กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มีอะไรในฉลากยา

ข้อมูลที่อยู่ในฉลากยามีอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มีอะไรในฉลากยา

การกินยาตามแพทย์สั่งหรือตามที่ระบุไว้บนฉลากยาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากกินผิดจากที่ชื่อการค้านั้นกำหนด ก็อาจเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้ แต่หลายคนมักสับสนเมื่อเห็นฉลากยา ว่าส่วนต่างๆ ของฉลากมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่

การดูฉลากยา

ในฉลากยาจะประกอบไปด้วยข้อมูลหลายอย่างที่ล้วนมีความสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง เกิดประสิทธิภาพในการรักษา และมีความปลอดภัย ดังนั้น เมื่อท่านรับยาแล้ว ลองหยิบซองยามาอ่านนะคะ ข้อมูลเหล่านี้คือสิ่งที่ท่านควรต้องตรวจสอบก่อนใช้ยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

label-big

 

1. ชื่อ-สกุลผู้ป่วย

ชายหนุ่มบึกบึนล่ำสัน หากได้ซองยาที่ระบุชื่อผู้ป่วยเป็น ‘น.ส.สวยสุด’  หากตรวจสอบชื่อและนามสกุลแล้วไม่ถูกต้อง ให้แจ้งเภสัชกรโดยเร็วนะคะเพื่อที่จะได้มีการตรวจสอบและจ่ายซองยาที่ถูกต้องให้ท่านกลับไปใช้ได้อย่างปลอดภัยค่ะ 

ฉลากยาของหลาย ๆ โรงพยาบาล มักระบุเลขประจำตัวผู้ป่วย หรือ Hospital Number (HN) ไว้ในฉลากยาด้วยค่ะ ตัวเลขนั้นจะมากหรือน้อยก็ตามลำดับของการไปขึ้นทะเบียนรับบริการของท่าน ชุดตัวเลขดังกล่าวมีไว้เพื่อยืนยันตัวผู้ป่วยค่ะ เพราะบางครั้งก็พบได้ว่ามีผู้ป่วยที่มีชื่อและสกุลตรงกัน ทางเจ้าหน้าที่ก็จะเลือกใบสั่งยาให้ถูกต้องโดยพิจารณาจากเลขที่ประจำตัวผู้ป่วยนี่ล่ะค่ะ 

นอกจากเลขประจำตัวผู้ป่วยแล้ว ก็จะมีชุดตัวเลขในฉลากยาอีก ก็คือวันเดือนปีที่รับยาค่ะ บางท่านที่รับยาไปหลายรอบ มียาอยู่ที่บ้านมากมายหลายซองปะปนกัน อยากทราบว่าซองไหนรับมาก่อนซองไหนรับมาล่าสุด ก็ไล่เรียงจากวันที่บนซองยาได้ค่ะ 

บางโรงพยาบาลจะมีตัวเลขระบุลำดับรายการยาและจำนวนรวมรายการยาทั้งหมดที่ได้รับไว้ด้วยค่ะ เช่น 1/3 หมายถึง ยาซองนี้เป็นยารายการแรกในจำนวนทั้งหมดที่รับ 3 รายการ ท่านสามารถใช้ตรวจสอบได้ว่าได้รับยาครบถ้วนทุกรายการหรือไม่โดยดูจากตัวเลขดังกล่าวนี่เองค่ะ 

2. ชื่อยา

ต่อมาคือ ชื่อยา, ขนาดหรือความแรงของยา, รูปแบบยา และจำนวนยาที่จ่ายค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เช่น ยาชื่อ Paracetamol หรือพาราเซตามอล รูปแบบยาเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด จำนวนที่จ่ายทั้งหมดรวม 20 เม็ดค่ะ

การอ่านชื่อยามีประโยชน์มากค่ะ โดยเฉพาะหากท่านมีข้อห้ามใช้หรือเคยแพ้ยาตัวใดมาก่อน เพราะการจำไว้เพียงสีหรือรูปลักษณะของเม็ดยา อาจไม่ช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แพ้ได้ เนื่องจากมีบริษัทผู้ผลิตยาหลายแห่ง ซึ่งผลิตยาออกมาหลายแบบหลายสี ยาตัวเดียวกัน 10 บริษัทก็อาจผลิตมา 10 สี 10 แบบน่ะค่ะ เช่นเดียวกับ ‘ชื่อการค้า’ หรือก็คือชื่อยี่ห้อของยา ที่ตั้งชื่อออกมาหลากหลายตามบริษัทผู้ผลิต เช่น ไทลินอล ซารา เทมปร้า พาราแคป ซีมอล ฯลฯ เหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นตัวยาเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากท่านสามารถจำ ‘ชื่อสามัญทางยา’ ซึ่งหมายถึงชื่อจริง ๆ ของตัวยาได้ ตามตัวอย่างก็คือ พาราเซตามอล ก็จะช่วยในป้องกันการใช้ยาที่ต้องหลีกเลี่ยงได้ในกรณีที่ท่านเคยแพ้ยาดังกล่าวค่ะ 

3. วิธีการใช้ยา 

ซึ่งท่านควรอ่านให้ละเอียดทุกครั้งที่ใช้ยา และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดนะคะ จะได้หายจากอาการเจ็บป่วย และปลอดภัยจากการใช้ยา อย่าให้เหมือนผู้ป่วยบางราย (นินทาคนไข้อีกแล้ว! ฮ่า…) บอกให้ทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมงที่มีอาการปวดหรือมีไข้ เธอกลัวไม่ได้ผล เพราะ ‘ชั้นป่วยมากนะยะ’ …และเนื่องจากคิดว่าตัวเองป่วยหนักกว่ามนุษย์มนาคนอื่น ๆ เค้าป่วยกัน จึงกรอกยาใส่ปากทีละ 3 เม็ดทุกชั่วโมง! …ฟังแล้วจี๊ดไปถึงเซี่ยงจี๊! ไม่ห่วงว่าเธอจะหายปวดหัวหรือเปล่า แต่ห่วงว่าตับเธอจะพังหรือเปล่าแทน

การใช้ยามีช่วงของขนาดที่เหมาะสมนะคะ ขนาดยาที่สูงกว่าช่วงการใช้ จะไม่ได้ประสิทธิภาพในการรักษาเพิ่มขึ้นค่ะ มีแต่ได้อันตรายหรือพิษจากยาที่มากขึ้น ในขณะที่การใช้ในขนาดที่น้อยกว่าช่วงการรักษา ก็จะไม่ได้ผลในการรักษา เพราะฉะนั้น ดีที่สุดคือใช้ตามขนาดที่แพทย์สั่งนั่นเองค่ะ 

4. สรรพคุณยา 

บ่งชี้ว่าใช้เพื่อรักษาอาการอะไร สำคัญไม่แพ้รายละเอียดอื่น ๆ เลยค่ะ จึงขอความกรุณาอ่านทุกครั้งก่อนใช้ยาด้วยนะคะ จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ 

คำเตือน / ข้อควรระวัง 

ยาบางอย่างอาจมีการระบุคำเตือนหรือข้อควรระวังไว้ด้วย เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

‘รับประทานยานี้หลังอาหารทันที’ เพื่อเตือนว่ายาอาจระคายเคืองทางเดือนอาหาร จึงควรรับประทานหลังอาหารทันที และหลีกเลี่ยงการรับประทานยาขณะท้องว่าง

‘ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม’ เพื่อเตือนว่าควรผู้ใช้ยาควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรหรือการขับรถ เพราะอาจง่วงนอนจนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

‘รับประทานยานี้ติดต่อกันทุกวันจนหมด’ มักพบกรณีที่ใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ยารับประทานยาจนหมด ไม่หยุดยาก่อนแม้ว่าอาการอาจหายดีแล้วก็ตาม เพื่อให้ครบขนาดรักษาและป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา  

รู้ความหมายของตัวเลขบนซองยา รวมถึงทราบถึงความสำคัญของข้อมูลบนฉลากยากันแล้ว ครั้ง
หน้าที่ไปรับยา หรือต้องหยิบยามาใช้ ก็อย่าลืมอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา และไม่เกิดอันตรายหรือพิษจากยานะคะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prescription Drug Labeling Medication Errors: A Big Deal for Pharmacists. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3035877/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป