กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เดินทางระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด?

ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวอย่างไรในการเดินทาง และข้อควรระวังเมื่อต้องไปต่างประเทศ
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เดินทางระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด?

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ส่วนมากสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากไม่มีข้อห้ามใดๆ ในการเดินทางไกลทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากเตรียมทุกอย่างเรียบร้อย และรู้จักระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ เว้นแต่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงใกล้คลอดที่ไม่ควรเดินทางไกล เพราะอาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะเริ่มเดินทางได้เมื่อไร?

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ยังไม่เหมาะสำหรับการเดินทาง เพราะบางคนอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด และอ่อนเพลีย หากระหว่างการเดินทาง ได้รับแรงกระแทกบ่อยๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในไตรมาสที่ 2 หรืออายุครรภ์ 4-6 เดือน เป็นช่วงที่ดีที่สุดในการเดินทาง เพราะท้องยังไม่ใหญ่มาก และเริ่มมีการปรับตัวได้แล้ว แต่ก็อาจจะต้องระวังการเดินทางที่อาจทำให้เหนื่อยเกินไป เช่น การขึ้นเขา หรือต้องเดินทางโดยใช้เวลานานๆ

ข้อควรระวังในการเดินทางโดยใช้รถยนต์

  • ควรหยุดพักรถทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อลงมายืดกล้ามเนื้ออย่างน้อย 5-10 นาทีเพื่อลดอาการปวดเมื่อย
  • คาดเข็มขัดนิรภัยระหว่างหน้าอกและหน้าตัก โดยที่สายเข็มขัดจะต้องไม่รัดบริเวณท้อง
  • เปิดหน้าต่างเป็นบางครั้ง เมื่อรู้สึกว่าอากาศในรถไม่ถ่ายเท จนเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะและหน้ามืด
  • เตรียมอาหารว่างที่มีประโยชน์ เช่น นม ถั่ว ขนมปัง ติดไปด้วย หากต้องขับรถทางไกล เนื่องจากผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์มักจะหิวบ่อย
  • หลีกเลี่ยงการขับรถทางไกลคนเดียว

ข้อควรระวังในการเดินทางโดยเครื่องบิน

  • ตรวจสอบกับสายการบินต่างๆ ก่อนเดินทางว่าอนุญาตให้ผู้หญิงตั้งครรภ์เดินทางได้หรือไม่
  • หลังจากที่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ สายการบินอาจขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันเกี่ยวกับวันคลอดลูก เพื่อให้มั่นใจว่าคุณไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือภาวะคลอดก่อนกำหนด
  • การเดินทางโดยเครื่องบินอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดแข็งตัวเล็กน้อย จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ และเคลื่อนไหวร่างกายทุก 15-30 นาที

การฉีดวัคซีนก่อนเดินทางไปต่างประเทศสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

หากต้องเดินทางไปยังประเทศที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน ให้แจ้งแพทย์ว่าคุณอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะใช้วัคซีนชนิดที่เชื้อตายแล้วมาฉีดให้ เนื่องจากการฉีดวัคซีนที่ใช้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่อ่อนกำลังลงแต่ยังไม่ตาย อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้

ความเสี่ยงของการทานอาหารและเครื่องดื่มเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ

เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงไม่ดื่มน้ำที่ไม่สะอาด เพราะอาจมีเชื้อโรคที่ทำให้เกิดภาวะต่างๆ เช่น ท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ซึ่งยาบางชนิดที่วางจำหน่ายในประเทศนั้นๆ อาจไม่เหมาะสำหรับใช้ในระหว่างตั้งครรภ์


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม