วิธีการหยุดหาว

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
วิธีการหยุดหาว

หายใจทางจมูก

งานวิจัยพบว่าผู้ที่หายใจทางจมูกนั้นจะมีแนวโน้มในการเกิดอาการหาวต่อเนื่องกันน้อยกว่ากลุ่มผู้ที่หายใจทางปากหรือหายใจตามปกติ นักวิจัยเชื่อว่าคุณจะรู้สึกอยากหาวเมื่อสมองอยู่ในอุณหภูมิที่อุ่นเกินไป และการหายใจทางจมูกนั้นจะช่วยทำให้อุณหภูมิภายในนั้นเย็นขึ้น

สัมผัสของกับของเย็นหรืออากาศเย็น

งานวิจัยในส่วนที่สองได้ลองใช้ผ้าขนหนูทั้งร้อน เย็น หรือที่อุณหภูมิห้อง ผู้ที่ได้ผ้าขนหนูเย็นนั้นมีเพียง 9% ที่เกิดอาการหาว เมื่อเปรียบเทียบกับอีก 2 กลุ่มซึ่งอยู่ที่ 41% คุณอาจจะลองปรับอุณหภูมิในห้องให้เย็นลงหรือรับประทานขนมที่เย็นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หายใจลึกๆ

หนึ่งในทฤษฎีเกี่ยวกับการหาวก็คือมันจะเกิดขึ้นเมื่อมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือสูงมากเกินไป ดังนั้นให้ใช้การหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและมีระดับออกซิเจนกลับมาเป็นปกติ อย่าเปลี่ยนลมหายใจเร็วๆ เพราะร่างกายอาจเข้าใจว่าคุณกำลังพยายามหายใจเร็วและทำให้อาการหาวนั้นเป็นหนักขึ้นได้

อย่ากลั้นไอ

อย่าพยายามสะกดกั้นการไอ เพราะอาการไอนั้นอาจจะช่วยหยุดวงจรของการหาวที่เกิดขึ้นได้

ยืดขา

หากคุณรู้สึกเมื่อยในขณะที่เริ่มหาว ร่างกายอาจจะพยายามส่งสัญญาณบอกให้คุณเริ่มเคลื่อนไหว ให้ลุกขึ้นเดินหรือยืดขา

ออกไปข้างนอก

การนั่งอยู่กับที่นานๆ นั้นทำให้สมองล้า และทำให้คุณง่วง ดังนั้นการเปลี่ยนบรรยากาศเช่นการเดินออกไปข้างนอกแม้จะเป็นเพียงเวลาสั้นๆ อาจจะช่วยกระตุ้นร่างกายของคุณได้

ตรวจสอบยาที่คุณรับประทาน

หากคุณพบว่ามีอาการหาวบ่อยครั้ง มันอาจจะเกิดจากยาที่คุณรับประทานก็ได้ เช่นยาในกลุ่ม SSRI, ยาต้านเศร้ากลุ่มอื่นๆ, ยาแก้แพ้, และยาแก้ปวดบางกลุ่มอาจทำให้คุณง่วงนอนและเกิดอาการหาวได้

ดื่มน้ำ

เวลาที่ร่างกายคุณขาดน้ำนั้น อาจจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำแก้วใหญ่ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
By the way, doctor: Why do I yawn when I exercise?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/by_the_way_doctor_why_do_i_yawn_when_i_exercise)
Excessive yawning: Causes and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324401)
Melissa Conrad Stöppler, MD, Excessive Yawning (https://www.medicinenet.com/yawning/symptoms.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)