วิธีผสมและเก็บรักษายาชนิดผงผสมน้ำ

ตามปกติ เมื่อได้รับยาใด ๆ มา ก็ควรต้องทราบข้อมูลการใช้ให้ครบถ้วนหรือเพียงพอ เช่น ยานี้มีชื่อว่าอะไร ใช้กับใคร เพื่อรักษาอาการอะไร มีวิธีใช้อย่างไร ต้องใช้ในขนาดเท่าไหร่ ควรใช้เวลาใด
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีผสมและเก็บรักษายาชนิดผงผสมน้ำ

เมื่อพาเด็กไปโรงพยาบาล คลินิก หรือร้านยา เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย บ่อยครั้งที่จะได้รับยาปฏิชีวนะชนิดผงผสมน้ำมาใช้ ในกรณีที่ได้รับยามาหลายขวด บางแห่งอาจมีการผสมยาขวดแรกมาให้ และแนะนำให้ผสมขวดต่อไปเองเมื่อใช้ขวดแรกหมด หรือบางแห่งก็อาจไม่มีการผสมยามาให้ก่อน เนื่องจากยาเหล่านี้มีอายุการใช้หลังผสมค่อนข้างสั้นกว่ายาโดยทั่วไป จึงไม่ควรผสมไว้ล่วงหน้านาน ๆ เพราะอาจทำให้ยาหมดอายุก่อนที่จะใช้หมดหรือครบขนาดการรักษาได้ค่ะ

ตามปกติ เมื่อได้รับยาใด ๆ มา ก็ควรต้องทราบข้อมูลการใช้ให้ครบถ้วนหรือเพียงพอ เช่น ยานี้มีชื่อว่าอะไร ใช้กับใคร เพื่อรักษาอาการอะไร มีวิธีใช้อย่างไร ต้องใช้ในขนาดเท่าไหร่ ควรใช้เวลาใด ควรใช้ติดต่อกันนานแค่ไหน หยุดใช้ยาได้หรือไม่เมื่ออาการดีขึ้น รวมไปถึงยานี้มีผลข้างเคียงหรือข้อควรระวังอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา และมีความปลอดภัยในการใช้ยาดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อได้รับยาชนิดผงผสมน้ำมาใช้ มีสิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติม ดังนี้

วิธีการผสมยา

ยาปฏิชีวนะชนิดผงผสมน้ำที่คุ้นตา มักจะมีขนาดบรรจุ 60 มิลลิลิตร แต่ก็มีบางชนิดที่มีขนาดต่างไปจากนี้ เช่น 15 มิลลิลิตร, 30 มิลลิลิตร หรือ 70 มิลลิลิตร เป็นต้น การผสมผิดขนาด จะทำให้ความเข้มข้นของยาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เมื่อรับประทานก็จะได้ตัวยาสำคัญน้อยไปหรือมากไปกว่าที่ควรเป็น ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลดี หรืออาจเกิดผลข้างเคียงจากยาได้มากขึ้น

โดยมาก จะมีการทำสัญลักษณ์บ่งบอกระดับยาที่ต้องการหลังผสมแล้ว ระบุไว้ที่ฉลาก หรือที่ขวดยา เช่น มีเส้นหรือขีดที่ฉลากยา หรือมีรอยนูนที่ขวดยา

โดยมีวิธีผสม ตามขั้นตอนนี้ค่ะ

  1. เคาะผงยาในขวดให้ร่วน ไม่จับตัวกัน
  2. ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว หรือน้ำสะอาด เติมลงไปพอท่วมผงยา หรือประมาณครึ่งหนึ่งของขีด / รอยนูน แล้วเขย่าให้เข้ากัน
  3. ค่อย ๆ เติมน้ำจนถึงขีด / รอยนูน แล้วเขย่าให้เข้ากันอีกครั้ง

แต่ยาบางชนิดจะมีถ้วยตวงแถมมาในกล่อง เพื่อใช้ตวงน้ำสำหรับผสมยา และมีขั้นตอนการผสม ดังนี้

  1. เคาะผงยาในขวดให้ร่วน ไม่จับตัวกัน
  2. ตวงน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว หรือน้ำสะอาด ให้ถึงขีดบนถ้วยตวง
  3. เทลงในขวดเพียงครั้งเดียว แล้วเขย่าให้เข้ากัน

*** ยาบางตัวอาจแนะนำให้แบ่งเทเป็น 2 รอบ ก็ให้เขย่ายาให้เข้ากันหลังการเทน้ำแต่ละรอบนะคะ***

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

วิธีการเก็บรักษา และอายุของยาหลังผสม

มีคำแนะนำสำหรับเก็บรักษายาที่ผสมแล้ว ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. เก็บไว้ในตู้เย็นหรือที่อุณหภูมิห้องก็ได้ แต่ยาที่แช่เย็นจะมีระยะเวลาการเก็บได้นานกว่า เช่น เก็บในตู้เย็นได้นาน 10 – 14 วัน แต่เก็บที่อุณหภูมิห้องได้นาน 7 วัน
  2. เก็บไว้ในตู้เย็นเท่านั้น ในกรณีที่ยานั้นอาจเสื่อมคุณภาพได้ง่ายเมื่อเก็บนอกตู้เย็น
  3. เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเท่านั้น ยาบางชนิดหากเก็บไว้ในตู้เย็น อาจข้นหนืดมากจนไม่สะดวกในการใช้ จึงแนะนำให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง

อย่างไรก็ตาม ยาต่างชนิดหรือต่างยี่ห้อ อาจมีความคงตัวที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาและอายุของยาหลังผสม ในฉลากหรือเอกสารกำกับยาที่ใช้นะคะ

ยาชนิดผงสำหรับผสมน้ำมีความคงตัวต่ำค่ะ ในบางกรณีจึงไม่มีการผสมมาให้ก่อน หรืออาจมีการผสมให้พร้อมใช้เพียงขวดแรก แล้วต้องผสมยาด้วยตัวเองสำหรับขวดต่อ ๆ ไป ดังนั้น เมื่อได้รับยาในลักษณะนี้ จึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรให้เข้าใจถึงวิธีการผสมยาและวิธีการเก็บรักษาด้วยนะคะ

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Drug Solubility: Importance and Enhancement Techniques. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3399483/)
Difference Between Fat-Soluble and Water-Soluble Vitamins. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/fat-vs-water-soluble-998218)
Which Vitamins are Water Soluble and Fat Soluble?. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/water_soluble_vitamins_vs_fat_soluble_vitamins/ask.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)