เราจะดูแลเต้านมและหัวนมตัวเองอย่างไรในช่วงให้นมลูก

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เราจะดูแลเต้านมและหัวนมตัวเองอย่างไรในช่วงให้นมลูก

ปัญหาที่คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกจะต้องเจอบ่อยๆ นั้นก็คือ ปัญหาคัดเต้านม, เจ็บปวดจากการบวมพอง หรือหัวนมอาจจะเป็นแผลหรือแตก ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เราจัดตำแหน่งการให้นมเจ้าตัวเล็กของเราไม่ถูกต้องเท่าไรนัก วันนี้เรามีเคล็ดลับการดูแลและป้องกันปัญหาเหล่านี้

ทำไมเต้านมถึงบวมหรือคัดหน้าอก

สาเหตุใหญ่มาจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง โดยจะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกออกมา โดยหน้าอกจะขยายตัวเพื่อเตรียมตัวสำหรับการผลิตน้ำนมให้ลูก (เป็นกลไกตามธรรมชาติ) สำหรับกรณีที่เกิดอาการบวม ให้บรรเทาอาการปวดด้วยการใช้ผ้าอุ่นประคบก่อนให้นมลูก และใช้ผ้าเย็นประคบในระหว่างให้นม ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาอาการปวดแล้วยังช่วยให้ลูกดูดนมได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย แต่บางกรณีมีอาการบวมมากจนอาจจะเป็นไข้ร่วมด้วยนั้น ขอให้ไปพบคุณหมอ อย่าได้ซื้อยาลดไข้หรือยาใดๆ มาทานเองในช่วงที่เราให้นมลูกเด็กขาด เพราะยาจะมีผลส่งต่อไปยังลูกของเราผ่านน้ำนมแม่ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำไมหัวนมแตกหรือเป็นแผล

ปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ลูกของเราไม่งับหัวนมเข้าไปทั้งหมด การแก้ไขจึงแก้ไขได้ง่ายๆ นั้นคือการจัดท่าให้นมลูกให้ถูกต้อง คือ ให้จัดตำแหน่งหัวนมของเราอยู่ตรงตำแหน่งด้านบน บริเวณกลางลิ้นของลูก และลูกจะต้องงับหัวนมเข้าไปจนริมฝีปากบนและล่างมิดฐานนมพอดี

นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดในช่วงที่ลูกอายุประมาณ 3 เดือนเป็นต้นไป เพราะเด็กในวัยนี้จะเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมตัวเองมากขึ้น บ่อยครั้งเวลาที่คุณแม่กำลังให้นมอยู่ ลูกก็กลับหันหน้า (ทั้งที่ยังงับหัวนมอยู่) ไปมอง ทำให้การหันหน้าไปมาขณะที่กำลังดูดนมแม่นั้น จะสร้างความเจ็บปวดและอาจจะทำให้เกิดแผลแตกของหัวนมได้

ทางแก้ไขคือ ให้อุ้มลูกโดยให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวแม่ จัดท่าให้ศีรษะของลูกอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย (เพื่อง่ายในการดูดนม) บริเวณท้ายทอยของลูกวางอยู่บริเวณแขนของแม่ โดยใช้มือและแขนคนละข้างกับเต้านมที่ลูกจะดูดประคองตัวลูกไว้ และใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกจะดูดประคองเต้านม

จากในรูปจะเห็นว่า คุณแม่ใช้มือซ้ายอุ้มลูกและประคองตัวลูกไว้ (เพราะว่าใช้เต้านมข้างขวาให้นมลูก) และใช้มือขวาประคองส่วนหัวของลูกให้แนบกับเต้านมมากขึ้น (ซึ่งถ้าเรามีหมอนก็สามารถเอามาหนุนศีรษะลูกแทนแล้วเอามือข้างขวามาช่วยประคองเต้านมไว้เผื่อลูกดูดนมแล้วหันหน้าหนี จะได้ไม่เกิดการดึงรั้งหัวนม

การป้องกันและรักษาอาการหัวนมแตกหรือเป็นแผล

การป้องกันเบื้องต้นสามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องเสียเงินใดๆ ก็คือ หลังจากลูกดูดนมเสร็จแล้ว ให้คุณแม่ใช้น้ำนมของคุณแม่เองทาละเลงลงบริเวณหัวนมและปล่อยให้แห้งทุกครั้งหลังลูกดูดนม น้ำนมจะช่วยป้องกันการแห้งแตกของผิวบริเวณหัวนมได้ พอเวลาจะให้นมครั้งต่อไปคุณแม่ก็แค่ทำความสะอาดหัวนมอีกครั้งก็ให้ลูกดูดนมต่อได้ทันที

แต่หากเป็นแผลแตกแล้ว ควรจะงดให้ลูกดูดนมในเต้านมด้านที่เป็นแผล และแนะนำให้ไปพบคุณหมอ คุณหมอจะให้ครีมมา ซึ่งจะช่วยรักษาแผลแตกได้ดี ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วันอาการเหล่านี้ก็จะดีขึ้น (แต่ระหว่างนี้ควรงดให้ลูกดูดนมข้างที่มีแผลแตกนี้อย่างเด็ดขาด) นอกจากนั้นหากเกิดอาการคัดเต้านม (ข้างที่เป็นแผล) คุณแม่ก็ควรจะบีบน้ำนมข้างนั้นออกเพื่อลดอาการคัดและปวดหน้าอก

นอกจากนั้นในกรณีที่เป็นผื่นแดง หรือรอยช้ำ หรือรู้สึกว่าบริเวณหน้าอกร้อนผิดปกติ ขอให้รีบไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นอาการบ่งบอกว่ากำลังติดเชื้อ อาการติดเชื้อเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ในเวลารวดเร็วถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่แรก ดังนั้นอย่าได้ชะล่าใจปล่อยให้เวลาล่วงเลยผ่านไป


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sioned Hilton, 6 simple steps to a good breastfeeding latch (https://www.medela.com/breastfeeding/mums-journey/breastfeeding-latch)
Megan Dix, What You Need to Know About Nipple Scabs: Causes, Treatment, Prevention (https://www.healthline.com/health/nipple-scabs), 29 October 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม
ปั๊มนม เก็บไว้ให้ลูก ดีจริงหรือไม่? รวมคำแนะนำการสต๊อกนม
ปั๊มนม เก็บไว้ให้ลูก ดีจริงหรือไม่? รวมคำแนะนำการสต๊อกนม

ไขข้อสงสัย ทำไมคุณแม่สมัยนี้ชอบปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกกินทีหลัง ควรเก็บอย่างไรให้นมยังมีประโยชน์สูงสุด?

อ่านเพิ่ม