แนะนำวิธีการจัดการกับความขี้เกียจ

ในบางครั้งความขี้เกียจที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อการทำงานและการเรียนได้ ลองจัดการกับความขี้เกียจด้วยวิธีเหล่านี้ดู
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
แนะนำวิธีการจัดการกับความขี้เกียจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการขี้เกียจเรียน ทำการบ้าน หรือทำงาน เป็นเรื่องปกติที่พบได้ในคนทั่วไป แต่หากอาการขี้เกียจเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเรื้อรัง จนส่งผลกระทบต่อการเรียน การงาน นั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของภาวะจิตใจหรือสุขภาพร่างกาย
  • แนะนำวิธีจัดการความขี้เกียจเบื้องต้น โดยให้กำหนดเป้าหมายในการทำงาน วางแผนในการทำงานให้ชัดเจน และปรับความคิดว่าตัวเองสามารถทำสิ่งนั้นได้ จะช่วยให้จัดการกับงานได้ดีขึ้น
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกายได้ เช่น รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและไขมันสูง ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในบางครั้งอาการขี้เกียจเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติในร่างกายได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวลทั่วไป ภาวะเครียด โรคโลหิตจาง ภาวะขาดวิตามิน หรือภาวะต่อมหมวกไตล้า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยมีวันที่รู้สึกขี้เกียจไปเรียน ทำการบ้าน หรือทำงาน ซึ่งปกติแล้วอาจแก้ไขได้ด้วยการแบ่งเวลาพักผ่อน ผ่อนคลายสักพักหนึ่ง แล้วค่อยกลับไปทำสิ่งที่ต้องทำอีกครั้ง แต่หากอาการขี้เกียจเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเรื้อรัง จนส่งผลกระทบต่อการเรียน การงาน นั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของภาวะจิตใจหรือสุขภาพร่างกายได้

จัดการกับความขี้เกียจอย่างไรดี?

หากเริ่มรู้สึกว่าอาการขี้เกียจส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงาน วิธีการจัดการความขี้เกียจเหล่านี้อาจช่วยได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. กำหนดเป้าหมายเล็กและใหญ่

ในบางครั้ง การตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไปหรือต้องใช้ระยะเวลานานเกินไป อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยได้

ความเหนื่อยจากการทำงานหรือการเรียนที่สะสมจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย เบื่อหน่าย หมดความสนใจ หรือแรงจูงใจในการทำงาน จนเข้าสู่ภาวะขี้เกียจได้ แนะนำให้เปลี่ยนเป็นการกำหนดเป้าหมายเล็กและใหญ่จะดีกว่า

  • เป้าหมายเล็ก เป็นสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน สามารถทำสำเร็จได้ไม่ยาก เช่น อ่านหนังสือเรียนวันละ 5 หน้า
  • เป้าหมายใหญ่ เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะสำเร็จในอนาคต ต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งในการลงมือทำถึงจะประสบความสำเร็จ โดยอาจต่อยอดมาจากเป้าหมายเล็ก เช่น อ่านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 3 เล่ม

การที่คุณสามารถทำเป้าหมายเล็กให้สำเร็จในแต่ละวันได้นั้น จะช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจและไม่ทำให้รู้สึกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ยากหรือเป็นภาระหนักจนเกินไปนั่นเอง

2. ยอมรับในผลงานของตัวเอง

ไม่มีใครเป็นคนที่เก่งหรือสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ทุกคนล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป

การคาดหวังว่าผลงานทุกชิ้นจะต้องออกมาสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียได้ เมื่อผลงานไม่เป็นไปอย่างที่หวังก็อาจทำให้คุณรู้สึกผิดหวัง เครียด และไม่มั่นใจในตัวเอง จนไม่อยากจะทำสิ่งนั้นอีก นำไปสู่ความขี้เกียจ

นอกจากนี้ การผิดหวังเป็นประจำหรือมีความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานานก็อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แนะนำให้ปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง ยอมรับผลลัพธ์ของงานที่ทำออกมาอย่างตั้งใจ และเมื่อเกิดความผิดพลาดก็นำข้อผิดพลาดเหล่านั้นไปแก้ไขในงานชิ้นต่อไป จะช่วยให้รู้สึกอยากเรียนหรือทำงานเพื่อพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น

3. เชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำสิ่งนั้นได้

การคิดในแง่ลบว่าไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ตั้งแต่เริ่มต้น ส่งผลเสียต่อการทำงานและการเรียนมากกว่าที่คิด เพราะจะทำให้คุณหมดกำลังใจที่จะทำสิ่งนั้น ไม่อยากทำ และกลายเป็นความขี้เกียจ

ลองปรับเปลี่ยนความคิดตัวเอง เชื่อมั่นว่าเราสามารถทำสิ่งนั้นได้ โดยการพูดให้กำลังใจกับตัวเองในทุกๆ วัน จะทำให้ความรู้สึกต่องานหรือการเรียนดีขึ้น

4. วางแผนในการทำงาน

การวางแผนงานจะช่วยให้จัดสรรงานหรือการเรียนได้ง่ายขึ้น เพราะคุณจะมองเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และสามารถเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย

ตัวอย่างรูปแบบในการวางแผนการทำงานที่นิยมมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

  • แพลนเนอร์ (Planner) มีการจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ โดยสามารถบันทึกแผนงานเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ไปจนถึงรายปีได้
  • บุลเล็ตเจอร์นัล (Bullet journal) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า บูโจ (BUJO) มีจุดเด่นคือ การกำหนดเรื่องสำคัญ หรือสิ่งที่ต้องทำเป็นบุลเล็ต

5. ประยุกต์ใช้จุดแข็งของตัวเองในการเรียนหรือการทำงาน

การนำจุดแข็งของตัวเองมาประยุกต์ใช้กับการเรียนหรือการทำงานจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้น เช่น หากคุณถนัดในด้านการนำเสนอแผนงาน ก็ให้รับผิดชอบด้านนั้นเป็นหลัก และพัฒนาจุดด้อยของตัวเองควบคู่ไปด้วยโดยการเรียนรู้จากผู้อื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกดดันหรือคิดมากเรื่องจุดด้อยของตัวเองมากเกินไป เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะรอบรู้ไปเสียทุกด้าน

6. ให้ความสำคัญกับความสำเร็จ

หลายครั้งที่เรามักจะให้ความสำคัญกับความล้มเหลวมากจนมองข้ามความสำเร็จในชีวิตไป และเผลอลดคุณค่าของตัวเองโดยไม่รู้ตัว

แนะนำให้ลองจดบันทึกสิ่งที่ทำสำเร็จในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บ้านหรือที่ทำงาน วิธีนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้น เสริมสร้างความมั่นใจ และการคิดบวก (Positive thinking) มากยิ่งขึ้น

7. รู้จักขอความช่วยเหลือ

หลายคนเชื่อว่าการขอความช่วยเหลือแสดงถึงความล้มเหลวในการทำงาน การเรียน หรือเป็นการแสดงความโง่เขลา นั่นไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ความจริงคุณสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณจะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ควรทำสิ่งนั้นให้เต็มที่ก่อน

ตัวอย่างเช่น ได้รับมอบหมายให้ทำรายงานหัวข้อหนึ่งก็ควรหาข้อมูลด้วยตัวเองก่อน ถ้าสุดท้ายไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้จริงๆ ก็ให้นำข้อมูลที่คุณหาได้ในเบื้องต้นไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การที่คุณไม่ทำอะไรเลย คอยแต่จะขอความช่วยเหลือผู้อื่น อาจทำให้ถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจได้

นอกจากนี้ ข้อดีของการขอความช่วยเหลือผู้อื่นจะช่วยให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมาก รู้จักการเข้าสังคม การวางตัว และได้ความรู้ใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ อีกด้วย

8. หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจจากการทำงานหรือการเรียน

ในระหว่างที่ทำงานหรือเรียนหนังสือ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คุณถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ โดยสิ่งเหล่านั้นมักเป็นสิ่งที่เราชื่นชอบ เช่น การเล่นโซเชียลมีเดีย (Social Media) การเล่นกับเพื่อน

การหลีกหนีจากสิ่งเร้าไปยังสถานที่ที่เงียบสงบเหมาะแก่การทำงาน เช่น ห้องสมุด หรือโต๊ะทำงาน จะช่วยเพิ่มบรรยากาศในการทำงาน ทำให้คุณมีสมาธิจดจ่อยิ่งขึ้น

9. อย่าลืมให้รางวัลกับตัวเอง

การให้รางวัลตัวเองเมื่อทำเป้าหมายสำเร็จจะทำให้รู้สึกมีกำลังใจที่จะทำเป้าหมายต่อไปมากขึ้น เช่น ซื้อสิ่งของที่อยากได้ หาของอร่อยๆ มารับประทาน หรือไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ

การที่คุณกดดันตัวเองมากเกินไป ไม่แบ่งเวลาผ่อนคลายร่างกายและสมอง จะทำให้เกิดความเครียดสะสมจนรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำงาน จนเข้าสู่ภาวะขี้เกียจในที่สุด

ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อพิชิตความขี้เกียจ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตหันกลับมาดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายของตัวเอง เป็นอีกหนึ่งวิธีการจัดการความขี้เกียจที่เห็นผล เพราะเมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี ย่อมส่งผลให้กระบวนการคิดและเรียนรู้ดีขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังมีแรงในการทำงานและเรียนหนังสืออย่างเต็มเปี่ยม

1. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

โปรตีนเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่าง และรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้คุณกระปรี้กระเปร่ามากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น

  • กรีกโยเกิร์ต (Greek yogurt)
  • ถั่วอัลมอนด์ (Almond)
  • ไข่ไก่
  • ปลาทูน่า

2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง

การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงจะทำให้รู้สึกง่วงนอนได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนได้

ตัวอย่างอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น

  • น้ำหวาน ชา กาแฟ
  • ผลิตภัณฑ์จากแป้งขัดขาวต่างๆ เช่น ขนมปังขาว ข้าวหอมมะลิ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ของทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast food)

3. ออกกำลังกายเป็นประจำ

คุณควรออกกำลังอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) และกลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข ไม่ว่าจะเป็น เอนดอร์ฟิน (Endorphin) โดพามีน (Dopamine) หรือเซโรโทนิน (Serotonin)

การออกกำลังกายจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร ได้นั่นเอง

4. พักผ่อนให้เพียงพอ

คุณควรพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และพร้อมที่จะทำงานหรือเรียนหนังสืออย่างเต็มที่

ไม่ควรอดนอนเป็นประจำ เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดความเครียดสะสม จนส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจ รวมไปถึงประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานด้วย

5. รู้จักจัดการความเครียด

การเก็บความเครียดไว้กับตัวเองมากเกินไปอาจทำให้เป็นภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือขี้เกียจ ไม่อยากทำสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้นคุณควรหาวิธีจัดการกับความเครียด หรือระบายความเครียดออกมา

เมื่อคุณรู้สึกเครียดหรือเหนื่อยล้า ควรหาเวลาผ่อนคลายบ้าง โดยอาจเลือกทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นกับสัตว์เลี้ยง หาเวลาอยู่กับตัวเอง หรือระบายความเครียดกับคนสนิทก็ได้

ข้อควรระวังในการระบายความเครียดกับผู้อื่นจะต้องดูว่า คนคนนั้นสามารถรับฟังเรื่องของเราได้หรือเปล่า หากเป็นคนที่อยู่ในช่วงเครียดเหมือนกันก็ไม่ควรที่จะไปเพิ่มความเครียดหรือสร้างความกังวลให้กับเขา

6. พกน้ำติดตัวเสมอ

ประโยชน์ของการดื่มน้ำมีมากมายหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นคือช่วยจัดการกับความขี้เกียจหรือเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี

การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้ระบบการทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่า

อาการขี้เกียจอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติได้

ในบางครั้งอาการขี้เกียจอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติในร่างกายได้ หากคุณลองจัดการกับความขี้เกียจด้วยวิธีที่กล่าวไปในเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น หรือความขี้เกียจรุนแรงขึ้นจนหมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว ไม่มีแรงที่จะทำอะไรเลย แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดู เพราะอาจเป็นสัญญาณผิดปกติของภาวะสุขภาพจิตหรือสุขภาพกายได้

ตัวอย่างภาวะสุขภาพจิตที่อาจส่งผลให้เกิดความขี้เกียจ หรือขาดแรงจูงใจในการทำงาน เช่น

  • ภาวะซึมเศร้า
  • ภาวะวิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD)
  • ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder: SAD)
  • โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว หรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
  • ความผิดปกติที่เกิดหลังจากเจอเรื่องสะเทือนใจ (Post-traumatic Stress Disorder: PTSD)
  • ภาวะเครียด

ตัวอย่างภาวะสุขภาพกายที่อาจส่งผลให้เกิดความขี้เกียจ หรือขาดแรงจูงใจในการทำงาน เช่น

  • โรคโลหิตจาง
  • ภาวะขาดวิตามิน
  • ภาวะต่อมหมวกไตล้า
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • โรคหัวใจ
  • โรคมะเร็ง

ความขี้เกียจไม่ใช่เรื่องผิด เราทุกคนล้วนมีวันที่รู้สึกอยากผ่อนคลาย ไม่อยากทำอะไร หรืออยากอยู่เงียบๆ คนเดียว ซึ่งเราควรจัดสรรเวลาในการเรียน การทำงาน และการพักผ่อนให้สมดุล เพื่อให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี

แต่อย่างไรก็ตาม หากการปรับเปลี่ยนความคิดหรือพยายามเรียนรู้อย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่ช่วยให้สนุกกับการเรียนหรืองานที่ทำได้ นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับเรา ลองเปลี่ยนไปทำในสิ่งที่ชอบหรือให้โอกาสตัวเองในการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ก็อาจช่วยให้คุณค้นพบตัวตนได้ง่ายขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กรมสุขภาพจิต, โรคเตียงดูด ไม่ได้ขี้เกียจ! สัญญาณเตือนป่วยทางจิต? (https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28057), 12 กรกฎาคม 2561.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), ระวังโรคขี้เกียจคุกคามคนทำงาน (https://www.hsri.or.th/people/media/waiting-categorize/detail/4781).
Adrienne Santos-Longhurst, 17 Healthy and Practical Ways to Break Out of Laziness (https://www.healthline.com/health/how-to-stop-being-lazy#mental-tips-and-ideas), 2 April 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม