วิธีการรักษาเล็บคุด

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการรักษาเล็บคุด

เล็บคุดนั้นไม่ได้เกิดเฉพาะที่เล็บเท้าเท่านั้นแต่ยังสามารถเกิดที่เล็บมือได้อีกด้วย แต่พบได้น้อยกว่าเนื่องจากคุณไม่ต้องใส่นิ้วมือลงในรองเท้าที่มีขนาดไม่พอดีกับเท้า นอกจากนั้นรูปร่างของเล็บมือนั้นก็ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดเล็บคุดได้น้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม เล็บมือนั้นก็สามารถเกิดอาการคุดได้และอาทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้ปวดเวลาทำกิจกรรมต่างๆ เช่นเวลาพิมพ์งานหรือล้างจาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เล็บมือคุดคืออะไร

เล็บและผิวหนังนั้นสร้างจากโปรตีนที่ชื่อว่าเคราติน โดยเล็บนั้นเกิดจากเซลล์เคราตินหลายๆ ชั้นดันขึ้นมาผ่านทางผิวของนิ้วมือ และแนวเส้นของเล็บนั้นก็จะตรงกับแนวของผิวหนังที่อยู่ใต้เล็บ ซึ่งช่วยทำให้เล็บนั้นอยู่กับที่

เวลาที่รูปร่างของเล็บนั้นเปลี่ยนไป แนวเส้นที่ทำการยึดเล็บให้อยู่กับที่นั้นอาจจะหลุดออกจากกัน ทำให้เล็บนั้นงอกเข้าไปบริเวณมุมของผิวหนัง ทำให้เกิดเล็บคุด มีหลายสิ่งที่สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่น

  • การบาดเจ็บ
  • การติดเชื้อรา
  • การเจริญเติบโตที่เร็วหรือช้าเกินไป
  • การตัดเล็บที่ไม่เหมาะสมเช่นมีเล็บส่วนที่แหลมอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง
  • กัดเล็บ

Paronychia

Paronychia นั้นเป็นการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อรอบๆ เล็บมือหรือเล็บเท้า ในกรณีส่วนใหญ่ การติดเชื้อที่เล็บมือนั้นมักจะเกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อสายพันธุ์ที่พบบ่อย หรือเชื้อรา candida การติดเชื้อนั้นอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เกิดหนองและเจ็บได้ หากไม่ได้รับการรักษา ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงและทำให้เกิดความเสียหายต่อเล็บอย่างถาวร

การรักษาด้วยตัวเอง

  • คุณสามารถรักษาการติดเชื้อที่เล็บมือได้ด้วยวิธีต่อไปนี้หากคุณไม่ได้เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ
  • ประคบอุ่นหรือจุ่มนิ้วมือลงในน้ำสบู่ที่ร้อนเป็นเวลา 10-20 นาทีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ทาครีมฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา
  • พันแผลด้วยผ้าที่ปราศจากเชื้อรอบๆ บริเวณที่ติดเชื้อ
  • ไปพบแพทย์

การไปพบแพทย์

หากเล็บที่คุดนั้นทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงโดยเฉพาะเป็ฯหนอง แพทย์อาจจะแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยหัตถการต่อไปนี้

Cotton wedge

คุณหรือแพทย์อาจจะค่อยๆ ยกเล็บขึ้นและใส่สำลีที่จุ่มยาเล็กๆ ไว้ระหว่างเล็บและผิวหนังที่อักเสบข้างๆ เล็บ วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดและทำให้เล็บนั้นงอกได้อย่างเหมาะสม

การเจาะหนอง

หากเล็บที่คุดนั้นทำให้เกิดหนอง แพทย์จะทำการเจาะระบายหนองออก โดยเริ่มจากการใช้ยาชาที่บริเวณดังกล่าว ก่อนที่จะใช้มีดเพื่อเปิดระบายหนอง หากมีหนองปริมาณมาก แพทย์อาจจะมีการใส่ผ้าก๊อซทิ้งไว้เพื่อให้หนองนั้นระบายออกมาในอีก 1-2 วันถัดไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัด

ส่วนมากเล็บมือที่คุดนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด แต่มักจะพบได้บ่อยกว่าในเล็บเท้า อย่างไรก็ตามหากเล็บที่คุดนั้นไม่สามารถหายเองได้ คุณอาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัด

แพทย์มักจะใช้วิธีการตัดเล็บบ้างส่วนออกเพื่อให้บริเวณที่ติดเชื้อนั้นได้ระบายและฟื้นตัว

เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์

โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์หากมีเล็บมือที่คุด แต่ควรจะต้องดูแลอย่างใส่ใจ เพราะการติดเชื้อธรรมดาๆ นั้นอาจจะกลายเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงได้

โดยอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อลงไปในผิวหนังชั้นที่ลึก หรือหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะมีการอักเสบลามลงไปถึงกระดูกที่อยู่ข้างใต้ซึ่งต้องให้แพทย์เป็นผู้รักษา

ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้

  • ปวดรุนแรงหรือรุนแรงมากขึ้น
  • มีอาการบวมแดงทั่วทั้งนิ้ว
  • อาการบวมแดงที่ลามออกจากตำแหน่งที่เริ่มเป็นมากขึ้น
  • ไม่สามารถงอข้อนิ้วได้ มีไข้

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Ways to Treat Ingrown Toenails. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/foot-health/treating-ingrown-toenails.aspx)
The simplest ways to fix an ingrown fingernail. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/ingrown-fingernail-treatment)
How to Treat an Ingrown Fingernail. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-treat-an-ingrown-fingernail)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)