การถอดยาคุมแบบฝังเข็มทำอย่างไร ทำได้ที่ไหน ราคา และถอดก่อนกำหนดได้หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การถอดยาคุมแบบฝังเข็มทำอย่างไร ทำได้ที่ไหน ราคา และถอดก่อนกำหนดได้หรือไม่

การใช้ยาคุมแบบฝังเข็มเป็นวิธีของการคุมกำเนิดชั่วคราวชนิดหนึ่ง ซึ่งนับว่าได้ผลของการป้องกันการตั้งครรภ์มากกว่าการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ กล่าวได้ว่ามีโอกาสเกิดความล้มเหลวในการตั้งครรภ์รองลงมาจากการไม่มีเพศสัมพันธ์กันเลยทีเดียว อีกทั้งหากต้องการกลับมามีบุตรก็สามารถถอดยาคุมแบบฝังเข็มได้ ด้วยวิธีที่ไม่ยุ่งยากและยังมีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย

การใช้ยาคุมแบบฝังเข็ม

การฝังเข็มเพื่อคุมกำเนิดเป็นการใช้หลอดยาที่บรรจุใส่ฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) ฝังเอาไว้ใต้ผิวหนังที่บริเวณท้องแขนท่อนบน เมื่อฝังแล้วจะปล่อยฮอร์โมนที่บรรจุเข้าสู่ร่างกายผ่านทางกระแสเลือดของผู้ที่รับการฝังเข็ม โดยฮอร์โมนโปรเจสตินจะทำให้ไข่ไม่เติบโต และยับยั้งไม่ให้เกิดการตกไข่เพื่อมาผสมกับอสุจิ อีกทั้งยังทำให้เกิดเมือกที่อยู่บริเวณปากมดลูกมีลักษณะเหนียวข้น ทำให้อสุจิยากที่จะเดินทางเข้ามาผสมกับไข่ได้ และยังทำให้ผนังมดลูกมีสภาพที่บาง ไม่เหมาะแก่การรองรับไข่ที่จะเกิดการปฏิสนธิ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ยาคุมแบบฝังเข็มสามารถใช้คุมกำเนิดได้ภายใน 5 วันแรกหลังมีประจำเดือน หรือภายหลังการแท้งบุตรไม่เกิน 7 วัน หรือหลังการคลอดบุตรประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ และจะต้องเอาออกเมื่อมีอายุการใช้งานครบ 3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของยาคุมแบบฝังเข็ม

นอกจากนี้หากมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ อย่างเช่นหลังทำการฝังเข็มแล้วมีอาการความดันสูง มีอาการของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง ดีซ่าน หรือแม้กระทั่งเกิดภาวะซึมเศร้า ก็สามารถกลับไปหาแพทย์เพื่อทำการเอาออกก่อนกำหนดได้ทันที โดยไม่ต้องรอครบตามกำหนด ซึ่งในปัจจุบันการใช้ยาคุมแบบฝังเข็มได้รับการพัฒนาให้มีการฝังเพียงแค่หลอดเดียว จึงทำให้การถอดออกก็ย่อมทำได้ง่ายเช่นกัน

การถอดยาคุมแบบฝังเข็ม

การถอดยาคุมแบบฝังเข็มสามารถทำได้ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วไป เช่น โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือสถานพยาบาลคลินิกที่ให้บริการ เพราะมีความสะดวก ปลอดภัย ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน สามารถทำได้ในห้องผู้ป่วยนอก อีกทั้งยังไม่รู้สึกเจ็บ เนื่องจากแพทย์จะฉีดยาชาให้ก่อน และไม่ต้องนอนโรงพยาบาลอีกด้วย

วิธีการถอดยาคุมแบบฝังเข็ม

แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่เพียงเล็กน้อยบริเวณใต้ท้องแขน จากนั้นจะกรีดแผลขนาดเล็กที่ผิวหนังแล้วจึงใช้อุปกรณ์ดึงตัวแท่งบรรจุฮอร์โมนออกมา เพื่อสอดเข้าไปที่ใต้ท้องแขนนั้น จากนั้นทำแผลแล้วรัดแผลด้วยผ้ายืดพันแผลเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จึงจะเอาผ้ายืดพันแผลออกได้

ถ้าหากเราต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ต่อ ก็สามารถเปลี่ยนและฝังแท่งบรรจุฮอร์โมนอันใหม่เข้าไปได้ทันทีเมื่อครบกำหนด โดยแผลที่เกิดจากการถอดอาจมีขนาดใหญ่กว่าตอนใส่เล็กน้อย และอาจต้องมีการเย็บด้วยไหม 1 เข็ม ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียง 10 – 20 นาทีเท่านั้น

การตั้งครรภ์สามารถกลับมาได้เมื่อใดหลังจากถอดยาคุมแบบฝังเข็ม

หลังจากที่ถอดเอายาคุมแบบฝังเข็มออกแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนได้ภายใน 1 – 12 เดือน และพบว่าภายใน 1 – 3 เดือน ผู้ที่เอาออกก็จะมีไข่ตก ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ก็จะกลับมาตั้งครรภ์ได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์ของผู้ที่ถอดออกด้วย

ราคาค่าถอดยาคุมแบบฝังเข็ม

ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลและเป็นแบบคุมกำเนิด 3 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 200 – 300 บาทต่อหลอด หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนก็จะอยู่ที่ประมาณ 800 – 2,000 บาท โดยการถอดยาคุมแบบฝังเข็มสามารถใช้สิทธิตามบัตรที่มีอยู่ อย่างเช่นบัตรประกันสังคมหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นถ้าเราต้องการประหยัดหรืออาจจะมีปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่าย ก็ควรจะไปตามสถานพยาบาลที่รับรองสิทธิตามบัตรก่อน

ข้อดีของผู้ที่ถอดยาคุมแบบฝังเข็มก็คือสามารถกลับมามีบุตรได้เร็วกว่าการฉีดยาคุม เนื่องจากฮอร์โมนมีการกระจายออกในร่างกายในปริมาณที่น้อย อีกทั้งไม่มีการสะสมในร่างกายและไม่ทำให้อ้วน นอกจากนี้การฝังและการถอดจะไม่ส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันใดๆ รวมทั้งสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติอีกด้วย


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acupuncture: An Alternative Therapy in Dentistry and Its Possible Applications. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4270142/)
Relieving pain with acupuncture. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/relieving-pain-with-acupuncture)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)