆ ร่วมด้วยได้ ซึ่งจะต้องใช้ควบคุมไปกับการรักษาโรคมะเร็งตามปกติ ดังนั้นให้พูดคุยกับแพทย์ก่อนพิจารณาเลือกใช้การรักษาทางเลือก


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Words and Feelings That Often Come up in Marriage. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/feeling-words-to-help-spouse-2300571)
List of Emotions: 54 Ways to Say What You’re Feeling. Healthline. (https://www.healthline.com/health/list-of-emotions)
Get help with low mood, sadness or depression. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/low-mood-and-depression/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน

ข้อเท็จจริงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)

อ่านเพิ่ม
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่

ปรึกษาปัญหาเรื่องเหงื่อออกตอนกลางคืนกับแพทย์ของคุณ

อ่านเพิ่ม
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

คำตอบต่อคำถามทางสุขภาพที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม