6 วิธีเชียร์บอลโลกอย่างไร ให้สุขภาพไม่เจ๊ง พร้อมวิธีออกกำลังกายระหว่างพัก

อย่ายอมให้การอยู่หน้าทีวียาวๆ ทำร้ายสุขภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
6 วิธีเชียร์บอลโลกอย่างไร ให้สุขภาพไม่เจ๊ง พร้อมวิธีออกกำลังกายระหว่างพัก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การอยู่นิ่งๆ ในอิริยาบถเดิมๆ เป็นเวลานานๆ อย่างการดูฟุตบอลที่ใช้เวลาถึงคู่ละประมาณ 100 -120 นาทีอาจทำลายสุขภาพโดยที่คุณไม่รู้ตัว
  • ระหว่างอยู่หน้าจอพยายามรับประทานขนมและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เลี่ยงการขบเคี้ยวอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเปลี่ยนจากถั่วเค็ม ๆ เป็นถั่วหลายประเภทที่ไม่ใส่เกลือและเปลี่ยนจากอาหารทอดเป็นผลไม้สดแทน
  • ตั้งเวลาเคอร์ฟิวสำหรับตัวเอง หากในเกมนั้นต้องมีการต่อเวลาแข่งขัน เวลายิงลูกโทษ และช่วงวิเคราะห์หลังการแข่งขัน เอาไว้ดูย้อนหลังแทน เพราะช่วงเวลาที่เพิ่มมานี้อาจกินเวลาพักผ่อนของคุณไปได้มาก ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • ใช้เวลาช่วงพักโฆษณาของรายการโทรทัศน์โปรดของคุณให้เป็นประโยชน์ ด้วยการขยับร่างกาย หรืออกกำลังกายด้วยการกระโดดตบ วิ่งอยุ่กับที่ Moutain climbers การยกขาคู่
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจกายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษา

นอกจากการติดซีรีย์เกาหลี หรือซีรีย์ฝรั่ง ที่ทำให้หลายคนต้องตั้งหน้าตั้งตาอยู่กับหน้าจอแบบมาราธอนแล้ว หนึ่งในกิจกรรมระดับตำนานที่ทำให้หนุ่มน้อย หนุ่มใหญ่ แม้กระทั่งสาวๆ อยู่ติดหน้าจอเช่นกันก็คือ ฟุตบอลโลก หรือ World Cup รอบสุดท้าย

ฟุตบอลโลก หรือ World Cup ทำให้เราใช้เวลาอยู่หน้าจอนานแค่ไหนกันนะ

ตารางการแข่งขันฟุตบอลโลก หรือ World Cup รอบสุดท้าย จะมีทั้งหมด 64 เกม รวมเวลาเตะทั้งหมดอย่างน้อย 96 ชั่วโมง หรือ 5,760 นาที การดูฟุตบอลแต่ละครั้งจะใช้เวลาคู่ละประมาณ 100 -120 นาที หรือบางครั้งก็อาจจะนานกว่านั้น หากมีไฮไลท์ที่น่าสนใจในเกมต่างๆ มาฉายด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตลอดเวลาการแข่งขันที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน การลุ้นทีม หรือลุ้นนักเตะในดวงใจ ทำให้ผู้ชมหน้าจอทีวีจำนวนมากแทบไม่ค่อยได้ขยับตัวมากนัก เว้นแต่เมื่อทีมที่กำลังเอาใจช่วยได้ประตูขึ้นมา ก็อาจจะลุกขึ้นเฮดังๆ กันสักครั้ง

เชื่อไหมว่า การอยู่นิ่งๆ ในอิริยาบถเดิมๆ เป็นเวลานานๆ อย่างการดูฟุตบอลที่ใช้เวลาคู่ละประมาณ 100 -120 นาที อาจทำลายสุขภาพของคุณได้

บทความนี้จึงจัดทำคำแนะนำให้เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพไปพร้อมกับการลุ้นฟุตบอลคู่โปรด หรือจะนำไปใช้กับการดูซีรีย์เกาหลี ซีรีย์ฝรั่ง ก็ได้ไม่ว่ากัน

6 วิธีเชียร์บอลโลกอย่างไรให้สุขภาพไม่เจ๊ง

  1. ขณะที่กำลังเอาใจช่วยทีมฟุตบอลสุดโปรดของคุณ ต้องระมัดระวังความดันโลหิตของคุณด้วยโดยการทำใจให้นิ่งเข้าไว้ เพราะความตื่นเต้น ความหงุดหงิด และสะใจจะมาเป็นระลอก ๆ 
  2. พยายามรักษาความสะอาดขณะอยู่ในสถานที่ดูบอลที่มีคนคับคั่ง ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ และปิดปากและจมูกของคุณหากต้องจามหรือไอ 
  3. พยายามรับประทานขนมและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เลี่ยงการขบเคี้ยวอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพระหว่างดูการแข่งขัน โดยเปลี่ยนจากถั่วเค็ม ๆ เป็นถั่วหลายประเภทที่ไม่ใส่เกลือและเปลี่ยนจากอาหารทอดเป็นผลไม้สด แทน
  4. ระมัดระวังปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเบียร์สองกระป๋องทุกๆ เกมตลอด 1 สัปดาห์ แม้ว่ารวมแล้วจะมีเกมการแข่งขันเพียง 4-5 เกมก็ทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ร่างกายได้รับเกินขีดจำกัดแล้ว คุณควรลองเปลี่ยนมาดื่มสิ่งเหล่านี้ดูบ้าง
    1. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำ หรือไม่มีแอลกอฮอล์แทน
    2. เติมโซดาลงในเครื่องดื่มเพื่อให้เกิดความซู่ซ่า
    3. ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ดื่มแอลกอฮอล์กลางดึก และไม่ดื่มที่บ้าน
  5. ตั้งเวลาเคอร์ฟิวสำหรับตัวเองหากมีการต่อเวลาแข่งขัน เวลายิงลูกโทษ และช่วงวิเคราะห์หลังการแข่งขันอาจกินเวลาพักผ่อนของคุณไปได้มาก การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเข้านอนดึกเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก คุณควรลองทำสิ่งเหล่านี้ดูบ้าง
    1. กำหนดเวลานอนของตัวเอง
    2. ดูเฉพาะช่วงครึ่งแรก และเก็บช่วงครึ่งหลังไปดูในวันพรุ่งนี้แทน
    3. บันทึกการแข่งขันไว้ดูในโอกาสอื่นแทน หรือหาดูเทปการแข่งขันย้อนหลัง
  6. ขยับตัวบ้าง เพราะการนั่งเฉย ๆ เป็นเวลานานก็นำมาซึ่งปัญหาทางสุขภาพมากมาย ควรบังคับตัวเองให้ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวร่างกายให้มากที่สุด โดยเฉพาะหากต้องนั่งนิ่ง ๆ ระหว่างทำงานมาทั้งวันแล้ว โดยคุณควรจะใช้ช่วงพักครึ่งออกไปเดินข้างนอก หรือลองวิธีออกกำลังกายสัก 10-15 นาที

การออกกำลังกายช่วงพักโฆษณา

หากไม่ได้ออกกำลังกายมาสักพักหนึ่งแล้ว หรือไม่สามารถหาเวลาออกกำลังกายได้ คุณสามารถหยุดกิจกรรมบางอย่างไปออกกำลังกายสั้น ๆ ดังนี้ได้ ซึ่งวิธีการต่อไปนี้ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น

มาใช้เวลาช่วงพักโฆษณาของรายการโทรทัศน์โปรดของคุณให้เป็นประโยชน์ ด้วยการขยับร่างกายกันเถอะ เชื่อไหมว่า หากรายการนั้น ๆ มีช่วงพักโฆษณา 4 ครั้งภายใน 1 ชั่วโมง คุณจะมีเวลาออกกำลังกายมากถึง 12 นาทีเลยทีเดียว

กระโดดตบ

  1. เริ่มจากการยืนเท้าชิดกันและแขนแนบลำตัว
  2. กระโดดโดยที่แยกเท้าออกจากกันและยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ
  3. กระโดดอีกทีและกลับไปอยู่ในท่ายืนตัวตรงและทำแบบเดิมซ้ำเรื่อย ๆ

วิ่งอยู่กับที่

  1. เริ่มจากการยืนด้วยเท้า และแยกแขนทั้งสองข้างออกจากสะโพก
  2. วิ่งเหยาะอยู่กับที่ โดยพยายามยกเข่าให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ควรยกให้สูงที่ระดับเดียวกับสะโพกเป็นอย่างน้อย)

Mountain Climbers

  1. เริ่มจากท่าวิดพื้น โดยที่เหยียดร่างกายให้เป็นเส้นตรง
  2. ยกเข่าข้างหนึ่งขึ้นหน้าอกและกลับไปที่เหยียดตรงอีกครั้ง
  3. เปลี่ยนเป็นขาอีกข้างและทำเช่นเดิมซ้ำ ๆ 

ยกขาคู่

  1. นอนหงายโดยที่มือทั้งสองข้างอยู่ข้างลำตัว
  2. เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและยกขาทั้งสองข้างขึ้นจากพื้นจนทำมุม90องศา
  3. ค่อยๆ ลดขาทั้งสองลงโดยที่คงศีรษะ แผ่นหลัง และบั้นท้ายไว้บนพื้น

อย่าลืมคิดจะอยู่หน้าจอให้สนุก ลุ้นซีรีย์ในจบซีซั่น หรือจะเชียร์ฟุตบอลไม่ให้สุขภาพเจ๊ง ร่างพัง ต้องหมั่นขยับร่างกายบ่อยๆ ออกกำลังกายระหว่างโฆษณา และรับประทานของว่าง เครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจกายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม